เทคโนโลยี Generative AI ก็มีข้อจำกัดในการทำงานเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของการให้คำที่ปรึกษาทางการเงิน หากใช้ AI อย่างเหมาะสมก็จะเป็นการช่วงแบ่งเบางานธุรการต่างๆออกไปได้ แต่ก็พบว่ามีการใช้เทคโนโลยี AI ในบางอย่างที่ที่ปรึกษาทางการเงินควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
ข้อผิดพลาดแรก คือการใช้ AI ในทางที่ผิด
เราแบ่งกลุ่มการวิเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ AI และไม่ใช้ AI ในการให้คำแนะนำการลงทุน ซึ่งเราได้ลองวัดความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนผ่านการให้คะแนน ถ้าคะแนนยิ่งน้อยหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่ายนั้นไม่ค่อยดี ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ใช้ AI ในการเขียนข้อมูลให้ลูกค้า การใช้งานที่ต้องมีการเชื่อมต่อส่วนบุคคลหรือการเข้าถึงข้อมูลบุคคล ปรากฎว่าคะแนนที่ได้ในกลุ่มนี้ค่อนข้างน้อยหรือส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์มากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ AI ดังนั้น เทคโนโลยี AI จึงไม่สามารถใช้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและผู้ให้คำแนะนำการลงทุนได้
Investors' Reactions to Gen AI Use Cases
ข้อผิดพลาดที่ 2 คือ การไม่ใช้มาตรการป้องกันจากการใช้ AI
สิ่งที่นักลงทุนต้องการมาตรการป้องกันในการใช้เทคโนโลยี AI ได้แก่
1. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและการคุ้มครองความปลอดภัยข้อมูล
2. การเปิดเผยเกี่ยวกับการใช้ Generative AI
3. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจาก AI โดยมนุษย์
4. การใช้ตัวแทนและเลือกที่จะไม่ใช้ Generative AI ได้
5. นักลงทุนต้องการคําแนะนําที่เป็นกลาง
ข้อผิดพลาดที่ 3 คือการไม่สื่อสารกับลูกค้าถึงประโยชน์ที่ได้จากการใช้ AI
นักลงทุนอาจคิดว่าการที่ที่ปรึกษาการลงทุนใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาเป็นการช่วยให้ทำงานน้อยลงแต่ยังได้ผลตอบแทนเหมือนเดิม ซึ่งความเป็นจริงแล้วการใช้ AI เข้ามาช่วยนั้นทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น โดยให้ AI ช่วยทำงานธุรการทั่วไปหรืองานหลังบ้าน และที่ปรึกษาจะได้มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมที่ AI ไม่สามารถแทนที่ได้ เช่น งานที่ต้องการการมีส่วนร่วมของมนุษย์ การสร้างความสัมพันธ์ และการฝึกสอนพฤติกรรม
โดยสรุปแล้วปฏิเสธไม่ได้ว่า Generative AI เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง และด้วยความต้องการที่ปรึกษาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการสร้างความแตกต่างจากเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งที่ที่ปรึกษาต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมและระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยี โดยตระหนักถึงการรับรู้ข้อมูลของนักลงทุนเกี่ยวกับ Generative AI และนําไปใช้ในลักษณะที่เหมาะกับพวกเขา