สรุปข้อมูลกองทุนกลุ่ม Asia Pacific ex-Japan

กองทุนกลุ่ม Asia Pacific ex-Japan เป็นกองทุนหุ้นที่อาจไม่ค่อยมีคนพูดถึงบ่อยนัก วันนี้เราจะมาข้อมูลโดยสรุปว่ากองทุนกลุ่มนี้มีการลงทุนอะไร และผลตอบแทนที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง

Morningstar 11/11/2564
Facebook Twitter LinkedIn

มูลค่าทรัพย์สินเติบโต 38% จากปีที่แล้ว

กองทุนหุ้นเอเชีย (Asia Pacific ex-Japan Equity) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 3.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2020 ราว 38% มีเงินไหลเข้าสุทธิ 10 เดือนรวม 1.1 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นเงินไหลเข้าตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก ที่มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท และมีเงินไหลออกหรือเข้าสุทธิในหลักร้อยล้านตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา

ใน 5 อันดับแรกของกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มมีมูลค่าทรัพย์สินรวมกัน 2.16 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 62% ของมูลค่ากองทุนในกลุ่มนี้ ซึ่งประกอบด้วยกองทุนจาก บลจ. 5 แห่งดังนี้

biggest 5

กองทุนกลุ่มนี้ลงทุนอะไร

ปัจจุบันกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้คือ TMB Eastspring Asia Active Equity ที่มูลค่าราว 6 พันล้านบาท มีการลงทุนไปที่กองทุนหลักคือ Schroder ISF Emerging Asia ชนิดหน่วยลงทุน A Acc USD ที่มีการลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยี การเงิน เกินครึ่งของพอร์ต ตัวอย่างหุ้นที่ลงทุนได้แก่ Taiwan Semiconductor, Samsung Alibaba, Tencent และ LG Chem เป็นต้น

กองทุนใน 5 อันดับแรกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มมีการลงทุนที่ค่อนข้างคล้ายกัน โดยมักจะมีการลงทุนในเทคโนโลยี การเงิน และการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ยกเว้นกองทุน K Asia Controlled Volatility ที่มีสัดส่วนในหุ้นเทคโนโลยีต่ำกว่ากองทุนอื่น และลงทุนใน Consumer Defensive ที่สูงสุดใน 5 อันดับกองทุนขนาดใหญ่ของกลุ่ม

sector

ผลกระทบจากหุ้นจีนในปีนี้

ในส่วนของประเทศที่ลงทุน กองทุนกลุ่มนี้มีการลงทุนในจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และอินเดียเป็นสัดส่วนหลัก และจะมีการลงทุนในหุ้นจีนสูงสุดโดยเฉลี่ยราว 1 ใน 3 ทำให้กองทุนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากข่าวหุ้นจีนไปด้วยซึ่งขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุนของแต่ละกองทุน หากกองทุนมีสัดส่วนหุ้นจีนที่สูงก็จะทำให้มีผลตอบแทนติดลบมากตามไปด้วย จากภาพด้านล่างเป็นการแสดงผลตอบแทนของกองทุนในกลุ่ม Asia Pacific ex-Japan โดยแท่งซ้ายสุดเป็นผลตอบแทนรอบเดือนกรกฎาคมที่ทุกกองทุนมีผลตอบแทนติดลบหรือเฉลี่ยที่ -4.8%

return

อย่างไรก็ดีผลจากหุ้นจีนยังเป็นภาพระยะสั้นที่ส่งผลลบได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากมองในภาพที่ยาวกว่าจะพบว่ายังมีผลตอบแทนที่น่าพอใจ เช่นในรอบ 5 ปีมีผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 8.2% ต่อปี อันเป็นผลจากกองทุนกลุ่มนี้เป็นการลงทุนกระจายในหลายประเทศทำให้ได้รับความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกองทุนที่เน้นลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนควรพิจารณาก่อนการลงทุนในกองทุนกลุ่มนี้

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar