ESG กำเนิดขึ้นได้อย่างไร
ในปี 2004 ทาง UN Global Compact ได้ออกนำเสนอเรื่องแนวคิดการลงทุนของผู้ชนะจากการคำนึงถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล นอกเหนือไปจากมุมมองทางการเงินเพียงอย่างเดียว ต่อมา Freshfields Bruckhaus Deringer ก็ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อเรื่องของ ESG ที่มีต่อการประเมินมูลค่าทางการเงินและกลายเป็นการวางรากฐานสําหรับการวิเคราะห์ ESG ต่อมา จนกระทั่งในปี 2006 ทาง United Nations ได้ออกหลักการ Principles for Responsible Investment ขึ้นมาซึ่งเป็นการนำเอาเรื่องของ ESG เข้ามาพิจารณาร่วมกับกระบวนการลงทุน
สิ่งกระตุ้นให้เกิดการติบโตใน ESG
ในปี 2015 ได้มีการลงนามในข้อตกลง Paris Climate Accord และ Sustainable Development Goals โดย 180 ประเทศร่วมกัน เพื่อกําหนดเป้าหมายในการควบคุมภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการที่ทาง United Nations ได้พัฒนา Sustainable Development Goals ขึ้นมาเพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ จัดการกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความยากจน ความไม่เท่าเทียมกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสันติภาพภายในปี 2030 ซึ่งเป็นการกําหนดกรอบการทํางานที่ผู้นําธุรกิจและนักลงทุนสามารถพูดภาษาเดียวกันและทํางานไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
จากวิกฤตการเงินโลกในปี 2008 แสดงให้เห็นว่าจุดอ่อนของระบบการเงินสร้างความเสียหายได้มากเท่าไหร่นั้น ทำให้นักลงทุนเริ่มวางกรอบเรื่องสภาพภูมิอากาศว่าอาจเป็นความล้มเหลวของตลาดจนต้องเกิด Paris Agreement ขึ้นมา หรือการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและห่วงโซ่อาหารจนกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา
ESG มีความเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
เพื่อเป็นการช่วยให้บรรลุเป้าหมายของ Paris Agreement ทำให้กลุ่ม G20 และ Financial Stability Board มีการบังคับให้ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องของคาร์บอนกับภาคธุรกิจการเงิน อย่างเช่นในปี 2018 ที่ BlackRock ให้ความสำคัญต่อบทบาทที่มีต่อสังคมและความสามารถในการทำกำไรระยะยาวโดยมุ่งเน้นการลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ดึงดูดผู้มีความสามารถเข้ามานําทางไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและดิจิทัล
การพัฒนาดัชนีวัดระดับความยั่งยืนของ Morningstar
หลังจากที่ Morningstar เริ่มเห็นนักลงทุนให้ความสำคัญของการลงทุนโดยคำนึงถึงเรื่อง ESG มากขึ้น ทำให้ในปี 2016 Morningstar ได้จัดทำ Sustainability Rating สำหรับกองทุนและ ETFs ขึ้นมา โดยให้ความสำคัญต่อการลงทุนอย่างยั่งยืน ความโปร่งใสและเปิดเผยข้อมูลของกิจการที่เข้าไปลงทุนทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถรับรู้ข้อมูลและความเสี่ยงที่มี
ยุโรปประเทศผู้นำด้าน ESG
ในปี 2017 นั้น คณะกรรมาธิการยุโรปได้นําเสนอแผนทางการเงินที่ยั่งยืนเพื่อมุ่งเน้นให้เงินทุนไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เช่น การออกกฏระเบียบในการเปิดเผยเรื่องการลงทุนอย่างยั่งยืนรวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ขณะที่ในปี 2019 European Green Deal ก็เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้บริษัทและนักลงทุนสามารถเข้าถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม จากการสื่อสารระหว่างผู้จัดการกองทุนและส่วนงานอื่นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมจากธุรกรรมของพวกเขา ทั้งนี้การพัฒนาต่างๆที่ผ่านมาทำให้ในปี 2023 กองทุน ESG ภายใต้การวิเคราะห์ของ Morningstar ที่มีมูลค่าสูงถึง 2.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นพบว่ากว่า 80% เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นในยุโรป
ESG ยังควรมีอยู่ต่อไปหรือไม่
- บางคนคิดว่าควรมีอยู่ต่อไป เพราะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ESG นั้น ช่วยในการประเมินถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้ และเป็นการลงทุนที่สร้างผลกระทบในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่เพียงแค่เป็นการลงทุนในบริษัทเท่านั้น
- ESG เป็นสิ่งจำเป็น เพราะการพิจารณาข้อมูล ESG ทำให้ได้รับมุมมองแบบ 360 องศาของความเสี่ยงและโอกาสที่ธุรกิจกําลังเผชิญอยู่
- ข้อมูลด้าน ESG ทำให้นักลงทุนและบริษัทต่างๆเข้าใจถึงต้นทุนที่แท้จริงของกิจการ
- เราไม่สามารถถอยกลับไปสู่การไม่มี ESG ได้แล้ว เพราะในหลายๆทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นธนาคารกลาง รัฐบาล หน่วยงานต่างๆ และนักลงทุน ต่างเชื่อว่าปัจจัยอื่นๆที่นอกเหนือจากเรื่องทางการเงินนั้นมีผลต่อมูลค่าทางการเงิน และเสียงเรียกร้องจากผู้บริโภคเพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านนี้ของตนเองก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
อนาคตในอีก 20 ปีข้างหน้า
- กฏระเบียบและมาตรฐานจะเป็นระดับสากลมากขึ้นสำหรับกิจการต่างๆในการชี้วัดและเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน ESG ซึ่งเป็นเหมือนเรื่องของมาตรฐานบัญชีที่ใช้อย่างเป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน แต่คราวนี้จะเป็นเรื่องของมาตรฐานการชี้วัดด้าน ESG แทน
- ความคาดหวังการลงทุนที่มุ่งเน้นถึงผลกระทบและข้อมูลอื่นๆที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากกฏระเบียบใหม่ๆของสหภาพยุโรปที่ต้องการให้กิจการต่างๆรายงานถึงความเสี่ยงในธุรกิจและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร
- การลดการลงทุนในกลุ่มเชื้อเพลิง เนื่องจากปัจจุบันประมาณ 2 ใน 3 ของกองทุนเพื่อความยั่งยืนมักมีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มพลังงานเชื้อเพลิง แต่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องตั้งเป้าหมายควบคุมสัดส่วนการลงทุนในบริษัทพลังงานเหล่านี้ไม่ให้มากเกินกว่าในปัจจุบัน
- อนาคตระบบ AI อาจเข้ามาเปลี่ยนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ด้านความยั่งยืน การประเมินจะใช้ทั้งช้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กรเข้ามาประเมินร่วมกัน