สำรวจกองทุนธีมพลังงานสะอาด

จากการผ่านกฎหมาย Inflation Reduction Act ของสหรัฐเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ถือว่าได้สร้างความสนใจต่อการลงทุนพลังงานสะอาดและรถยนต์ไฟฟ้าให้มากขึ้น แต่การลงทุนในธีมนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละกองทุน

Morningstar 16/09/2565
Facebook Twitter LinkedIn

เงินไหลเข้า Clean Energy ETF ในสหรัฐฯ หลังการผ่านกฎหมาย Inflation Reduction Act

ก่อนที่ทางสมาชิกวุฒิสภาฝั่ง Democrat จะประกาศว่าจะนำประเด็น climate change เข้าเป็นส่วนหนึ่งของร่างกฎหมาย Inflation Reduction Act นั้น มีเงินไหลออกจากกองทุน ETF เกี่ยวกับ renewable energy ขนาดใหญ่ที่สุด 5 กองทุน และ 4 กองทุนรถยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ราว 194 ล้านดอลลาร์ แต่หลังจากวันที่ 27 กรกฎาคม จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม กองทุนเหล่านี้กลับมามีเงินไหลเข้า 189.7 ล้านดอลลาร์ โดยการออกกฎหมายนี้ได้ให้ประโยชน์กับธุรกิจพลังงานสะอาดคือ ช่วยให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนพลังงานสะอาด เช่น การให้เครดิตภาษีจากการติดตั้งแผงโซลาร์ในครัวเรือน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการกักเก็บพลังงาน การลงทุนด้านการผลิตแผงโซลาร์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นในประเทศ

ในแง่ของการลงทุนในธีมพลังงานสะอาดนั้นแต่ละกองทุนก็มีความแตกต่างกันไป โดยจะเป็นไปในลักษณะการลงทุนในธีมพลังงานเช่น energy transition ซึ่งครอบคลุมในหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานที่ก่อมลพิษไปสู่ยุคที่ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น หรือกองทุนเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า ที่รวมทั้งในส่วนของแบตเตอรี่หรือโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

1

2

จากตัวอย่างในตารางซึ่งเป็นกองทุน clean energy ETF ขนาดใหญ่ในสหรัฐ จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันในแง่ของการลงทุนว่าเป็นกองทุนในเน้นธุรกิจในสหรัฐหรือทั่วโลก หรือสัดส่วนการลงทุนในธุรกิจแต่ละกลุ่ม ซึ่งสะท้อนไปยังความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกัน เช่น กองทุน iShares Global Clean Energy ETF (ICLN) ที่เน้นในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน หรือเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นการลงทุนทั่วโลกด้วยสัดส่วนการลงทุนในสหรัฐราวครึ่งหนึ่ง ต่างจากกองทุนอื่นที่เน้นการลงทุนในสหรัฐ มีสัดส่วนในกลุ่มเทคโนโลยี 37% และมีค่า standard deviation ของผลตอบแทนหรือค่าความเสี่ยงรอบ 3 ปี 35.4 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ clean energy กองอื่น

กองทุน ICLN มีการลงทุนสูงสุดในบริษัท Enphase Energy (ENPH) ผู้ผลิต micro-inverters สำหรับแผงโซลาร์เซลล์ สถานีชาร์จ EV ในสัดส่วน 10.4%, SolarEdge Technologies (SEDG) 6.4% และ Vestas Wind Systems (VWSB) 6.1% ซึ่งเป็นผู้ผลิตกังหันพลังงานลมรายใหญ่ที่สุดในโลก

กองทุน Global X Lithium & Battery Tech ETF (LIT) มีขนาด 4.5 พันล้านดอลลาร์ ลงทุนในธุรกิจเหมืองและแบตเตอรี่ลิเธียม โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อยู่นอกสหรัฐ มีการลงทุนสูงสุดใน Albermarle (ALB) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดด้วยสัดส่วน 13.0%

กองทุนธีมพลังงานสะอาดในประเทศไทย

ปัจจุบันกองทุนธีมพลังงานสะอาดรวมถึงรถยนต์ไฟฟ้ามีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 1.6 หมื่นล้านบาท มีเงินไหลออกสุทธิสะสมระดับ 2 ร้อยล้านบาท ผลตอบแทนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ต้นปี -17.0% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2022)

