We are currently investigating intermittent issues affecting access to some articles and pages on our site. We apologize for any inconvenience and are working to resolve this as quickly as possible.

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐต่ำกว่าที่คาด

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ยังคงอยู่ระดับสูงนั้น หากเปรียบเทียบกับคาดการณ์แล้วออกมาต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าความพยายามของเฟดเริ่มส่งผลต่อเงินเฟ้อ

Morningstar 14/12/2565
Facebook Twitter LinkedIn

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐที่ยังคงอยู่ระดับสูงนั้น หากเปรียบเทียบกับคาดการณ์แล้วออกมาต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ ถือเป็นการส่งสัญญาณว่าความพยายามของเฟดเริ่มส่งผลต่อเงินเฟ้อ โดยทางคุณ Preston Caldwell หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมอร์นิ่งสตาร์มองว่ายังเร็วเกินไปที่จะดีใจ แต่อย่างไรก็ตามทางมอร์นิ่งสตาร์มีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ โดยอัตราเงินเฟ้อที่ออกมาต่ำกว่าคาดนั้นเกิดจากสินค้าบางหมวดมีการปรับราคาลงเช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และของใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ

หลังจากที่มีการเปิดเผยรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค ส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่ทำให้การปรับดอกเบี้ยของเฟดในสัปดาห์นี้เปลี่ยนไป โดยคาดว่าจะปรับขึ้นอีก 0.5% ในรอบนี้

เมื่อมองในภาพรวมก็ยังเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐที่ 2% โดยเงินเฟ้อจากภาคบริการที่เฟดให้ความสำคัญยังคงอยู่ระดับสูง จากอัตราการจ้างงานที่ยังแข็งแกร่ง

ข่าวดีจากรายงานดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน

การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index : CPI) ซึ่งเป็นการสะท้อนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.1% จากเดือนก่อนหน้าหรือต่ำกว่า 0.3% ที่นักเศรษฐศาสตร์คาด และลดลงจาก 0.4% ในเดือนตุลาคม สำหรับ core CPI หรือตัวเลขที่บ่งบอกถึงเงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน หรือที่เรียกว่าเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนพฤศจิกายน ต่ำกว่าเดือนตุลาคมที่ 0.3% โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในรอบนี้ถือว่าเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดนับตั้งแต่สิงหาคมของปีที่แล้ว

เมื่อเทียบกับปีที่แล้วจะพบว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 7.1% ในเดือนพฤศจิกายน และหากไม่รวมราคาอาหารและพลังงานจะอยู่ที่ 6.0% ซึ่งอัตราเงินเฟ้อทั้ง 2 ค่านั้นต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาด

 1

อย่างไรก็ดีทางมอร์นิ่งสตาร์มองว่าการใช้ตัวเลขเพียงเดือนเดียวอาจไม่ได้สะท้อนข้อมูลภาพรวมมากนัก โดยหากดูอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 4.3% ต่อปี หรือต่ำกว่าระดับ 6%-7% ต่อปีในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้

 2

แนวโน้มราคาที่อยู่อาศัย

การรายงานเงินเฟ้อจะมีตัวเลขหมวดหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือในส่วนของที่อยู่อาศัย โดยมีการปรับขึ้น 8.9% ต่อปีในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ โดยทางมอร์นิ่งสตาร์มองว่าภาคที่อยู่อาศัยที่มีเงินเฟ้อสูงนั้นเกิดจากตลาดการเช่าที่อยู่อาศัย แต่ใน 3 เดือนล่าสุดถือว่ามีการชะลอลงอย่างมาก และหากไม่นับรวมผลจากตลาดที่อยู่อาศัยจะพบว่าเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.1% ต่อปีจากข้อมูลใน 3 เดือนล่าสุด

 3

ประเด็นที่ต้องติดตาม

จากรายงานอัตราเงินเฟ้อรอบล่าสุดนั้นส่วนของเงินเฟ้อภาคบริการที่ไม่รวมที่อยู่อาศัยและกลุ่มการดูแลสุขภาพเป็นส่วนที่จะต้องติดตาม ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้น 7.5% ต่อปีจากข้อมูล 3 เดือนล่าสุด ซึ่งแสดงถึงแรงกดดันเงินเฟ้อยังอาจอยู่ระดับสูงจากอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างยังคงสูงอยู่

 4

โดยรวมถือว่ารายงานอัตราเงินเฟ้อในรอบนี้ส่งผลให้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยช้าลงในสัปดาห์นี้หรือที่ 0.5% ลดลงจากรอบก่อนหน้าที่ 0.75% ซึ่งขึ้นติดต่อกันมา 4 ครั้งในปีนี้ และมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะปรับดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% ในการประชุมรอบเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า รวมทั้งการเริ่มปรับลดดอกเบี้ยภายในสิ้นปีหน้า

6

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar