สรุปภาพรวมกองทุนรวมไตรมาส 4-2021

กองทุนรวมไทย (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 4.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7% จากสิ้นปี 2020 ในไตรมาสสุดท้ายมีเงินไหลเข้าสุทธิ 7.2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งปีเป็นเงินไหลเข้าสุทธิ 2.0 แสนล้านบาท

Morningstar 18/01/2565
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนรวมไทย (เฉพาะกองทุนเปิด ไม่รวมกองทุนปิด, ETF, REIT, Infrastructure fund) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 4.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7% จากสิ้นปี 2020 ในไตรมาสสุดท้ายมีเงินไหลเข้าสุทธิ 7.2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งปีเป็นเงินไหลเข้าสุทธิ 2.0 แสนล้านบาท

กองทุนรวมตราสารทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.4% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 26.7% จากสิ้นปี 2020 โดยเกิดจากเงินไหลเข้าสุทธิไตรมาสล่าสุด 6.2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งปีสูงถึง 2.6 แสนล้านบาท ทำให้กองทุนรวมตราสารทุนเป็นประเภทที่มีมูลค่าทรัพย์สินรวมสูงสุดคิดเป็นสัดส่วน 38% ของอุตสาหกรรม แทนกองทุนตราสารหนี้ที่เป็นกลุ่มหลักของอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน

1

ในรอบปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงที่ไม่ดีนักสำหรับกองทุนตราสารหนี้ หลายกลุ่มกองทุนมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่ำสุดในรอบหลายปีจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไปจากในอดีต จึงทำให้กองทุนตราสารหนี้มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 1.6 ล้านล้านบาท หดตัวจากทั้งไตรมาสที่ 3 ที่ -1.1% และ แต่ยังสูงกว่าปี 2020 ราว 3.0% คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 37% ในรอบไตรมาสล่าสุดมีเงินไหลออกสุทธิ 1.0 หมื่นล้านบาท แต่รวมทั้งปียังคงเป็นทิศทางเงินไหลเข้าสุทธิ 4.4 หมื่นล้านบาท

หลังจากมีเงินไหลออกสุทธิต่อเนื่อง 5 ไตรมาส กองทุน Money Market กลับมามีทิศทางเป็นเงินไหลเข้าสุทธิ 1.7 หมื่นล้านบาทในไตรมาสที่ผ่านมา รวมรอบปี 2021 เป็นเงินไหลออก 1.1 แสนล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 6.5 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 15.4% ของอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทย

2

กองทุนกลุ่ม Commodities มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 3.1 หมื่นล้านบาท มีเงินไหลเข้าสุทธิหลักร้อยล้านบาทในไตรมาสล่าสุด โดยกองทุนทองคำและน้ำมันมีผลการดำเนินงานในทิศทางตรงกันข้ามคือ กองทุนน้ำมันมีผลตอบแทนเฉลี่ยสูงสุดในรอบปี ขณะที่กองทุนทองคำมีผลตอบแทนเฉลี่ยติดลบมากที่สุดเป็นอันดับ 6 อย่างไรก็ดีในรอบปีทั้งกองทุน 2 กลุ่มกองทุนต่างมีเงินไหลออกสุทธิในระดับใกล้เคียงกัน รวมกันเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4.7 พันล้านบาท

10 อันดับกลุ่มกองทุนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงสุดตาม Morningstar Category

กองทุน Money Market เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงสุดที่ 6.5 แสนล้านบาท ลดลง 13.9% จากปี 2020 จากทั้งปีเงินไหลออกสุทธิระดับ 1 แสนล้านบาท กลุ่มกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ Equity Large-Cap มีมูลค่าทรัพย์สินเป็นอันดับ 2 ที่ 6.4 แสนล้านบาท โดยมีเงินไหลออกสุทธิ 700 กว่าล้านบาทในไตรมาสสุดท้าย รวมทั้งปียังคงติดอันดับกลุ่มที่มีเงินไหลออกสุทธิมากที่สุดอันดับ 2 รวม 3.2 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันกองทุนหุ้น Equity Small/Mid-Cap ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยสะสมสูงถึง 27.4% ในปีนี้ก็มีเงินไหลออกเกือบทั้งปีเช่นกัน โดยมีเงินไหลออกสุทธิไตรมาสสุดท้าย 515 ล้านบาท สะสมทั้งปีไหลออกสุทธิสูงเป็นอันดับ 6 รวม 4.8 พันล้านบาท

กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงเป็นตัวเลือกหลักสำหรับกองทุนตราสารหนี้ในประเทศ โดยมีเงินไหลเข้าสุทธิต่อเนื่องอีก 2.9 พันล้านบาท รวมทั้งปีมีเงินไหลเข้าสูงเป็นอันดับ 3 ของอุตสาหกรรมที่เกือบ 5 หมื่นล้านบาท มีมูลค่าทรัพย์สินอันดับ 3 รวม 5.7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.1% แต่ค่อนข้างทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว Mid/Long Term Bond มีเงินไหลออกสุทธิ 2.0 พันล้านบาทในไตรมาสสุดท้าย รวมทั้งปีเป็นเงินไหลเข้าสุทธิ 1.1 หมื่นล้านบาท มูลค่าทรัพย์สินลดลงจากไตรมาสที่ 3 เล็กน้อย แต่ยังเติบโต 5.4% จากปี 2020

3

กองทุนตราสารทุนต่างประเทศหลายกลุ่มยังคงมีเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง นำโดยกลุ่ม Global Equity ที่มีเงินไหลเข้าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ตลอดทั้งปี ทำให้มูลค่าทรัพย์สินโด 92.0% จากปี 2020 ด้านกองทุนหุ้นจีนที่แม้จะมีข่าวเชิงลบทำให้เงินไหลเข้าชะลอตัวในบางช่วง แต่โดยรวมยังเป็นเงินไหลเข้าทั้งปีเช่นกัน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 1.7 แสนล้านบาท เติบโต 45.8% จากปี 2020

ความนิยมการลงทุนต่างประเทศทำให้มูลค่าการลงทุนกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 7.9 แสนล้านบาท สูงกว่าตราสารทุนไทยที่ 7.4 แสนล้านบาท โดยการลงทุนต่างประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงปลายปี 2020 และชะลอลงในช่วงกลางปี 2021 ในขณะที่กองทุนตราสารทุนไทยค่อนข้างทรงตัวและหรือหดตัวลงในบางช่วง

4

5

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar