5 คำถามเกี่ยวกับการลงทุนอย่างยั่งยืน

บทความนี้จะให้คำตอบเกี่ยวกับการลงทุนอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่ของวัตถุประสงค์ รูปแบบ ไปจนถึงผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างยั่งยืน

Morningstar 04/07/2565
Facebook Twitter LinkedIn

จุดมุ่งหมายของการลงทุนอย่างยั่งยืนคืออะไร ทำไมนักลงทุนจึงควรนำเรื่องเหล่านี้มาพิจารณา

การลงทุนอย่างยั่งยืนนั้นเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่ปรับเรื่องความเสี่ยง และคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล เข้ามาสร้างมูลค่าให้แก่ผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายในระบบ มากกว่าการคำนึงถึงแต่ผู้ถือหุ้นเพียงฝ่ายเดียว โดยนักลงทุนจะนำ ESG มาใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนและเป็นการส่งสัญญาณถึงบริษัทต่างๆในการให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าวเช่นกัน รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าและลูกจ้างที่ต่างก็ให้ความสำคัญกับบริษัทที่คำนึงถึง ESG มากขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้สุดท้ายแล้วบริษัทต่างๆไม่อาจเพิกเฉยต่อประเด็นดังกล่าวและพยายามที่จะเป็นผู้นำในเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นเพื่อให้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในอนาคต

ความแตกต่างของการลงทุนแบบยั่งยืน

การนำเรื่องESG เข้ามาร่วมตัดสินใจลงทุนนั้น ในสถานะนักลงทุนสถาบันนอกจากเป็นการหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆและลดความเสี่ยงจากการลงทุนแล้ว ยังนับว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมโดยตรงในการส่งเสริมให้บริษัทต่างๆให้ความสำคัญต่อเรื่อง ESG ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์และการประชุมผู้ถือหุ้นกับบริษัท ขณะที่การลงทุนของนักลงทุนรายย่อยอาจเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนหรือบ่งบอกความเป็นตัวเรามากขึ้นจากการเลือกลงทุนในบริษัทที่เน้นเรื่องความยั่งยืนมากกว่าเรื่องของผลตอบแทน อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมในการเข้าถึงบริษัทเกี่ยวกับเรื่อง ESG นั้นอาจเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับรายย่อย

จริงๆแล้วการลงทุนอย่างยั่งยืนแบบ ESG (value-driven ESG investing ) นับว่ามีความเกี่ยวข้องกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (values-based investors) และด้วยมูลค่าเงินลงทุนมหาศาลจากนักลงทุนสถาบันที่เน้นเรื่อง ESG ย่อมส่งผลดึงดูดการลงทุนของนักลงทุนที่เน้นหุ้นคุณค่ามากขึ้นเช่นกัน การลงทุนของ Sustainable funds ส่วนใหญ่เป็นผสมระหว่าง value-driven และ values-based approaches และเลี่ยงการลงทุนในสินค้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับยาสูบ อาวุธ หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล

สำหรับผู้แนะนำการลงทุนทำอย่างไรให้ลูกค้าสนใจเรื่องการลงทุนอย่างยั่งยืน

ผู้แนะนำการลงทุนที่มีลูกค้าสนใจการลงทุนอย่างยั่งยืนนั้น อาจเริ่มจากทำความเข้าใจลูกค้าก่อนว่าอะไรคือเป้าหมายที่สำคัญของพวกเขาเพื่อหาการลงทุนที่เหมาะสมกับลูกค้า นอกจากนี้ควรอธิบายถึงหลักการลงทุนอย่างยั่งยืนแบบ ESG (value-driven ESG investing )ให้ลูกค้าได้เข้าใจ และแสดงถึงการมีส่วนร่วมของกองทุนในการส่งเสริมเรื่อง ESG กับบริษัทโดยตรง รวมถึงการกล่าวถึงประเด็น ESG ในการประชุมผู้ถือหุ้น

Greenwashing กับการลงทุนอย่างยั่งยืน

ผู้จัดการกองทุนหลายๆแห่งพยายามรวมเอาเรื่อง ESG เข้ามาใช้ในกลยุทธ์การลงทุนโดยรวม และเหมารวมว่าบริษัทจัดการกองทุนของตนได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวทั้งหมดแล้ว ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ว่าบริษัทจัดการกองทุนนั้นได้ใช้แนวทางการลงทุนแบบยั่งยืนได้ครบถ้วนเต็มรูปแบบแล้ว ทั้งที่ความจริงมีการใช้อยู่อย่างจำกัดเพียงไม่กี่กองทุน หรือบางกรณีอาจมีการใช้กลยุทธ์ Greenwashing เพื่อสื่อถึงการมีมาตรฐานการลงทุนแบบยั่งยืน ซึ่งในความเป็นจริงมาตรฐานความคิดและความหมายอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน ซึ่ง Sustainable funds ควรดูว่าบริษัทที่ลงทุนอยู่นั้นช่วยส่งเสริมหรือทำให้เกิดผลลัพธ์ในทาง ESG ที่เป็นบวกมากขึ้นต่อการลงทุนของกองหรือไม่ และการลงทุนนั้นช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนเรื่อง ESG ต่อบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร

ผลการดำเนินงานของ Sustainable funds

ในปีนี้กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจพลังงาน (traditional energy sources) มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างโดดเด่นกว่ากองทุนพลังงานทางเลือก (renewable energy) และดีกว่าภาพตลาดหุ้นโดยรวมอีกด้วย และ Sustainable funds ที่มีการลงทุนไม่มากในธุรกิจ Oil และ Gas ก็มีผลการดำเนินงานที่ไม่ดีไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาในอดีตผลการดำเนินงานของกลุ่มพลังงานทางเลือกก็มักจะดีกว่ากลุ่ม Oil และ Gas ทำให้ในระยะยาวเชื่อว่าการลงทุนของ Sustainable funds ก็ยังจะดีกว่าการลงทุนในกลุ่ม Oil และ Gas เช่นกัน นอกจากนี้ผลการดำเนินงานของกอง Sustainable funds ยังถูกถ่วงจากเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูงในปีนี้ซึ่งมักไม่ดีต่อหุ้นกลุ่มที่เป็น growth stocks โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยี ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้มักจะทำได้ดีในเรื่องของ ESG และทำให้ Sustainable funds มีสัดส่วนการลงทุนอยู่มากอีกเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ดีกลุ่ม Sustainable large-growth funds ก็มักจะมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากองชนิดอื่นในช่วงตลาดหมี ดังนั้นจงให้ความสำคัญต่อการลงทุนแบบยั่งยืนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวและให้คุณค่าต่อเรื่อง ESG เพราะเราเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วบริษัทที่ให้ความสำคัญต่อเรื่อง ESG จะเป็นบริษัทที่เหมาะสมที่สุดต่อสถานการณ์ในอนาคตจากนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมากแม้ว่าการกระจายการลงทุนจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแล้วก็ตาม แต่การลงทุนในบริษัทที่ดีมีความยั่งยืนย่อมทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นต่อการถือลงทุนในพอร์ตโฟลิโอต่อไปด้วยเช่นกัน

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar