กองทุน SSF แตะระดับ 3 หมื่นล้านบาท

มูลค่าทรัพย์สินกองทุน SSF เพิ่มขึ้นไปที่ 3.0 หมื่นล้านบาท จากเงินไหลเข้า 11 เดือนกว่า 6 พันล้านบาท โดยมีเงินไหลเข้ากองทุนต่างประเทศมากกว่าการลงทุนในประเทศ

Morningstar 02/12/2564
Facebook Twitter LinkedIn

มูลค่าทรัพย์สินกองทุน SSF อยู่ที่ 3.0 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% จากไตรมาสที่ 3 และมากกว่าสิ้นปี 2020 อยู่ 36.0% ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าสุทธิสะสม 6.6 พันล้านบาท หากมองย้อนไปในปีที่แล้วที่มีเงินไหลเข้าสะสมราว 1.0 หมื่นล้านบาท (เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2020) จะพบว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ปีนี้จะมีเงินไหลเข้ารวมปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากยังเหลือเวลาในเดือนธันวาคมปีนี้ซึ่งมักจะเป็นเดือนที่มีเม็ดเงินไหลเข้ากองทุนประหยัดภาษีสูงสุด โดยในเดือนธันวาคมปีที่แล้วมีเงินไหลเข้ารวม 8.4 พันล้านบาท

flow

กลุ่ม Global Equity เป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าสุทธิ 2.4 พันล้านบาท ทำให้กองทุนกลุ่มนี้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 7.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากสิ้นปี 2020 นอกจากนี้ยังมีกลุ่มกองทุนต่างประเทศกลุ่มอื่นที่มีการเติบโตสูงด้วยเช่น กองทุนหุ้นจีน กองทุนหุ้นสหรัฐ กองทุนหุ้นเทคโนโลยีซึ่งมีการเติบโตถึง 100%-200% จากสิ้นปีที่แล้ว ทำให้ภาพรวมการลงทุน SSF มีการลงทุนต่างประเทศที่สูงขึ้น ขณะที่กองทุนกลุ่ม Equity Large-Cap มีเงินไหลเข้า 1.3 พันล้านบาท หรือราวครึ่งหนึ่งของกลุ่ม Global Equity แต่โดยรวมยังเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวมสูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของกองทุน SSF

dom forei

กองทุน K Positive Change ยังเป็นกองทุน SSF ขนาดใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 2.9 พันล้านบาท ในช่วงที่ผ่านมามีผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีจากการลงทุนกลุ่มหลักอย่าง Healthcare และ Technology ซึ่งรวมกันเป็นสัดส่วนราวครึ่งหนึ่งของพอร์ต แม้ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมากลุ่ม Healthcare จะมีผลตอบแทนติดลบ แต่ยังถือว่าเป็น sector ที่สร้างผลตอบแทนให้กองทุนนี้ได้สูงสุดราว 9% สำหรับรอบ 11 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยหุ้นเช่น Moderna, DexCom เป็นต้น

กองทุน SSF เปิดใหม่

กองทุน SSF เปิดใหม่ในปีนี้มีจำนวนรวม 50 กองทุน โดยส่วนใหญ่เป็นการเปิดขายกองทุนในช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นมา รวมจำนวน 42 กองทุน และมักเป็นการลงทุนหุ้นต่างประเทศตามเทรนด์การลงทุนในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ นำโดยกองทุนหุ้นจีนที่มีไหลเข้าสูงสุด (เฉพาะกลุ่มกองทุนเปิดใหม่) รวมกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมูลค่าเงินไหลเข้ากองทุน K China Equity-SSF จากบลจ.กสิกรไทย และ Bualuang China Equity SSF จาก บลจ.บัวหลวง

5 อันดับผลตอบแทนกองทุน SSF

ในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมากองทุน KKP Semiconductor - Hedged SSF (KKP SEMICON-H-SSF) จาก บลจ.เกียรตินาคินภัทร มีผลตอบแทนสูงสุด ที่ 14.1% ตามมาด้วยกองทุนหุ้นจีน Krungsri China A Shares Equity SSF (KFACHINSSF) จาก บลจ.กรุงศรีที่ 5.6%

3M

กองทุน Asset Plus Small and Mid Cap Eq SSF-SSF (ASP-SME-SSF) จาก บลจ. Asset Plus เป็นกองทุนที่มีผลตอบแทนสูงสุดรอบ 1 ปีที่ 39.2% ตามมาด้วยกองทุน TISCO Mid/Small Cap Equity SSF (TISCOMS-SSF) จากบลจ.ทิสโก้ ที่ 32.4% ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นปีที่กองทุนหุ้นไทยขนาดกลาง-เล็กสร้างผลตอบแทนได้โดดเด่นอย่างมาก

1Y

กองทุน SSF เป็นการลงทุนระยะยาวจึงควรมีการวางแผนอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนของประเภทกองทุน ทรัพย์สินที่ลงทุน มูลค่าเงินลงทุนที่เหมาะสมตามช่วงอายุของผู้ลงทุนเอง และควรพิจารณาค่าธรรมเนียมกองทุนประกอบด้วยเนื่องจากค่าธรรมเนียมถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญโดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาว

นักลงทุนสามารถดูข้อมูลกองทุน SSF เพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3le1pDX

Facebook Twitter LinkedIn

Securities Mentioned in Article

Security NamePriceChange (%)Morningstar Rating
DexCom Inc86.32 USD2.30Rating
Moderna Inc35.89 USD5.37Rating

About Author

Morningstar