แนวทางการลงทุนสำหรับทุกช่วงวัย

Christine Benz นักวางแผนทางการเงินของ Morningstar ได้มีแนวทางชี้แนะไว้สำหรับการลงทุนและวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยดังนี้

Morningstar 06/11/2566
Facebook Twitter LinkedIn

ลำดับแรกของแผนการเงินเราอาจมีเป้าหมายเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่ ซื้อบ้านซื้อรถยนต์ เก็บเงินเพื่อแต่งงาน วางแผนการศึกษาให้ลูก วางแผนยามเกษียณ รวมถึงวางแผนออมเงินเผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันในอนาคต ทั้งนี้ Christine Benz นักวางแผนทางการเงินของ Morningstar ได้มีแนวทางชี้แนะไว้สำหรับการลงทุนและวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยดังนี้

แผนการเงินสำหรับช่วงเริ่มทำงาน

ในช่วงนี้ควรลงทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และมีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นจึงยังมีระยะเวลาการลงทุนที่นานกว่าจะถึงช่วงเกษียณ ทำให้สามารถรับความเสี่ยงที่มากขึ้นได้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจำนวนมาก ในแง่พอร์ตการลงทุนควรเริ่มต้นแบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน หรือลงทุนในกองทุนที่ล้อตามดัชนีก็ได้โดยแผนการเงินสำหรับช่วงนี้คือ

  1. วางแผนการจ่ายชำระหนี้
  2. ลงทุนในการศึกษาและทักษะทางอาชีพ
  3. เริ่มวางแผนการเกษียณ
  4. วางแผนลงทุนเพื่อประหยัดภาษี
  5. ลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้
  6. กระจายการลงทุน

แผนการเงินสำหรับวัยกลางคน

ในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีรายได้จากการทำงานค่อนข้างมาก และยังเป็นช่วงที่อาจมีค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลบุตร ดูแลผู้สูงอายุ และยังต้องวางแผนเพื่อเกษียณอีกด้วย และด้วยรายได้ที่หาได้มากประกอบกับยังมีระยะเวลาลงทุนอีกนานกว่าจะเกษียณ การลงทุนในช่วงนี้จึงเน้นที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างหุ้นได้ สำหรับแผนการเงินสำหรับช่วงนี้คือ

  1. ยังเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพ
  2. ออมเงินเพื่อการศึกษาบุตรและเป้าหมายอื่นๆไปพร้อมกัน
  3. รักษาเงินออมที่มีอยู่และสร้างให้เติบโต
  4. แยกเงินออมสำหรับเกษียณในอนาคตออกมาอีกส่วนหนึ่ง
  5. ลดความเสี่ยงในพอร์ตลงทุน
  6. ลองปรึกษานักวางแผนทางการเงิน

สำหรับแผนลงทุนในช่วงนี้ควรจะต้องสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายทางการเงินต่างๆภายใต้ระยะเวลาที่แตกต่างกันซึ่งมีผลให้พอร์ตการลงทุนมีความซับซ้อนมากขึ้น เราจึงต้องให้เวลากับการลงทุนมากขึ้น

แผนการเงินสำหรับช่วงใกล้เกษียณ

ในช่วงใกล้เกษียณอายุนั้นอาจเป็นช่วงเวลาที่หลายๆคนต้องให้ความสำคัญอย่างมากเนื่องจากช่วงเวลาลงทุนก่อนเข้าสู่ช่วงเกษียณนั้นเหลือน้อยลงทำให้ต้องเริ่มคุ้มครองเงินออมที่มีอยู่ให้เพียงพอรองรับในยามเกษียณ แผนการเงินสำหรับช่วงนี้คือ

  1. ยังเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพ
  2. พยายามรักษาความมั่นคงและปลอดภัยทางการเงิน
  3. ตรวจสอบความพร้อมของพอร์ตลงทุนเพื่อรองรับยามเกษียณ
  4. เร่งออมเงินมากขึ้นเพื่อเกษียณ
  5. ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น
  6. ลองคาดการณ์ลำดับความต้องการใช้เงินในอนาคต

แผนการเงินในช่วงเกษียณ

จากช่วงก่อนหน้าที่เน้นการออมเงิน แต่ในช่วงวัยนี้จะเข้าสู่แผนการใช้เงินที่อดออมมา ทั้งนี้นักลงทุนจะต้องสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้เงินกับการเพิ่มพูนเงินลงทุนที่มีอยู่ให้งอกเงยในระยะยาว แต่ภายใต้ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้นั้น พอร์ตลงทุนในยามเกษียณจะต้องมีความยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย

  1. คาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
  2. ศึกษาและเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ประจำในอนาคต
  3. รักษาความมั่นคงและปลอดภัยทางการเงิน
  4. จำนวนเงินที่ต้องนำออกมาใช้ต้องมีความยืดหยุ่นได้
  5. บริหารความเสี่ยงให้เหมาะสม
  6. วางแผนบริหารจัดการมรดก

นักลงทุนสามารถปรึกษานักวางแผนการเงินเพื่อช่วยเราในการวางแผนการลงทุนตามแต่ละช่วงวัยและเพื่อให้เหมาะสมกับเป้าหมายในการลงทุนที่เราต้องการ

 

 

 

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar