การลงทุนอย่างยั่งยืนไตรมาส 1-2023

อัพเดทภาพรวมการลงทุนกองทุนยั่งยืนในประเทศไทยและทั่วโลกทั้งในส่วนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิและปริมาณ fund flow

Morningstar 27/04/2566
Facebook Twitter LinkedIn

เนื่องจากกองทุนยั่งยืนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่างประเทศ ทำให้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะทางฝั่งสหรัฐฯ ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุนยั่งยืนในประเทศไทยขึ้นมาอยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% จากสิ้นปีที่แล้ว แต่มีเงินไหลออกสุทธิเล็กน้อยรวมราว 2 ร้อยล้านบาท อย่างไรก็ดี หากมองย้อนกลับไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะพบว่ากองทุนยั่งยืนมีเม็ดเงินไหลเข้า-ออกอย่างจำกัด โดยเฉพาะหลังจากปี 2021 เป็นต้นมา ซึ่งอาจมีส่วนมาจากสภาวะการลงทุนที่มีปัจจัยลบค่อนข้างมากในช่วงปี 2022

1

ผลตอบแทน outperform จากกลุ่ม Technology

ผลตอบแทนการลงทุนอย่างยั่งยืนในไตรมาสล่าสุดทำได้ดีกว่า broad index โดย Morningstar Global Sustainability Leaders Index อยู่ที่ 14.4% สูงกว่า Morningstar Global Markets Large-Mid Index ถึงเท่าตัว ขณะเดียวกันภาพระยะยาวดัชนีการลงทุนอย่างยั่งยืนก็ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าเช่นกัน ทั้งนี้มีเหตุมาจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ฟื้นตัวขึ้นมาได้ดี โดยดัชนี Morningstar Global Technology Index รอบไตรมาสแรกอยู่ที่ 21.2% ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับหมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ และดัชนี Morningstar Global Sustainability Leaders Index มีสัดส่วนในกลุ่ม Technology ราว 38% นำโดย NVIDIA Corp ที่ในไตรมาสแรกนี้มีผลตอบแทนถึง 90%

2

3

เม็ดเงินลงทุนกองทุนยั่งยืนทั่วโลกชะลอลง

ด้านการลงทุนอย่างยั่งยืนทั่วโลกมีภาพของเม็ดเงินไหลเข้าที่น้อยลง โดยเป็นเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดยุโรปกว่า 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่เป็นเงินไหลออกจากตลาดสหรัฐและญี่ปุ่น ทำให้โดยรวมเป็นเงินไหลเข้าสุทธิ 2.9 หมื่นล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์ 

4

5

แม้ว่ามูลค่าเงินไหลเข้าสุทธิกองทุนยั่งยืนจะชะลอตัวลง แต่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิยังคงเพิ่มขึ้นมาที่ 2.74 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเติบโต 7.5% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าภาพรวมกองทุนทั่วโลกที่ 4% กองทุนในยุโรปยังคงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของการลงทุนอย่างยั่งยืนหรือคิดเป็น 84% ของมูลค่ากองทุนยั่งยืนทั่วโลก ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่ 11%

กลุ่มประเทศ Asia ex-Japan เป็นภูมิภาคที่มีมูลค่ากองทุนยั่งยืนสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่ารวม 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 3.1% ในจำนวนนี้เป็นมูลค่าการลงทุนในประเทศจีนถึง 68% ตามมาด้วยไต้หวันและเกาหลีใต้ที่ 17% และ 11.6% ตามลำดับ

6

ในไตรมาสที่ผ่านมาตลาดในกลุ่ม Asia ex-Japan มีเงินไหลออกสุทธิราว 97 ล้านดอลลาร์ (ไม่รวมจีนเนื่องจากยังไม่มีข้อมูล ณ วันทำรายงานฉบับนี้) ในจำนวนนี้เป็นเงินไหลออกของเกาหลีใต้สูงสุด 545 ล้านดอลลาร์ หรือไหลออกต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 ด้านสิงคโปร์และฮ่องกงมีเงินไหลออกที่ 157 ล้านดอลลาร์และ 117 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ขณะที่ไต้หวันเป็นตลาดที่มีเงินไหลเข้าสูงสุด 710 ล้านดอลลาร์

7

จากข้อมูลทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการลงทุนยั่งยืนทั่วโลกมีลักษณะของเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิที่น้อยลง ซึ่งมีส่วนสำคัญมาจากแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ย เงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่เริ่มส่อเค้า แต่อย่างไรก็ดีตลาดหุ้นที่ฟื้นตัวขึ้นมายังทำให้มูลค่าทรัพย์สินเติบโตขึ้นได้ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งยังคงต้องติดตามต่อไปว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจจะกระทบการลงทุนกองทุนยั่งยืนอย่างไรในปีนี้

(หมายเหตุ ข้อมูลกองทุนยั่งยืนทั่วโลกจะไม่นับรวมกองทุนประเภท money market กองทุนฟีดเดอร์ กองทุนรวมหน่วยลงทุนเพื่อไม่ให้เกิดการนับมูลค่าเงินไหลเข้า-ออกและมูลค่าทรัพย์สินสุทธิซ้ำกัน ยกเว้นกองทุนจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้)

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar  Morningstar