การสร้างวินัยทางการเงินที่ดีนั้นอาจทำได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการปฎิบัติและใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ จึงไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย การสร้างวินัยทางการเงินที่ดีนั้นจะต้องครอบคลุมไปถึงเป้าหมายทางการเงินในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงยังมีความสุขกับการใช้ชีวิตและมีสถานะการเงินที่มั่นคงอีกด้วย
หลายๆคนประสบปัญหาการออมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งปกติคนที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีอยู่แล้วก็มักจะมีเงินออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้เนื่องจากการมีพฤติกรรมทางการเงินในเชิงบวกอยู่แล้ว เช่น การออมเพื่อการเกษียณ ซึ่งการออมเงินเพื่อยามฉุกเฉินนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายกว่า เช่น การสะสมเงินจากเงินได้ที่มีเป็นรายเดือน การออมเงินฉุกเฉินสำหรับคนที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีอยู่แล้วนั้นอาจไม่ใช่เพราะพวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัยทางการเงิน แต่ทำเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับความสุขทางการเงินในอนาคตจากความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
สุขภาพทางการเงินกับพฤติกรรมการออมสำหรับยามฉุกเฉิน
จากการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มีรายได้สูง โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ลงทุน สถานะทางการเงินปัจจุบันกับความพึงพอใจ และการออมเงินสำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งพบว่ามีเพียง 41% ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้นที่สามารถออมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้เพียงพอ
ทำไมกลุ่มคนที่มีรายได้สูงจึงไม่สามารถออมเงินสำหรับใช้ในยามฉุกเฉินได้สำเร็จ? ซึ่งพบว่าจริงๆแล้วคนที่ไม่มีความพึงพอใจในสถานะการเงินของตนเองนั้นมักจะไม่ประสบความสำเร็จในการออมเงินไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และรวมไปถึงคนที่มีสินทรัพย์ลงทุนน้อยด้วยเช่นกัน
Breakdown of Emergency Savings Adequacy by Objective and Subjective Measures of Financial Wellness
อย่างไรก็ดีพบว่าประมาณ 30% ของกลุ่มคนที่แม้จะมีทั้งความพึงพอใจในสถานะการเงินและมีสินทรัพย์ลงทุนที่มากแล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่สามารถออมเงินเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่สามารถละเลยได้โดยง่าย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีเงินออมฉุกเฉินเพียงพอไม่ถึงครึ่งหนึ่งและมีถึง 26% ที่ไม่มีเงินออมเลย ดังนั้นในบางคนแม้ว่าจะมีเงินออมและเงินลงทุนเพื่อใช้ในยามเกษียณแต่ก็อาจไม่มีเงินออมเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้เลย
คำแนะนำสำหรับที่ปรึกษาทางการเงินในการช่วยสร้างนิสัยทางการเงินที่ดีให้แก่ลูกค้า
1. ส่งเสริมให้ลูกค้ามีความมั่นใจในเรื่องการจัดการทางการเงินของตนเอง มีความมั่นใจว่าจะสามารถทำตามแผนทางการเงินที่ได้วางแผนไว้ โดยทำตามแผนที่วางไว้แบบค่อยเป็นค่อยไปทีละอย่าง พร้อมช่วยเพิ่มทักษะและนิสัยที่ดีทางการเงิน
2. ช่วยลูกค้ากำหนดแผนการดำเนินงาน หากไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนก็อาจไม่สามารถเริ่มต้นทำตามแผนที่วางไว้ได้ นักวางแผนทางการเงินจะต้องให้ความรู้ต่อลูกค้าว่าเงินออมเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินนั้นควรเป็นอย่างไร ช่วยคำนวณจำนวนเงินออมที่สามารถแบ่งออกมาออมได้ในแต่ละเดือนรวมไปถึงระยะเวลาที่ต้องใช้ในการออมเงินให้ได้ตามเป้าหมาย
3. สร้างแผนงานทีละขั้นตอนเพื่อการดำเนินงาน แม้ว่าลูกค้าจะมีความมั่นใจจากแผนงานที่วางไว้แต่ก็พบว่าเกิดความล้มเหลวที่จะปฎิบัติตามแนวทางที่วางไว้ได้ ที่ปรึกษาทางการเงินจึงสามารถช่วยสร้างแผนรับมือระหว่างความต้องการที่จะทำกับการลงมือทำจริง เช่น หากลูกค้าอยากออมเงินแบบอัตโนมัตินั้นจะต้องมีขั้นตอนอะไรบ้างจึงจะสำเร็จ? จะเก็บเงินสำรองไว้ที่ไหนและต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะไปถึงเป้าหมาย? การช่วยให้ลูกค้าทำตามแผนทีละขั้นตอนก็จะสามารถช่วยให้พวกเขาสามารถติดตามผลสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ด้วย