3

4

กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่ในประเทศไทยมักเป็นการลงทุนในอเมริกาและยุโรปเป็นหลัก โดยมีการลงทุนใน sector หลักได้แก่ สาธารณูปโภค, เทคโนโลยี หรืออุตสาหกรรม ในด้านสไตล์การลงทุนส่วนใหญ่เน้นในกลุ่มหุ้นเติบโต และอาจเป็นการลงทุนในหุ้นที่มี market cap ต่างกัน ซึ่งนำไปสู่ผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ต่างกัน เช่น กองทุน Thanachart Eastspring Global Green Energy A (T-ES-GGREEN) เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 7 พันล้านบาท เป็นการลงทุนที่ไม่ได้เน้นเฉพาะหุ้น growth หรือ value (กราฟ Holding-based Style Trail) เป็นส่วนให้มีความผันผวนต่ำกว่ากองทุนอื่น ใกล้เคียงกับ Morningstar Global Market Index (กราฟ Risk-Reward) ขณะที่ TISCO New Energy (TNEWENGY) มีการลงทุนหุ้นขนาดเล็กเติบโตสูง เป็นส่วนทำให้กองทุนมีความผันผวนมากกว่ากองทุนอื่นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา คล้ายกับกองทุน SCB Global Clean Energy (SCBCLEANA) และ We New Transition Energy (WE-TENERGY) ที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลางและมีความเสี่ยงรอบ 1 ปีที่มากกว่ากลุ่ม

กองทุนรถยนต์ไฟฟ้ามักเป็นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ อยู่ในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ สถานีชาร์จ โดยมักเป็นการลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟและมีการลงทุนในบริษัทจีนในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ และลงทุนในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหลักตามมาด้วยกลุ่มแบตเตอรี่ ทั้งนี้กองทุน United Battery and EV Technology (UEV), Asset Plus Futuristic Power Supply and Mobility (ASP-POWER) และ LH Smart Mobility A (LHMOBILITY-A) มีการลงทุน Global X Lithium & Battery Tech ETF (LIT) ซึ่งเป็นกองทุนอีทีเอฟกลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ในสหรัฐตามที่ปรากฏในตารางด้านบน โดยรอบ 1 ปีที่ผ่านมากองทุนรถยนต์ไฟฟ้าถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างใกล้เคียงกองทุนพลังงานสะอาด แต่อาจมีผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเล็กน้อย

(กราฟ Holding-based style trail: แกนตั้งแสดงขนาด market cap ของหุ้นที่ลงทุนและแกนนอนแสดง style ของหุ้นจากซ้ายไปขวาคือหุ้น Value-Core-Growth)

5

กองทุน Principal Global Clean Energy (PRINCIPAL GCLEAN-A)เป็นกองทุนผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงสุด 18.1% ซึ่งเป็นกองทุนที่มีการลงทุนในสหรัฐฯ เป็นสัดส่วนหลัก และลงทุนธุรกิจเกี่ยวข้องกับแผงโซลาร์และ renewable energy ราว 53% ซึ่งมากกว่ากองทุนอื่นๆ มีการลงทุนไปที่ iShares Global Clean Energy UCITS ETF USD (Dist) (INRG) โดยเป็นการลงทุนเหมือนกับกองทุน ICLN ที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้

นักลงทุนที่สนใจกองทุนกลุ่มพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนควรทราบว่าการลงทุนลักษณะนี้จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละนโยบายหรือธีมที่กองทุนเลือกลงทุน ซึ่งอาจมีการกระจุกตัวในกลุ่มหุ้นเติบโต หรือมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนแบบกระจายการลงทุนในหลายธุรกิจ ทั้งนี้ธีมพลังงานสะอาดจะเป็นการลงทุนเพื่อการเติบโตไปกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โดย Inflation Reduction Act เป็นตัวอย่างหนึ่งของแนวทางภาครัฐที่สนับสนุนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปในระยะยาว

(หมายเหตุ รายชื่อกองทุนไทยดังกล่าวเป็นการรวบรวมโดยนำ 1 ชนิดหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบกับกองทุนอื่น ผู้ลงทุนที่สนใจควรพิจารณาถึงความแตกต่างของแต่ละชนิดหน่วยลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน)

Facebook Twitter LinkedIn

Securities Mentioned in Article

Security NamePriceChange (%)Morningstar Rating
Enphase Energy Inc71.45 USD8.59Rating
SolarEdge Technologies Inc14.77 USD12.66Rating

About Author

Morningstar