We are currently investigating intermittent issues affecting access to some articles and pages on our site. We apologize for any inconvenience and are working to resolve this as quickly as possible.

ทำไมต้องมีการลงทุนในตราสารหนี้

ทำไมต้องมีการลงทุนในตราสารหนี้แม้ในช่วงที่ตลาดไม่ดีก็ตาม แม้ในช่วงนี้การลงทุนในตราสารหนี้ (Bond) จะให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี แต่ที่ผ่านมา Bond ยังให้ประโยชน์

Morningstar 07/06/2567
Facebook Twitter LinkedIn

แม้ในช่วงนี้การลงทุนในตราสารหนี้ (Bond) จะให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี แต่ที่ผ่านมา Bond ยังให้ประโยชน์ในแง่การกระจายการลงทุนและช่วยป้องกันความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน

ทั้งนี้เป็นเวลาถึง 46 เดือนหรือเกือบ 4 ปีที่ Bond yield มีแนวโน้มขึ้นทำ New high อย่างต่อเนื่องซึ่งนับว่าเป็นสภาวะที่ไม่ดีกับตลาด Bond อย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงในอดีตที่ผ่านมา เห็นได้จากค่าสถิติของผลขาดทุนสูงสุด (Maximum drawdown) ที่แสดงในตาราง

1

ทำให้ในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนนำเงินเข้าไปลงทุนในกองทุนประเภท Money market fund มากขึ้นแทนเพื่อป้องกันการขาดทุน เพราะอย่างน้อยก็ได้ผลตอบแทนประมาณ 5% แล้วในสหรัฐ อย่างไรก็ตามหลักการลงทุนคือการคาดหวังต่อผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตมากกว่า ดังนั้นการไม่ลงทุนใน Bond ตอนนี้ก็เหมือนการที่เราพลาดโอกาสในการลงทุนหุ้น Apple ตั้งแต่ปี 1980

กรณีศึกษาของ Bond

นักลงทุนควรคำนึงถึง 2 เรื่องในความเป็นจริงต่อไปนี้คือ 1. ตลาดตราสารหนี้ก็มีช่วงที่ให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีได้ 2. การอดทนลงทุนในช่วงตลาดที่ไม่ดีจะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีในอนาคตได้

Daniel Ivascyn, CIO ของ Pimco ระบุว่า ตราสารหนี้นับเป็นตลาดการเงินที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ผลตอบแทนหรือ Yield ที่ระบุมาของตราสารคือสิ่งที่นักลงทุนควรจะได้รับแน่นอนในช่วงเวลาที่ลงทุน เช่น ตราสารหนี้คุณภาพดีอายุ 5 ปี ที่เสนอให้ผลตอบแทน 5%, 6% หรือ 7% นั่นคืออย่างน้อยของผลตอบแทนที่ควรจะได้รับตามนั้น

หากย้อนกลับไปช่วงเดือนกรกฏาคมปี 2020 ที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี เคยให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 0.64% ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงที่สุดแล้วในช่วงดังกล่าวก่อนที่จะปรับลงและแม้ดูเหมือนว่าผลตอบแทนที่ให้จะไม่ได้เยอะมาก แต่หลังจากที่ Bond yield ปรับลงไปในโซนต่ำติดลบก็ส่งผลให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ตลาดหุ้นกลับให้ผลตอบแทนที่แย่ในช่วงดังกล่าวเช่นกัน

ขณะที่ในปัจจุบัน Bond yield ได้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่ Fed ใช้นโยบายเข้มงวดทางการเงินต่อเนื่อง 18 เดือน ทำให้นี่อาจเป็นโอกาสการลงทุนที่ดีเพื่อรอรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคตจากตราสารหนี้ ทั้งนี้แม้การคาดการณ์ถึงทิศทางและกรอบการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ก็ตาม แต่ผลสำรวจความเห็นผู้จัดการกองทุนของ Bank of America พบว่าเกือบ 65% เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยน่าจะปรับลดลงภายในช่วงก่อนสิ้นปีนี้

1

ขณะที่ Bond yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปียังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสิ้นปีที่แล้วที่ 3.9% มาอยู่ที่ 4.6%ในช่วงสิ้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

1

แนวโน้มตลาดตราสารหนี้

แม้ช่วงต้นปี Bond yield จะปรับลดลง แต่การลงทุนควรจะยึดถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมากกว่าการอิงไปกับสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ในแง่การลงทุนในตราสารหนี้ก็ควรมีการกระจายการลงทุนเช่นกันทั้งในตราสารหนี้ระยะสั้น ระยะกลาง รวมไปถึงการลงทุนในกลุ่ม High yield ทั้งในตลาดสหรัฐและตลาดเกิดใหม่

สำหรับการลงทุนตอนนี้ยังควรลงทุนในตราสารระยะสั้นเพราะนอกจากให้ผลตอบแทนที่สูงแล้วยังช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการที่ Fed อาจคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อเนื่องมากกว่าที่คาด นอกจากนี้ยังคงต้องลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวมากขึ้นด้วยหากดูจากแนวโน้มทิศทางเงินเฟ้อ เศรษฐกิจ และนโยบายการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (ตราสารหนี้ระยะยาวมักจะมีผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยมากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น) ดังนั้น แม้เราจะไม่ได้คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกสักพักก็ตามแต่เรายังแนะนำให้ลงทุนระยะสั้นเพื่อรองรับความเสี่ยงในเรื่องนี้ไว้ก่อน และค่อยๆเพิ่มการลงทุนไปในตราสารระยะยาวมากขึ้นเพื่อรองรับแนวโน้มของดอกเบี้ยที่คาดว่าจะลดลงในอนาคตนั่นเอง

ในแง่ Corporate bond ของสหรัฐ ผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่ให้ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลและความเสี่ยงถือว่าไม่น่าสนใจมากแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมาภาคธุรกิจมีสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีเงินสดค่อนข้างมาก และความต้องการกู้ยืมมีน้อยจากการที่ได้กู้ไปมากแล้วในช่วงปี 2020-2021 ที่ดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่เสนอขายให้นักลงทุนในปัจจุบันไม่น่าสนใจ ส่วนกลุ่มที่น่าสนใจได้แก่ Mortgage-backed securities ที่มูลค่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจกว่า , Emerging-markets debt ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าในอนาคตหาก Fed ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง

โดยสรุปแล้วภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ยืนสูงได้ยาวนานนั้นยังไม่ได้อยู่ในสมมติฐาน Base case ของ Morningstar และตลาดโดยรวมยังเชื่อว่าการปรับลดดอกเบี้ยต่อเนื่องจะยังเกิดขึ้นต่อไปในอีก 18 เดือนข้างหน้าจากนี้ ขณะที่ Bond yield ที่ปรับขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงความผันผวนที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar