We are currently investigating intermittent issues affecting access to some articles and pages on our site. We apologize for any inconvenience and are working to resolve this as quickly as possible.

7 ภาพกับข่าว Fed ลดวงเงิน QE

อัตราเงินเฟ้อสูงอาจเกิดขึ้นชั่วคราว แต่ปัจจัยจากภาคแรงงานยังเป็นส่วนสำคัญต่อการขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต

Morningstar 04/11/2564
Facebook Twitter LinkedIn

จากการประชุมล่าสุดที่ทาง Fed ได้กล่าวว่ายังคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม 0.0%-0.25% นั้นยังเป็นไปตามคาด โดยตลาดให้ความสนใจไปที่การ tapering หรือลดการเข้าซื้อพันธบัตรที่มีมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการระบาดโควิด-19 ที่เป็นการอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อเป็นการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเอาไว้

โดยการประกาศ tapering นี้โดยรวมเป็นไปตามคาด จากวงเงินซื้อสินทรัพย์เดือนละ 1.2 แสนล้านดอลลาร์จะทยอยลดวงเงินเดือนละ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์และสามารถปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งจะทำให้เป็นการสิ้นสุดที่ราวเดือนมิถุนายนปีหน้า

plan

ในรอบนี้มีถ้อยคำที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อย โดยมีการกล่าวถึงอัตราเงินเฟ้อระดับสูงที่ “คาดว่า” จะเป็นการชั่วคราว แสดงให้เห็นว่าทางเฟดรับรู้ถึงอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงนี้อาจยาวกว่าที่ Fed คาดไว้และยังไม่สามารถคาดได้แน่นอนว่าปัญหาด้านอุปทานนั้นจะจบลงเมื่อใด ทางมอร์นิ่งสตาร์เห็นว่าปัจจัยด้านแรงงานยังคงมีส่วนสำคัญต่อจังหวะการขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งคาดว่าอาจใช้เวลาหลายปีจึงจะทำให้ตลาดแรงงานกลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยไปก่อนจะเกิดภาวะการจ้างงานเต็มที่ได้

rate

ความคาดหวังของตลาดเริ่มไป hawkish มากขึ้น โดยคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยนั้นจะมาเร็วขึ้นและบ่อยขึ้นที่อย่างน้อย 1 ครั้งภายในกลางปีหน้า และเป็น 2 ครั้งภายในสิ้นปี หลังจากนั้นคาดถึง 3 ครั้งภายในช่วงต้นปี 2023 จากข้อมูลทางเศรษฐกิจแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังสูงขึ้น แต่ทางมอร์นิ่งสตาร์มองว่าทาง Fed จะยังคงเลี่ยงที่จะกระทำการใดที่เกิดผลรุนแรงเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่อาจอยู่ที่ระดับสูงกว่า 2% เล็กน้อยในอีก 2 ปีข้างหน้า

prob

จากที่ทาง Fed คาดว่าอัตราเงินเฟ้อสูงจะเป็นการชั่วคราว ทำให้ Preston Caldwell หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจของมอร์นิ่งสตาร์มองว่าทาง Fed จะยังคงเลี่ยงการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด ซึ่งทางมอร์นิ่งสตาร์เองเห็นด้วยในมุมมองของเฟด หากมองย้อนไปตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด Consumer Price Index (CPI) เพิ่มขึ้นสะสม 6% ซึ่งสูงกว่าที่ทางมอร์นิ่งสตาร์คาดไว้ก่อนหน้าราว 2.8% จากภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าส่วนของ 2.8% ที่สูงกว่านั้นมาจากภาคยานยนต์และอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลน semiconductor ซึ่งอาจจะคลี่คลายได้เมื่อเวลาผ่านไป และลดอัตราเงินเฟ้อลงได้โดย Fed ไม่ต้องกระทำการใด ทั้งนี้มอร์นิ่งสตาร์มองว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่เฟดคาดไว้เมื่อเดือนกันยายน โดย PCE Inflation ที่ 2.2% ในอีก 2 ปีข้างหน้าที่ถือเป็นระดับที่ไม่เป็นการบังคับให้ทาง Fed ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย

inflation

cpi

นอกจากนี้คุณ Preston ให้ความสำคัญไปที่ตลาดแรงงาน ซึ่งไม่ใช่เพียงเพราะว่าเป็นเป้าหมายของ Fed ที่ต้องการให้มีการจ้างงานที่สูง แต่เนื่องจากค่าแรงที่สูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากปัญหาการขาดแรงงานซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อคงอยู่ระดับสูงและอาจยาวนานขึ้น อย่างไรก็ดีปัญหาภาคแรงงานยังคงคาดเดาได้ยาก จึงทำให้ Fed คงความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายในปีหน้า ทั้งนี้เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาการจ้างงานยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดอยู่ 3%

empl

ทางด้านตลาดหุ้นมีการตอบรับในเชิงบวกโดย Morningstar U.S. Market Index ปรับขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นครั้งที่ 2 ของสัปดาห์

days

โดยสรุปแล้วถือว่าทาง Fed สามารถสื่อสารกับตลาดได้อย่างดีโดยไม่มี surprise อย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2013 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มเลิกนโยบายผ่อนคลายทางการเงินหลังจากเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในปี 2008 ในทางตรงข้ามที่ครั้งนี้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นสูงหลังจากการกล่าวของธนาคารกลาง

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar