เหตุใดเราจึงคาดเงินเฟ้อจะลดลงในปี 2023

หลังจากอัตราเงินเฟ้อในปี 2022 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับข้อจำกัดทางด้าน Supply chain ส่งผลให้ราคาสินค้าในหลายๆอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก 

Morningstar 12/09/2565
Facebook Twitter LinkedIn

หลังจากอัตราเงินเฟ้อในปี 2022 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นประกอบกับข้อจำกัดทางด้าน Supply chain ส่งผลให้ราคาสินค้าในหลายๆอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะราคาพลังงานและยานยนต์ อย่างไรก็ตามคาดว่าในปี 2023 ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นจะคลี่คลายลงซึ่งเป็นผลมาจากปัญหา Supply chain ที่ดีขึ้นและการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐนั่นเอง

ทั้งนี้ เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2022-26 จะอยู่ที่ 2.4% ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายของ Fed เล็กน้อยที่ 2% และหากไม่รวมเงินเฟ้อในปี 22 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 5.9% จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2023-26 อยู่ที่ 1.5%

1

แม้ตัวเลขเงินเฟ้อจะสูงมากในปีนี้ แต่ในรายละเอียดไม่ได้น่ากังวลมากนัก

ในระยะยาวเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่ได้เป็นที่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในบางอุตสาหกรรมเท่านั้น ทำให้คาดว่าจะแก้ไขและจบลงได้ในที่สุด และจะไม่สูงขึ้นเหมือนในปี 1970 ที่เกิดภาวะGreat Inflation

จาก Chart ด้านล่างแสดงให้เห็นองค์ประกอบของสินค้าต่างๆที่มีผลต่อเงินเฟ้อ หรือเป็นการแสดงส่วนต่างระหว่างเงินเฟ้อก่อนและหลังจากที่เกิด Coronavirus ซึ่งจะพบว่าหลักๆเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในรอบนี้เป็นผลมาจากธุรกิจยานยนต์ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิคส์นั่นเอง รวมถึงการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานซึ่งเป็นผลมาจากความขัดแย้งในยูเครน

2

การคาดการณ์เงินเฟ้อปี 2023-26จากวิธี Bottom-Up

เราคาดว่าในปี 2023-26 จะเกิดภาวะเงินฝืด อันเนื่องมาจากราคาสินค้าคงทน อาหาร และพลังงาน ทั้งนี้ภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ดีขึ้นจะทำให้ความต้องการสินค้าคงทนนั้นลดลงและความต้องการสินค้าในภาคบริการมากขึ้นแทน ขณะที่ปัญหาราคาพลังงานและอาหารที่สูงนั้นคาดว่าจะบรรเทาลงในอนาคตจากการที่ผู้บริโภคเริ่มมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และความเข้มงวดทางการเงินของ Fed จะทำให้เศรษฐกิจและเงินเฟ้อชะลอลงในปี 2023-24 อีกเช่นกัน

3

ปัญหา Supply chains ดีชึ้น หลังจากความต้องการสินค้าเริ่มกลับสู่ภาวะปกติและการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น

จากกราฟด้านล่างที่แสดงถึง New York Fed's Global Supply Chain Pressure Index ที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในช่วงปลายปี 2021 ซึ่งเป็นผลมาจากภาคการผลิตและการขนส่งที่มีปัญหาในช่วงที่ผ่านมาและส่งผลให้ราคาสินค้าปรับสูงขึ้นนั่นเอง ขณะที่ปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวเริ่มกลับสู่ระดับปกติจากการที่ความต้องการสินค้ากลับลงสู่ภาวะปกติ ด้านผู้ผลิตมีการเพิ่มกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐและประเทศเศรษฐกิจหลักๆของโลกซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีก 2-3 ปีในการเพิ่มปริมาณสินค้าเพื่อรองรับความต้องการส่วนเกิน ด้านภาคขนส่งคาดว่าในปี 2022-25 จะมี Supply เรือ Container เข้ามาจำนวนมากอีกกว่า 30%

4

สำหรับภาค Semiconductor ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า 90% เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติมจากช่วงก่อนเกิดโควิด ทำให้คาดว่าอีกไม่นานปัญหาการขาดแคลนในชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์ก็จะหมดไป

เหตุการณ์รอบนี้ไม่เหมือนกับ Oil Price Shock ในปี 1970s

Morningstar คาดว่าราคาน้ำมันเฉลี่ยในปีนี้จะอยู่ที่ 97 เหรียญต่อบาเรล และลดลงเหลือ 55 เหรียญต่อบาเรลในปี 2025 ซึ่งคาดว่าผู้ผลิตน้ำมันในสหรัฐและประเทศอื่นๆจะทยอยเร่งเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อมาชดเชยปริมาณที่หายไปจากรัสเซีย

ขณะที่เหตุการณ์ในปี 1970 นั้นเป็นช่วงที่น้ำมันขาดแคลน ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในปี 1973 และจบรอบที่ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นไปถึง 11 เท่าจากระดับก่อนหน้าในปี 1970 สาเหตุหลักมาจากกลุ่ม OPEC ที่ต้องการแสดงอำนาจและควบคุมการผลิตไม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนเกินไป รวมไปถึงแหล่งน้ำมันดิบราคาถูกอื่นๆก็หมดไปทำให้จําเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้การขุดเจาะนอกชายฝั่งและแหล่งอื่นๆที่มีราคาแพงกว่ามาก

5

ราคาที่อยู่อาศัยจะไม่ได้เป็นสาเหตุให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

หากระดับราคาที่อยู่อาศัยคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันก็อาจเป็นสาเหตุให้เงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นได้ แต่เราคาดว่าราคาที่อยู่อาศัยจะปรับลดลงจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยลดลงนั่นเอง โดยเราคาดว่าความต้องการที่อยู่อาศัยจะลดลง 10% ในช่วงระหว่างปี 2022-2023 และทำให้ราคาบ้านปรับลดลงเฉลี่ย 8% ในปี 2022-2025

6

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar