We are currently investigating intermittent issues affecting access to some articles and pages on our site. We apologize for any inconvenience and are working to resolve this as quickly as possible.

Stock multiple ส่งสัญญาณตลาดเป็นขาลง

P/E Multiple คือปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนใช้ดูเพื่อคาดเดาทิศทางของราคาหุ้น โดยนักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าระดับราคาปัจจุบันนั้นถือว่าแพงไปมากแล้วเมื่อเทียบกับตลาดหมีในอดีต ทำให้มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับลดลงในอนาคต

Morningstar 31/10/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ตลาดจะลดลงได้ถึงขนาดไหน?

แม้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะยังคงเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ตลาดหุ้นก็เริ่มฟื้นตัว (หลังจากที่ตลาดหุ้นปรับลดลง 20% จากระดับสูงสุดที่ผ่านมา) จากความหวังที่คาดว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น

P/E Multiple คือปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนใช้ดูเพื่อคาดเดาทิศทางของราคาหุ้น โดยนักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าระดับราคาปัจจุบันนั้นถือว่าแพงไปมากแล้วเมื่อเทียบกับตลาดหมีในอดีต ทำให้มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับลดลงในอนาคต

1

P/E multiples

P/E multiples คือการนำราคาหุ้นมาหารด้วยกำไรต่อหุ้น ซึ่งสะท้อนว่านักลงทุนจะยอมจ่ายซื้อหุ้นที่ราคากี่เท่าของกำไรต่อหุ้น และยังเป็นการบ่งบอกว่าราคาในปัจจุบันนั้นสูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นอีกด้วย นอกจากนี้อาจดูเป็นราคาหุ้นต่อยอดขายหรือต่อกระแสเงินสดต่อหุ้นก็ได้เช่นกัน

ปกติแล้วบริษัทที่มีอัตราการเติบโตของธุรกิจที่สูงก็มักจะได้Multiples ของราคาหุ้นที่สูงไปด้วย เนื่องจากนักลงทุนยอมจ่ายซื้อในราคาที่แพง อย่างเช่นในอดีตที่หุ้นกลุ่ม Technology ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่ต่ำ ทำให้มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและนักลงทุนก็ยอมจ่ายซื้อหุ้นในราคาที่สูงและรับความเสี่ยงได้มากจากการลงทุนดังกล่าว

แต่ในปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และมีปัญหาเรื่องsupply chain ทำให้คาดว่าจะกระทบต่ออัตรากำไรของภาคธุรกิจให้ปรับลดลงในอนาคต และส่งผลต่อราคาหุ้นที่ปรับลดลง เนื่องจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจต่อกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและยอมจ่ายซื้อในราคาที่ต่ำลงแทน

ทั้งนี้คาดการณ์อัตรากำไรต่อหุ้นของตลาด S&P 500 ในปีนี้อยู่ที่ประมาณ $219.89 ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้าในเดือนมิถุนายนที่ $227.91 ขณะที่ปี 2023 คาดการณ์อัตรากำไรเดิมอยู่ที่ประมาณ $236.29 แต่มีแนวโน้มที่จะถูกปรับลดลงเหลือ $200 ในปีหน้าเช่นกัน

2

แนวโน้มตลาดหุ้นยังเป็นขาลง

ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2022 ดัชนี S&P 500 ซื้อขายที่ระดับ P/E multiple 15.7 เท่า (พอๆกับค่าเฉลี่ยในรอบ 25 ปีที่ซื้อขายในช่วง 15.5-16.5 เท่า) ปรับลดลงจากระดับสูงสุดที่ 21 เท่าในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงในรอบ 40 ปี ส่งผลให้ Fed ยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงตึงตัวและค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ทำให้การเติบโตของกำไรนั้นชะลอตัวลงและอัตรากำไรลดต่ำลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดปรับลดลงได้

สำหรับ P/E multiple ช่วงตลาดหมีในอดีตจะพบว่า S&P 500 ช่วงDot-com bust มี P/E multiple สูงสุดที่ 13.5 เท่า หลังจากที่ราคาหุ้นลงมาถึง 50% จากก่อนหน้า รองลงมาเป็นช่วง COVID-19 ที่ตลาดลดลงถึง 34% และมาซื้อขายอยู่ที่ P/E 13 เท่า ขณะที่ปัจจุบันเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงนั้นส่งผลต่อภาพกำไรของภาคธุรกิจต่างๆให้โตช้าหรือลดต่ำลงเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบัน ณ ไตรมาส 3 อัตรากำไรเฉลี่ยของ S&P 500 อยู่ที่ 12% ลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกันแล้ว ส่งผลให้มีแนวโน้มที่ตลาดหุ้นจะปรับลดลงได้อีกจากระดับปัจจุบันที่ซื้อขายในระดับที่ค่อนข้างสูงกว่าภาวะหมีในอดีต

The Rule of 20

หากวัดมูลค่าตลาดหุ้นว่าถูกหรือแพงตามหลัก “Rule of 20” ซึ่งกำหนดว่าผลรวมของ CPI และ Forward PE ควรจะอยู่ที่ 20 จึงถือว่าตลาดหุ้นนั้นมีมูลค่าที่เหมาะสมหรือ Fairly value แต่ถ้าได้ค่าออกมามากกว่า 20 ถือว่า Overvalue และถ้าต่ำกว่า 20 ถือว่า Undervalue นั้น จะพบว่าในภาวะปัจจุบันที่อัตราเงินเฟ้อ 8.2% ตลาดหุ้นควรซื้อขายอยู่ที่ระดับ PE 12 เท่าเท่านั้นจึงจะถือว่าเหมาะสม

ความแตกต่างของตลาดในช่วงปี 1970s กับปัจจุบัน

ในช่วงปี 1979 ตลาดหุ้นซื้อขายในระดับ PE ต่ำกว่า 10 เท่า ภายใต้ภาวะ Great Inflation ทำให้สหรัฐดำเนินนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ภายใต้การนำของประธาน Fed ในช่วงนั้นคือ“Paul Volcker”  ส่วนตลาดหุ้นเกิดภาวะตลาดหมีในปี 1980 -1982 ตลาดปรับลดลงถึง 28% อย่างไรก็ตามการปรับลดลงของตลาดหุ้นนั้นส่งผลต่อ GDP เพียงแค่ 14% เนื่องจากตลาดยังซื้อขายในระดับ PE ที่ต่ำและการเล่นหุ้นยังไม่แพร่หลายมากนักและทำให้เกิดผลกระทบต่อกำลังซื้อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นจากระดับ 12% ไปจนถึงเกือบ 20% ในช่วงดังกล่าว

ขณะที่ปัจจุบัน ตลาดหุ้นที่ลดลงนั้นกระทบต่อความมั่งคั่งของประชาชนอย่างมากโดยมีผลต่อ GDP ถึง 54% การขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 0% ไปจนถึงเกือบ 4% ทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นและกำลังซื้อของบริโภคอย่างมาก และท้ายสุดอาจจะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงได้เช่นกัน ทำให้การขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้อาจไม่ต้องเหมือนในอดีตก็เป็นได้

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar