หากลองเปรียบเทียบการลงทุนโดยซื้อกองทุนแล้วถือยาวไปอีก 10 ปี อาจได้ผลตอบแทนหลังหักค่าธรรมเนียมเฉลี่ยอยู่ที่ 7.3% ต่อปี แต่หากเราซื้อๆขายๆผลตอบแทนที่ได้อาจอยู่ที่เฉลี่ย 1.1% ต่อปีเท่านั้นซึ่งอาจเป็นเพราะการเข้าซื้อขายที่ไม่ถูกจังหวะทำให้ผลตอบแทนที่ได้นั้นต่ำกว่าการซื้อแล้วถือยาว
ช่องว่างของผลตอบแทนจากการลงทุน
จากการศึกษาข้อมูลในอดีตของ Morningstar เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมของนักลงทุน พบว่าในรอบ 10 ปีนักลงทุนอาจสูญเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนได้ถึง 15% จากกองทุน หรือที่เราใช้ชื่อเรียกว่า “Investor Return Gap” ซึ่งสาเหตุเป็นเพราะดังต่อไปนี้
หากย้อนหลังไปช่วง 10 ปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2023 พบว่านักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากกองทุนเฉลี่ย 6.3% ต่อปี ขณะที่ผลตอบแทนของกองทุนอยู่ที่เฉลี่ย 7.3% ต่อปี
กองทุนที่ให้ผลตอบแทนได้สูงถึง 10% ต่อปีคือกองทุนประเภทหุ้นสหรัฐ และกลุ่ม Allocation funds ที่ให้ผลตอบแทน 5.9% ต่อปี ขณะที่กองทุนทางเลือกอื่นให้ผลตอบแทนที่ติดลบในช่วงที่ผ่านมา
ผลต่างของผลตอบแทนที่ 1.1% ต่อปีนั้นเทียบเท่ากับประมาณ 15% ของผลตอบแทนรวมเฉลี่ยโดยรวมของกองทุน ซึ่งสอดคล้องกับช่องว่างที่วัดได้ในช่วง 10 ปีต่อเนื่องในเดือนธันวาคม 2019, 2020, 2021 และ 2022
ซึ่งช่องว่างของผลตอบแทนที่หายไปในช่วง 10 ปีที่วัดนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการเข้าซื้อขายในช่วงปี 2020 ซึ่งทำให้ผลต่างของอัตราผลตอบแทนในปีดังกล่าวติดลบถึง 2%
กลุ่ม Allocation funds ให้ส่วนต่างของผลตอบแทนแคบที่สุดหรือ -0.4%ต่อปีในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2023 ซึ่งแปลว่านักลงทุนที่ลงทุนในกลุ่ม Allocation funds ยังได้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนประเภทอื่น
กลุ่มกองทุนหุ้นสหรัฐที่เป็น Sector funds เป็นกลุ่มที่ให้ส่วนต่างของผลตอบแทนมากที่สุด หรือ -2.6% ต่อปีในช่วง 10 ปีล่าสุด
กลุ่มกองทุนเปิดให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.1% ต่อปี โดยมีส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน -1% ขณะที่กลุ่ม ETFs ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6.9% ต่อปี โดยมีส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน -1.1%
สำหรับ Index funds ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 7.6% ต่อปี โดยมีส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน -0.8% ขณะที่กลุ่ม Active funds ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5.5% ต่อปี โดยมีส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน -1.2%
ขณะที่กลุ่ม Index mutual funds มีส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ -0.2% ซึ่งยังมากกว่ากลุ่ม Index ETFs ที่มีส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ -1.1% ต่อปี
กองทุนในกลุ่มที่มีความผันผวนของอัตราผลตอบแทนสูง ก็ยิ่งมีช่องว่างของผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจริงมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน เช่น กลุ่ม Sector equity funds ให้ผลตอบแทนส่วนต่างระหว่างการถือและลงทุนยาว กับการเข้าซื้อๆขายๆของนักลงทุน ได้มากถึง 7% ต่อปี
แนวทางในการปิดช่องว่างของผลตอบแทน
- การลงทุนในกองทุนประเภท Allocation funds ปกติมักจะมีการปรับพอร์ตให้นักลงทุนโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ทำให้นักลงทุนไม่ต้องทำการซื้อขายเองบ่อยครั้งเหมือนการกระจายการลงทุนเอง ซึ่งการที่ไม่ต้องทำการซื้อขายเองบ่อยครั้งก็เท่ากับว่าช่วยให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นด้วย
- Allocation funds เป็นแผนการลงทุนที่ถูกออกแบบมาให้กระจายการลงทุนอยู่แล้วตามแผนที่กำหนด จึงช่วยลดต้นทุนจากการเข้าซื้อขายที่ผิดจังหวะได้
- การออมเงินและลงทุนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เช่น การออมเงินเพื่อการเกษียณช่วยสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งเป็นการลดการซื้อขายแบบเก็งกำไรที่ทำให้เกิดการขาดทุนได้
- นักลงทุนมักจะลงทุนในกองทุนที่มีความผันผวนสูงเพื่อหาผลตอบแทนที่ดี แต่กลายเป็นว่าความผันผวนสูงก็ยิ่งทำให้เกิดการขาดทุนได้มาก
- กองทุนที่มีความผันผวนของผลตอบแทนสูงมักจะมีส่วนต่างของผลตอบแทนที่มาก และยิ่งกองทุนมีความผันผวนสูงก็ทำให้นักลงทุนต้องทำการซื้อขายบ่อยครั้งด้วยและอาจทำให้ขาดทุนจากการซื้อขายได้