เตรียมรับมือกับดอกเบี้ยขาขึ้น

อัตราเงินเฟ้อคงอยู่ระดับสูงทำให้เฟดมีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งต่อจากนี้

Morningstar 27/01/2565
Facebook Twitter LinkedIn

เฟดยังคงท่าทีที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งในปี 2022 โดยครั้งแรกอย่างเร็วจะเป็นช่วงเดือนมีนาคมนี้ ผลจากการประชุมถือว่าเป็นไปอย่างที่ตลาดคาด ซึ่งทำให้นักลงทุนเห็นแนวทางที่ชัดเจนขึ้นว่าเฟดจะมีแผนนโยบายการเงินในอนาคตอย่างไร จากที่ก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นและตราสารหนี้มีความผันผวนเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยโดยเฟด ที่ส่งผลให้บอนด์ยีลด์สูงขึ้นและตลาดหุ้นปรับตัวลง โดยเฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นแกว่งตัวอย่างมาก

ในการประชุม FOMC นัดแรกของปีนี้ยังคงไว้ที่ 0.0%-0.25% อย่างไรก็ดีตลาดมีความคาดหวังว่าคณะกรรรมการจะส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงการประชุมเดือนมีนาคม รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการลดขนาดงบดุล โดยทางเฟดได้เปิดเผยหลักการเบื้องต้นแต่ยังไม่มีรายละเอียดหรือกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดยกล่าวว่า “ในเร็วๆนี้จะเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย” ซึ่งเป็นไปได้ที่จะเริ่มในช่วงการประชุมรอบเดือนมีนาคม นอกจากนี้ยังมีการกล่าวเชิงยอมรับว่าอัตราเงินเฟ้อคงอยู่ระดับสูงกว่า 2% และตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งหมายความว่าเฟดมีความจำเป็นที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้งต่อจากนี้

1

2

คำถามต่อมาจะอยู่ที่ว่าจะมีการปรับขึ้นกี่ครั้งในปีนี้ ซึ่งเราคาดไว้ว่าจะมีการปรับ 3 ครั้งในปีนี้และอีก 3 ครั้งในปีหน้า อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่จะมีการปรับมากกว่าที่คาดการณ์ รวมทั้งเราคาดว่าบอนด์ยีลด์จะสูงขึ้นไปกับการปรับดอกเบี้ยและขนาดงบดุลของเฟดที่จะหดตัวลง หลังจากนั้นเฟดจะต้องเผชิญกับการลดมาตรการช่วยเหลือในขณะที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง โดยนักลงทุนควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจว่าจะตอบสนองอย่างไรกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

 timing

อีกประเด็นที่ได้รับความสนใจคือเฟดจะเริ่มมาตรการ quantitative tightening (QT) (มาตรการในการลดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจที่ให้ผลตรงข้ามกับ QE) เมื่อใด ซึ่งก่อนหน้านี้เฟดได้ประกาศการลดเข้าซื้อพันธบัตรให้น้อยลงกว่าช่วงก่อนหน้า โดยมาตรการ QT ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนอีกเช่นกัน แต่ได้เปิดเผยหลักการที่สำคัญคือจะเริ่มลดขนาดงบดุลหลังจากได้มีการเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว นั่นหมายความว่าอาจมีความชัดเจนมากขึ้นช่วงเดือนมีนาคม ทั้งนี้ขนาดงบดุลของเฟดล่าสุดอยู่ใกล้ระดับ 9 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับช่วงเริ่มเกิดโควิด-19 ที่ระดับ 4 ล้านล้านดอลลาร์

 4

จากการปรับตัวลงของตลาดที่ค่อนข้างรวดเร็วในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนต่างประเทศหลายกลุ่มปีนี้ติดลบมากกว่า 10% ตั้งแต่ต้นปี เช่นกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี กลุ่ม Health Care กลุ่มหุ้นสหรัฐ หรือกลุ่มหุ้นทั่วโลก โดยกลุ่มเทคโนโลยีมีผลตอบแทนเฉลี่ย -16.6% (สะสมตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 25 มกราคม 2022) เทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งปี 2021 ที่ 8.9%

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar