ทำไม Tesla ถึงมีความเสี่ยงด้าน ESG

การประเมิน ESG ratings นั้นนอกจากพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ยังเน้นไปที่เรื่องความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อบริษัทและมูลค่าของหุ้น

Morningstar 23/05/2565
Facebook Twitter LinkedIn

หลังจากที่ S&P ได้ปลด Tesla ออกจากดัชนี S&P 500 ESG Index อันเนื่องมาจากบริษัทมีปัญหาในการจัดการต่อกรณีที่ถูกไต่สวนในระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายราย รวมถึงปัญหาการเหยียดเชื้อชาติและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่โรงงานใน California ซึ่งที่ผ่านมาคะแนนทางด้าน ESG ของ Tesla นั้นค่อนข้างคงที่และมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกันที่มีคะแนน ESG ดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ Elon Musk ได้ตอบโต้ผ่านทวิตเตอร์ว่าสิ่งที่บริษัทพยายามทำอยู่นั้นเพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ดังนั้น เรื่องของ ESG Investing จึงเป็นเหมือนเรื่องหลอกลวง

ปัจจุบันราคาหุ้น Tesla มีราคาตลาดอยู่ที่ $709 ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่ Morningstar ให้ไว้ที่ $750 ต่อหุ้น สำหรับคะแนน ESG ที่ Morningstar จัดอันดับให้กับบริษัทอยู่ที่ระดับ Medium ESG Risk Rating เท่านั้น โดยมีความเสี่ยงเรื่อง Product governance และปัญหาด้านอื่นๆอีกด้วย

การที่ Tesla เป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลกก็ควรจะมีคะแนนด้านความยั่งยืนในระดับที่สูง แต่จริงๆแล้วการประเมิน ESG ratings ของ S&P นั้นยังเน้นไปที่เรื่องความเสี่ยงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อบริษัทและมูลค่าของหุ้นอีกด้วย

ความเสี่ยงด้านอื่นๆนอกเหนือจากเรื่องสิ่งแวดล้อม

ที่จริงแล้ว Tesla ควรมีความเสี่ยงที่ต่ำมากในด้านการปล่อย Carbon emissions รวมถึงกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องเมื่อเทียบกับบริษัทรถยนต์เครื่องสันดาปทั่วไป โดยในการประเมินโดย Sustainalytics พบว่า 89% ของรายได้บริษัท Tesla มีผลต่อเรื่อง Climate change และ Tesla ยังมีส่วนส่งเสริมต่อ United Nations Sustainable Development Goals (UNSDGs)  ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดว่าบริษัท Tesla เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม Tesla กลับมีประวัติที่ไม่ดีเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแรงงาน หลังจากที่โรงงานของบริษัทที่ California ถูกฟ้องร้องจากพนักงานจำนวนมากเกี่ยวกับการถูกเลือกปฏิบัติและการถูกเหยียดเชื้อชาติ

อีกหนึ่งปัญหาคือเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภคจากระบบขับเคลื่อนรถยนต์แบบ Self-driving cars  ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทได้ถูกไต่สวนโดย The U.S. National Highway Traffic Safety Administration ต่อข้อขัดข้องที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ขณะที่รถ Tesla ในจีนส่วนใหญ่ก็ถูกเรียกคืน นอกจากนี้ในอดีต Tesla ก็มีปัญหาเกี่ยวกับความโปร่งใสในการรายงานเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น

ดังนั้นแม้ว่าการที่ Tesla จะช่วยลดคาร์บอนในระบบได้ แต่บริษัทยังมีปัญหาในการจัดการด้านอื่นๆซึ่งส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัท เช่น เรื่องธรรมมาภิบาล ปัญหาแรงงานในองค์กร การจัดการเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนในตลาดการเงินให้ความสำคัญเช่นกัน

การให้ความสำคัญต่อเสียงของนักลงทุน

ที่ผ่านมา Tesla นั้นยังไม่ได้ถูกรวมอยู่ในดัชนีความยั่งยืนของ Morningstar เนื่องจากมีคะแนน ESG ค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ที่ผ่านมาบริษัทก็ยังไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลและให้ความสำคัญต่อนักลงทุนค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ดีปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาที่ดีขึ้นในด้านนี้หลังจากที่การประชุมผู้ถือหุ้นในปีที่ผ่านมามีเสียงเรียกร้องให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการจัดการและความเสมอภาคในองค์กร ส่งผลให้ในปีนี้บริษัทเริ่มมีการจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าวเพื่อเผยแผร่ให้กับนักลงทุนมากขึ้น

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar