ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนเมษายน ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์และลดลงอย่างมากจาก 1.2% ในเดือนมีนาคม โดย Core CPI (ไม่นับรวมสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน) จะอยู่ที่ 0.6% ขณะเดียวกันหากเทียบกับปีที่แล้วจะอยู่ที่ 8.3% ในเดือนเมษายน ลดลงจาก 8.5% ในเดือนมีนาคม
Preston Caldwell หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากมอร์นิ่งสตาร์เห็นว่า “อัตราเงินเฟ้อได้ชะลอลงในเดือนเมษายน แต่จะไม่กระทบกับแผนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเนื่องจากยังต้องรอดูอีกซักระยะเพื่อให้มั่นใจได้ว่าระดับเงินเฟ้อกลับไปสู่ระดับปกติแล้ว โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วแม้ว่าจะยังทำให้ระดับเงินเฟ้อรายปีอยู่ที่ 4% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของเฟด ทั้งนี้ core CPI ที่ขยับขึ้นสูง 0.6% ถือว่าค่อนข้างน่ากังวล”
ทำไมอัตราเงินเฟ้อถึงยังสูง
CPI ที่ปรับตัวขึ้นนั้นเป็นผลจากราคาค่าที่อยู่อาศัย อาหาร ค่าตั๋วเครื่องบิน และยานพาหนะ (มือหนึ่ง) ดัชนีราคาอาหารเพิ่มขึ้น 0.9% หรือขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ค่าตั๋วเครื่องบินที่สูงขึ้น 18.6% นับเป็นการปรับขึ้นรายเดือนสูงสุดนับตั้งแต่มีการรายงานดัชนี หรือตั้งแต่ปี 1963 ด้านดัชนีราคาพลังงานลดลงในเดือนเมษายนหลังจากปรับตัวขึ้นมาหลายเดือน โดยราคาน้ำมันลดลง 6.1% ซึ่งหักล้างไปกับก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม การสื่อสารและรถยนต์และรถบรรทุกมือสองปรับตัวลงจากเดือนมีนาคม
“หมวดยานพาหนะเป็นหนึ่งในหมวดหลักที่ดัน core CPI ให้สูงขึ้นในปีที่แล้วได้เพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนเมษายน ค่าโดยสารเครื่องบินที่พุ่งขึ้น 19% ส่งผลโดยรวมราว 0.1% ซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่สูงขึ้นและการค่าเชื้อเพลิงการบินที่สูงขึ้น”
ระดับเงินเฟ้อปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่
แม้ว่าตัวเลขเทียบกับเดือนก่อนจะต่ำลงแต่ระดับเงินเฟ้อในรอบปียังคงเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้วอย่างมาก คุณ Preston เห็นว่า “หากเปรียบเทียบโดยใช้ตัวเลข YoY จะพบว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอลงในอนาคตเนื่องจากเป็นการเปรียบเทียบกับช่วงที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นในช่วงปี 2021 ทำให้เรายังคงเน้นไปที่ตัวเลข MoM เพื่อให้เห็นภาพว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้อได้ลดลงแล้วหรือไม่”
หนึ่งในตัวเลขชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ถูกจับตามองมากที่สุดคือ Treasury Inflation-Protected Securities หรือ TIPS ซึ่งจะนำส่วนต่างระหว่าง treasury yield 5 ปี กับ TIPS yield 5 ปี หรือที่เรียกว่า breakeven rate มาใช้เป็นตัวแทนแสดงถึงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในช่วง 5 ปี โดยได้ลดลงมาที่ 2.92%
ขณะที่ค่า breakeven rate อาจลดความกังวลลงได้บ้าง ทางคุณ Preston กล่าวว่าหลังจากที่ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ถูกรวมไว้ใน CPI จะทำให้ TIPS สะท้อนตัวเลขแบบ forward-looking อย่างชัดเจน จากกราฟที่แสดงค่า five-year, five-year breakeven ซึ่งหมายถึงอัตราเงินเฟ้อที่คาดหวัง 6-10 ปีในอนาคต ลดลงมาเล็กน้อยเช่นกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือเป็นนัยว่าตลาดได้ให้ความสำคัญกับความมุ่งมั่นของเฟดที่จะลดอัตราเงินเฟ้อ
Fed fund futures แสดงความคาดหวังว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% ในเดือนมิถุนายนตามที่ประธานเฟดได้แถลงไว้ว่าเป็นแนวทางที่เป็นไปได้สูงว่าจะปรับขึ้นอีก 0.5% ในรอบการประชุมเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ทางคุณ Preston ได้เสริมว่าตัวเลขเงินเฟ้อที่รายงานน่าจะไม่ทำให้เฟดเปลี่ยนแนวทางการปรับดอกเบี้ยมากนัก และเรายังคาดการปรับที่ 0.5% ในการประชุมรอบหน้า ทั้งนี้ยังคงมีความจำเป็นที่จะเร่งปรับดอกเบี้ยเพื่อให้ระดับเงินเฟ้อเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม