ESG ไม่ใช่เรื่องของ “ดี” หรือ “ไม่ดี”
อาจมีเสียงวิจารณ์ (โดยเฉพาะในต่างประเทศ) ว่า การลงทุนอย่างยั่งยืนนั้นคือการแยกบริษัทหรือองค์กรออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือบริษัทที่ “ดี” ในขณะที่อีกกลุ่มนั้นเป็นบริษัทที่ “ไม่ดี” โดยเราจะลงทุนในบริษัทที่ดีและเลี่ยงบริษัทที่ไม่ดี และเมื่อผู้ลงทุนพากันลงทุนในสิ่งที่คิดว่าดี ก็ย่อมส่งผลต่อต้นทุนของเงินทุนบริษัทให้ต่ำลง ซึ่งถือเป็นผลดีต่อบริษัทแต่เป็นผลเสียต่อผู้ลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนที่ต้องการก็จะต่ำตามลงไปด้วย ในทางกลับกันต้นทุนของเงินทุนของบริษัทที่ไม่ดีจะสูงขึ้นแต่ดีต่อผู้ลงทุนเพราะผลตอบแทนที่ต้องการจะสูงขึ้น
นั่นหมายความว่าบริษัทที่ไม่ดีจะมีราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า ซึ่งไม่ได้เป็นผลจากการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด แต่เกิดจากผู้ลงทุนเลือกที่จะหลีกเลี่ยงบริษัทเหล่านั้น ในทางตรงข้ามบริษัทที่ถูกมองว่าดีจะมีราคาที่เกินมูลค่าเพียงเพราะตลาดพากันเข้าลงทุนและดันราคาให้สูงขึ้น
แล้ว ESG เป็นอย่างไร
จากเนื้อหาข้างต้น อาจมีความเห็นที่ตามมาคือ “ถ้าอย่างนั้นผู้ลงทุนเกี่ยวกับ ESG ก็จะต้อง underperform เมื่อเทียบกับการลงทุนแบบไม่คำนึงถึง ESG และเป็นการลงทุนที่ไม่เพียงต้องยอมได้ผลตอบแทนน้อยลงแลกกับการลงทุนอย่างมีจริยธรรม แต่ยังทำให้ผู้ลงทุนอื่นที่พร้อมจะลงทุนในบริษัทที่ไม่ดีได้ประโยชน์อีก”
ดูแล้วเหมือนจะเป็นทฤษฎีที่ดีแต่ไม่ได้สะท้อนภาพจริงของการลงทุน ESG เท่าใดนัก คำวิจารณ์เหล่านี้มักจะคิดว่า ESG เป็นการตัดการลงทุนบางธุรกิจ แทนที่จะมองว่าเป็นการลงทุนในบริษัทที่มีความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการพิจารณาประเด็นด้าน ESG ที่ธุรกิจกำลังเผชิญเพื่อนำไปปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน
ESG rating ต่างกันได้ เช่นเดียวกับมุมมองนักวิเคราะห์ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน
นอกจานี้คำวิจารณ์อาจมาในรูปแบบของการโจมตี ESG rating ว่าไม่ได้มีความขัดแย้งไม่สอดคล้องกัน ซึ่งการประเมิน ESG rating นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่นำมาใช้ประเมินที่เป็นในเชิงคุณภาพ และทำให้เข้าใจแต่ละบริษัทในแง่มุมที่สมบูรณ์มากขึ้น การที่ ESG rating แต่ละผู้ประเมินไม่ตรงกันก็คล้ายกับรายงานของนักวิเคราะห์ที่มีต่อบริษัท ซึ่งนักวิเคราะห์แต่ละคนก็มีมุมมองที่ต่างกันได้เช่นกัน
การพิจารณาผลการดำเนินงานกองทุน ESG จึงควรมองในภาพทั้งพอร์ตการลงทุนมากกว่า ซึ่งพอร์ตกองทุน ESG นั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้จัดการกองทุน ซึ่งก็เป็นความเหมือนของกองทุน ESG เมื่อเทียบกับกองทุนทั่ว ๆ ไป
การลงทุนอย่างยั่งยืนยังเป็นการส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ ให้ความสำคัญและตระหนักถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น ไม่ใช่เพียงการเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการย้ำถึงความสำคัญของผลกระทบที่องค์กรมีต่อส่วนรวมที่ย่อมส่งผลกระทบต่อองค์กรในระยะยาวเช่นกัน สำหรับผู้ลงทุนกองทุนรวมนั้น การลงทุนในกองทุน ESG นั้นก็เหมือนเวลาเราเลือกกองทุนทั่ว ๆ ไป เพียงแต่บางกองทุนนั้นสร้างผลกระทบเชิงบวกในแง่ของความยั่งยืนเป็นส่วนเสริมนอกจากการสร้างผลตอบแทนที่ดี