ขณะนี้หน้า “จัดการพอร์ตโฟลิโอ” อยู่ในระหว่างปรับปรุงและดำเนินการเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติอย่างเร่งด่วน ทางมอร์นิ่งสตาร์ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

สรุปภาพรวมกองทุนรวมไตรมาส 1-2022 (2)

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF RMF SSF) โดยรวมยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2021 เล็กน้อย กองทุนเพื่อการออมมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง 1% จากสิ้นปี 2021 มาอยู่ที่ระดับ 3.9 หมื่นกว่าล้านบาท 

Morningstar 18/04/2565
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF RMF SSF)

กองทุนหุ้นไทย (ไม่รวม LTF RMF SSF) โดยรวมยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2021 เล็กน้อย และยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากนัก เห็นได้จากเงินไหลออกสุทธิต่อเนื่องในไตรมาสล่าสุดมูลค่ารวม 3.9 พันล้านบาท โดยเป็นเงินไหลออกจากกองทุนหุ้นขนาดใหญ่เป็นหลัก ทั้งนี้ในไตรมาสล่าสุดมีกองทุนเปิดใหม่ 2 กองทุนคือกองทุน Bualuang Small Mid Equity จากบลจ.บัวหลวง และกองทุน KKP Thai Quality Growth Equity จากบลจ.เกียรตินาคินภัทรโดยล่าสุดมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 285 และ 53 ล้านบาทตามลำดับ

5

กองทุน SSF และกองทุน SSFX

กองทุนเพื่อการออมมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง 1% จากสิ้นปี 2021 มาอยู่ที่ระดับ 3.9 หมื่นล้านบาท โดยมีเหตุผลหลักจากผลตอบแทนกองทุนติดลบหลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นต่างประเทศ ขณะที่เม็ดเงินลงทุนในไตรมาสแรกไหลเข้าสุทธิ 1.3 พันล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ระดับ 9 ร้อยล้านบาท

6

5 อันดับกลุ่มกองทุน SSF - SSFX เรียงตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มีกลุ่ม Equity Large-Cap ยังคงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% จากสิ้นปี 2021 โดยเป็นกลุ่มที่มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงเป็นอันดับที่ 2 รวม 237 ล้านบาท และเป็นเพียงกลุ่มเดียวใน 5 อันดับแรกที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยเป็นบวกที่ 1.9%

กลุ่ม Global Equity มีผลตอบแทนเฉลี่ย 3 เดือนแรก -11.7% เป็นเหตุให้มีนักลงทุนส่วนหนึ่งทยอยลงทุนในกลุ่มนี้ ทำให้มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดของไตรมาสแรกที่ 366 ล้านบาท อย่างไรก็ดีเม็ดเงินไหลเข้านั้นยังไม่สามารถหักล้างกับผลตอบแทนติดลบ จึงทำให้กลุ่ม Global Equity มีมูลค่าทรัพย์สินหดตัวลงไปอยู่ที่ 9.3 พันล้านบาท

เช่นเดียวกันกับกองทุนหุ้นจีนที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง โดยอยู่ที่ 2.2 พันล้านบาท หรือลดลง 8.6% จากสิ้นปีที่แล้ว โดยผลตอบแทนเฉลี่ยไตรมาสแรกอยู่ที่ -17.2% แต่ยังคงเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมด้วยเงินไหลเข้าสุทธิอันดับ 3 รวม 193 ล้านบาท

7

กองทุน LTF และ RMF

กองทุน LTF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 3.5 แสนล้านบาท ลดลง 3.4% จากสิ้นปี 2021 มีมูลค่าเงินไหลออกสุทธิ รอบไตรมาสแรกรวม 1.6 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินไหลออกในเดือนมกราคม 8.4 พันล้านบาท เงินไหลออกที่เพิ่มขึ้นมีเหตุผลจากเงินลงทุนในปี 2016 (7 ปีปฏิทิน) ถึงกำหนดไถ่ถอนตามเงื่อนไข

8

กองทุน RMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 3.9 แสนล้านบาท ลดลง 1.7% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังสูงกว่าช่วงไตรมาสแรกของปีที่แล้วราว 11.8% โดยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ลดลงเป็นผลจากทั้งเม็ดเงินไหลออกสุทธิ 1.6 พันล้านบาท และผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงกองทุน RMF – Other ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่เฉลี่ยเป็นบวก 6.4% ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา

มูลค่าเงินไหลออกจากกองทุน RMF 1.6 พันล้านบาทในไตรมาสแรกนี้แบ่งเป็นเงินไหลออกจากกองทุนผสมในประเทศเป็นหลัก ซึ่งได้แก่กลุ่ม Aggressive Allocation และ Conservative Allocation รวมมูลค่า 1.3 พันล้านบาท ในขณะที่กลุ่มกองทุนตราสารทุนมีเงินไหลออกสุทธิ 110 ล้านบาท อันเกิดจากเงินเข้าลงทุนในกองทุนต่างประเทศช่วงตลาดปรับตัวลงและเงินไหลออกจากกองทุนหุ้นในประเทศที่มีการปรับตัวขึ้น

9

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar