ตลาดตราสารหนี้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ตลาดตราสารหนี้ช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปีปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งภาวะ Inverted yield curve ดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณของนักลงทุนถึงความกังวลต่อการเกิดเศรษฐกิจถดถอย

Morningstar 18/07/2565
Facebook Twitter LinkedIn

ปัจจุบันข้อมูลเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐยังไม่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงการถดถอยของเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับนโยบายการจัดการเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐที่ล่าสุดในเดือนมิถุนายนตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงเป็นประวัติการณ์โดยเพิ่มขึ้น 9.1% จากปีก่อนหน้า หลังจากต้นทุนพลังงานและสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่การประชุมของ FED จากนี้จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 1% จากก่อนหน้านี้ที่คาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วง 0.50% - 0.75% อย่างไรก็ดี Chief economist ที่ Morningstar เชื่อว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปจะยังไม่ถึง 1% หลังจากที่ในเดือนที่ผ่านมาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ปรับลดลงมา

ในด้านตลาดตราสารหนี้ช่วงที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปีปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี ซึ่งภาวะ Inverted yield curve ดังกล่าวเป็นการส่งสัญญาณของนักลงทุนถึงความกังวลต่อการเกิดเศรษฐกิจถดถอย

1

ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี และ 10 ปี ที่ออกมาติดลบในปีนี้นั้นเกิดครั้งแรกในช่วงเดือนมีนาคม และอีกครั้งช่วงเดือนมิถุนายน โดยพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 3.13% สูงกว่าพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีที่ให้ผลตอบแทน 2.94% โดยผลตอบแทนของพันธบัตรอายุสั้นเป็นการสะท้อนถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ขณะที่พันธบัตรอายุยาวถูกสะท้อนจากหลายปัจจัยอื่นๆ

ภาวะ Inverted Yield Curve เป็นการบ่งบอกถึงเศรษฐกิจ Recession หรือไม่

Joe Kalish, chief global macro strategist ที่ Ned Davis Research เชื่อว่าภาวะ Inverted Yield Curve เป็นการส่งสัญญาณถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ แต่ก็อาจเป็นเพียงการสะท้อนถึงความคาดหวังต่อนโยบายการเงินเช่นกัน ขณะที่ข้อมูลอื่นๆยังไม่ได้ส่อให้เห็นถึงแนวโน้มที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งรวมไปถึงการปรับตัวลงของตลาดหุ้นหากเกินกว่า 30% ก็เรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะ Recessionary bear market ซึ่งปัจจุบันตลาดหุ้นปรับลดลงไปประมาณ 20% ในปีนี้

2

สัญญาณอื่นๆที่บอกถึงภาวะ Recession

ในตลาด High-yield โดยปกติตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงยิ่งสูงก็มักจะให้อัตราผลตอบแทนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้แนวโน้มCredit spreads หรือส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ภาคเอกชนยิ่งเพิ่มขึ้นจากพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเป็นการสะท้อนความเสี่ยงจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่ดี ซึ่งภาวะ Recession นั้น Credit spreads ของตราสารหนี้อายุ 10 ปี เคยขึ้นไปสูงถึง 10% ขณะที่ปัจจุบันอยู่ที่ 6% เท่านั้น และในอดีตช่วงที่เศรษฐกิจถดถอยในปี 2012 และปี 2016 ส่วนต่างดังกล่าวอยู่ที่ 8%

TIPS curve หรือพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Treasury Inflation Protection Securities) ก็มักจะเกิดภาวะ Inverts ในช่วงที่เกิด Recession ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่เห็นสัญญาณดังกล่าว

3

นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจอย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ  (Purchasing Manager Indexes) และตัวเลขการว่างงานสหรัฐ (Unemployment) ก็เป็นการดูแนวโน้มเศรษฐกิจว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือยังได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันตัวเลขดังกล่าวมีทิศทางที่อ่อนแอแต่ก็ยังไม่ถึงขั้นระบุได้ว่าเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแล้ว

Earnings หรือการดูผลประกอบการของบริษัทต่างๆก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะตัวเลขในไตรมาส 2 ที่จะประกาศออกมาซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

Yield curve ที่เริ่มมีลักษณะ Flattening บ่งบอกถึงความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ซึ่งนักลงทุนมักจะต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นสำหรับพันธบัตรที่มีอายุครบกำหนดยาวๆเพื่อชดเชยความเสี่ยงในระยะยาวและส่งผลให้ราคาพันธบัตรนั้นปรับลดลง ซึ่งเราคงต้องติดตามดูว่าการแก้ปัญหาเงินเฟ้อของ FED จะได้ผลหรือไม่ รวมถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจหลังจากที่มีการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar