การลงทุนอย่างยั่งยืนในประเทศไทยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 6.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.7% จากไตรมาสที่ 3 และเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจากปี 2020 โดยกองทุนส่วนใหญ่ได้ Morningstar Sustainability Rating ระดับ Average ขึ้นไป
ในช่วงไตรมาสสุดท้ายมีกองทุนเปิดใหม่จำนวน 12 กองทุน เช่น We Global Water ลงทุนไปยังกองทุน BNP Paribas Aqua I ที่ได้ Morningstar Sustainability Rating ระดับ Average หรือ 3 globes กองทุน SCB Japan Equity เป็นกองทุนเปิดใหม่ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการลงทุนไปยังกองทุน Goldman Sachs Japan Equity Partners ซึ่งมีการระบุในนโยบายว่ามีการนำประเด็นด้าน ESG มาใช้ร่วมกับประเด็นอื่นในการคัดเลือกการลงทุน และล่าสุดมี Morningstar Rating ระดับ 5 ดาว และ Morningstar Sustainability Rating ระดับ Above Average หรือ 4 globes กองทุน Krungsri Global Millennials Equity A มีการลงทุนกับ Goldman Sachs เช่นกัน โดยลงทุนไปยัง Goldman Sachs Global Millennials Equity Portfolio ที่มีการลงทุนเกี่ยวกับการบริโภคของประชากรกลุ่ม Millennials และใช้ปัจจัย ESG มาร่วมในการพิจารณา โดยกองทุนนี้ Morningstar Rating ระดับ 5 ดาว และ Morningstar Sustainability Rating ระดับ Average หรือ 3 globes นอกจาก 3 กองทุนนี้จะเป็นกองทุนที่เปิดเพิ่มชนิดหน่วยลงทุนที่มีอยู่เดิม หรือกองทุน SSF RMF เพื่อขายในช่วงท้ายของปีที่มีการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี
การปรับวิธีการประเมิน Morningstar Sustainability Rating ที่มีการนำข้อมูล Country Risk Rating มาเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณ Rating ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้มีกองทุนจำนวนหนึ่งที่มีการลงทุนในตราสารภาครัฐเข้าเกณฑ์การคำนวณเรตติ้งในวิธีที่ใหม่นี้ โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มในส่วนของกองทุนผสมหรือกองทุนตราสารหนี้ กลุ่มกองทุนผสมจากเดิมที่มีกองทุนได้ globe rating 126 กองทุน เพิ่มเป็น 219 กองทุน ด้านกองทุนตราสารหนี้จากเดิมมีจำนวน 11 กองทุน ล่าสุดเพิ่มขึ้นเป็น 93 กองทุน โดยรวมมีกองทุนรวมไทยได้รับการคำนวณ Morningstar Sustainability Rating ราว 2 ใน 3* ของจำนวนกองทุนรวมไทยทั้งหมด จากเดิมที่สัดส่วนราวครึ่งหนึ่ง (*นับรวมทั้งการลงทุนอย่างยั่งยืนและกองทุนที่เข้าเกณฑ์คำนวณแม้จะไม่ได้กำหนดนโยบายว่าเป็นกองทุนยั่งยืน)