ตลาด Carbon credits พร้อมที่จะเกิดขึ้นจริงหรือยัง

หลังจากที่กิจกรรมต่างๆและเศรษฐกิจโลกกลับมาเดินหน้าอีกครั้งก็ส่งผลต่อความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการใช้พลังงานจากแหล่งอื่นๆมาทดแทนจึงมากขึ้น และท้ายสุดส่งผลให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม เช่นพัฒนาการของตลาดคาร์บอนเครดิต

Morningstar 26/09/2565
Facebook Twitter LinkedIn

หลังจากที่กิจกรรมต่างๆและเศรษฐกิจโลกกลับมาเดินหน้าอีกครั้งก็ส่งผลต่อความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ราคาก๊าซและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ความต้องการใช้พลังงานจากแหล่งอื่นๆมาทดแทนจึงมากขึ้นโดยเฉพาะ ถ่านหินและนิวเคลียร์ และท้ายสุดส่งผลให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้นตามมา อย่างเช่นพัฒนาการของตลาดคาร์บอนเครดิตนั่นเอง

1

ตลาดคาร์บอนเครดิต

คือการกำหนดราคาหรือคำนวณค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการปล่อยมลพิษของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน อย่างไรก็ดีการประเมินมูลค่าดังกล่าวอาจทำออกมาได้ยาก ทั้งนี้ เราสามารถแบ่งชนิดของตลาดคาร์บอนเครดิตได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

  1. Compliance markets: การกําหนดให้บริษัทต่างๆต้องซื้อใบอนุญาตเพื่อชดเชยการก่อมลพิษขึ้นมา และหากบริษัทไหนก่อให้เกิดมลพิษน้อยกว่าที่กำหนดก็จะกลายเป็นมีคาร์บอนส่วนเกินและสามารถขายคาร์บอนส่วนเกินนี้ได้ในตลาดเช่นกัน (Carbon credits) ส่วนบริษัทที่ก่อมลพิษจะต้องซื้อเครดิตคาร์บอนก่อนที่จะทำการปล่อยมลพิษได้
  2. Voluntary markets: การให้ลูกค้ารับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษโดยการจ่ายเงินตามการใช้พลังงานหรือการก่อมลพิษ (Carbon offsets) หรืออาจชดเชยด้วยการสร้างพลังงานหมุนเวียนหรือการปลูกป่าทดแทนการปล่อยมลพิษ

2

ทั้งนี้ Compliance markets จะเป็นที่นิยมใช้มากกว่าและมีสัดส่วนที่สูงกว่า Voluntary markets และหากแบ่งดูตามเกณฑ์ต่างๆ เช่น การปล่อยมลพิษ ขนาดของตลาด เป็นต้น จะพบว่าประเทศแคริฟอเนีย สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และคิวบา เป็นกลุ่มประเทศที่เป็นตัวแทนของตลาดดังกล่าวได้ดีที่สุด โดยที่สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่ประสบความสําเร็จที่ชัดเจนที่สุดในการลดการปล่อยมลพิษในภาคส่วนต่างๆ

3

นอกจากนี้การกำหนดราคาหรือมูลค่าของคาร์บอนเครดิตโดยอิงตามปริมาณคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกมานั้นน่าจะเป็นวิธีส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพที่สุดและยังจูงใจให้ผู้ประกอบการลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยมลพิษมากขึ้น ปัญหาคือที่ผ่านมาราคาและการกำหนดเพดานกฏเกณฑ์ค่อนข้างไม่แน่นอนและผันผวน ดังนั้นหากภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมผ่านการออกกฏเกณฑ์กำกับดูแลก็จะมีส่วนช่วยให้การควบคุมเรื่องการปล่อยมลพิษและการกำหนดราคาซื้อขายคาร์บอนนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น แต่ปัญหาคือเรื่องของการออกกฏเกณฑ์และบทลงโทษนั้นอาจยังไม่ชัดเจนและเป็นที่นิยมเท่าที่ควร นอกจากนี้ประเด็นเรื่องนัยยะทางการเมืองและความนิยมต่อนโยบายของพรรคอาจทำให้เป็นอุปสรรคมากขึ้นในการทำให้นโยบายเหล่านี้เกิดขึ้นจริงได้

4

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar