มอร์นิ่งสตาร์ได้จัดทำรายงาน Morningstar Sustainability Atlas ซึ่งเป็นการศึกษาว่าตลาดทุนแต่ละประเทศมีความยั่งยืนมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นทั่วโลก โดยนำข้อมูล Morningstar Country Indexes มาเป็นตัวแทนของตลาดนั้น ซึ่งมีการนำ Index รวม 48 ประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 97% ของ global market capitalization
ทวีปยุโรปยังเป็นกลุ่มที่เป็นผู้นำด้านความยั่งยืน
ทวีปยุโรปยังเป็นกลุ่มที่เป็นผู้นำด้านความยั่งยืน โดยมีประเทศเนเธอร์แลนด์ได้คะแนนดีที่สุด จากหุ้นบริษัทเช่น Adyen, Prosus และ ASML Holding โดย ASML เป็นผู้นำด้าน ESG ในกลุ่มผู้ผลิต semiconductor โดยเฉพาะในด้านธรรมาภิบาลและบุคคลากร
สหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับที่ 16 ด้วยคะแนน 21.70 โดยมีบริษัทอย่าง Apple, Microsoft, Berkshire Hathaway และ Nvidia เป็นผู้นำด้านความยั่งยืน แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงเช่น Amazon, Meta, และ Exxon Mobil อันเกิดจากประเด็น controversies เช่นกรณี Meta ที่ถูกฟ้องร้องประเด็นด้านข้อมูลส่วนตัว แสดงถึงประเด็นด้านการจัดการความเสี่ยง ESG ของบริษัท
ฮ่องกงเป็นตลาดนอกยุโรปที่มีความยั่งยืนสูงสุดอันดับ 4 ด้วยคะแนน 19.03 โดยมี AIA Group ที่มีน้ำหนักสูงสุดใน benchmark มีความเสี่ยง ESG ที่ต่ำรวมทั้งมีการจัดการความเสี่ยงได้ดี ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเดิมหรือ Quintile ที่ 3 ด้วยคะแนน 25.67 ลดลงจากปีที่แล้วที่ 26.97
ประเทศจีนตกมาอยู่ในกลุ่ม Quintile 4 หรืออันดับ 39 ด้วยคะแนน 28.22 โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Alibaba เป็นส่วนประกอบของดัชนี โดยทั้งสองบริษัทมี ESG Risk Rating ระดับ Medium จากประเด็น controversies ของทั้งสองบริษัท โดยกรณี Tencent ถูกกล่าวหาว่ามีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้เพื่อประโยชน์ของรัฐบาลจีน หรือการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นในประเทศและต่างประเทศ และกรณี Alibaba ถูกปรับจากประเด็นการผูกขาดเป็นมูลค่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยทางการจีน
สวีเดนเป็นประเทศที่มี Carbon Intensity Score ต่ำสุด
Portfolio Carbon Metric ช่วยให้นักลงทุนทราบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงจาก climate change จากการลงทุน โดย Carbon Intensity Score เป็นการวัดว่าบริษัทต่าง ๆ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเพียงใดต่อรายได้ 1 ล้านดอลลาร์ แล้วนำค่านี้มาคำนวณเป็นคะแนนของแต่ละดัชนี โดยขึ้นอยู่กับน้ำหนักและคะแนนของแต่ละ holding
สวีเดน เปรู สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์เป็นตลาดที่มี Carbon Intensity Score ต่ำสุด ซึ่งเกิดจากบริษัทในดัชนีที่ประกอบด้วยธนาคาร สื่อสาร และอสังหาฯ มีสัดส่วนสูงในดัชนี ซึ่งบริษัทเหล่านี้มี carbon footprint ต่ำ
ประเทศจีนอยู่ในกลุ่ม quintile 4 โดยมี BYD, Yum China, China Petroleum & Chemical, China Shenhua Energy มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนอยู่ในระดับที่มีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม quintile 4 เช่นกัน โดยเกิดจากส่วนประกอบของดัชนีที่อยู่ในกลุ่มพลังงานม่า Carbon Intensity อยู่ในระดับสูง
แม้ว่าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดรองจากประเทศจีน แต่มีค่า Carbon Intensity อยู่ในอันดับ 15 ซึ่งมีสาเหตุจากส่วนประกอบของดัชนีอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี healthcare การเงิน เป็นหลัก
ยุโรปตะวันตกมีความเสี่ยงต่ำสุดจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่low-carbon economy
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจเป็นความเสี่ยงต่อโมเดลธุรกิจหรือสินทรัพย์ของบริษัทได้หากนโยบายหรือกฎหมายจากภาครัฐเป็นไปในทิศทางที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้ธุรกิจบางประเภทอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าประเภทอื่นเช่น พลังงานที่เกี่ยวข้องกับ fossil fuel รวมถึงสาธารณูปโภค หรืออุตสาหกรรมอื่น
Carbon risk score จึงถูกใช้ประเมินว่ามูลค่าของบริษัทมีความเสี่ยงเพียงใดจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่ low-carbon economy โดยบริษัทที่มี Low Carbon Risk rating หมายถึงบริษัทในกลุ่มความมั่นคงสูงสุดและมีการเติบโตได้ในช่วงที่ทั่วโลกมีการลดการใช้พลังงานฟอสซิล
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่มที่มี carbon risk ต่ำสุด ในขณะที่สหรัฐอยู่ในอันดับ 5 โดยมีเหตุผลเดียวกันกับ Carbon intensity ที่มีธุรกิจพลังงานเป็นสัดส่วนต่ำในดัชนี ในทางกลับกันประเทศปากีสถานซึ่งมีสัดส่วนกลุ่มพลังงาน สาธารณูปโภค และวัสดุพื้นฐานรวมกันถึง 60% ทำให้มี Carbon Risk Score สูงสุด