เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75%

Fed ส่งสัญญาณการปรับดอกเบี้ยที่ hawkish มากขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสกัดและควบคุมเงินเฟ้ออย่างเร่งด่วน

Morningstar 17/06/2565
Facebook Twitter LinkedIn

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในรอบนี้เป็นการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งแสดงถึงการปรับแบบเชิงรุกมากขึ้นของธนาคารกลางสหรัฐฯ จากที่ก่อนหน้านี้ให้สัญญาณการปรับเพียง 0.5% จากการปรับล่าสุดสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วง 1.5%-1.75% จากที่ระดับ 0% ในช่วงต้นปี และจะไปที่ระดับ 3.75% ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า

 1

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีเพิ่มขึ้น 0.6% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในขณะที่พันธบัตร 10 ปีปรับขึ้น 0.4% ด้าน mortgage rate ระยะ 30 ปี ปรับขึ้นไปที่ระดับ 6% ทำให้ความสามารถในการซื้อบ้านได้รับผลกระทบอย่างมาก และจะส่งผลลบต่ออุปสงค์ตลาดที่อยู่อาศัย ส่งต่อไปยังกิจกรรมเกี่ยวกับภาคก่อสร้างในที่สุด โดยก่อนหน้านี้มอร์นิ่งสตาร์คาดว่ากลุ่มที่อยู่อาศัยจะหดตัวลง 10% ตั้งแต่ต้นปีหน้า แต่อาจเป็นไปได้ว่าจะหดตัวลงมากกว่าที่คาด ซึ่งการชะลอตัวของกลุ่มนี้จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐโดยรวม

2 

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นอาจไม่ได้เกิดอย่างเต็มรูปแบบ แต่คาด base case มี GDP ที่ชะลอตัวลง และความเสี่ยงภาวะ recession สูงขึ้น โดยคาด real GDP เติบโต 2.2% ในปี 2023 ในขณะที่ Fed คาด 1.7% ด้านตลาดแรงงานเข้าใกล้จุดฟื้นตัวเต็มที่ อัตราการว่างงานกลับไปสู่จุดก่อนเกิดโรคระบาด ในขณะที่อัตราการจ้างงานกำลังเพิ่มขึ้นมาจากที่อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานนั้นเริ่มฟื้นตัว โดยรวมเป็นการฟื้นตัวของภาคแรงงานที่ล่วงหน้าไปก่อนจะที่ Fed ต้องการควบคุมเงินเฟ้อ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะทำให้ตัวเลขภาคแรงงานแย่ลงได้ชั่วคราว

3 

การควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าจะแก้ปัญหา supply shocks ได้รวดเร็วเพียงใด ที่เป็นผลจากหลายด้านเช่น อุปทานน้ำมันจากรัสเซียและการขาดแคลน semiconductor ทั้งนี้หากอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะยาวเพิ่มขึ้นและคงอยู่ในระดับสูง จะสะท้อนมายังอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นจริง ทำให้ Fed จะต้องเร่งควบคุมเงินเฟ้อให้ลดลงให้ได้

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar