สอนลูกอย่างไรเรื่องการลงทุน

หากพูดเรื่องการบริหารจัดการเงินทองอาจเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะเมื่อต้องสอนให้เด็กน้อยเริ่มเรียนรู้เรื่องดังกล่าว เพราะคุณอาจรู้สึกกดดันว่าจะเริ่มอย่างไรดี ลองมาดูเทคนิคที่นำมาแนะนำให้ดูกันว่าเราจะทำได้อย่างไร

Morningstar 09/08/2564
Facebook Twitter LinkedIn

เทคนิคที่ 1 : เริ่มสอนเรื่องการเงินให้ลูกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

เนื่องจากการบริหารจัดการเงินทองถือว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งโดยทั่วไปคนส่วนใหญ่อาจไม่ได้สอนเรื่องนี้ให้แก่เด็ก ๆ และปล่อยให้เด็กได้เรียนรู้เองจากประสบการณ์ซึ่งอาจนำไปสู่แนวทางที่ไม่ถูกต้องได้

การเริ่มต้นที่ดีคือ เริ่มจากแนวคิดพื้นฐานก่อน  เช่น หากจะสอนให้เด็กรู้จักการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบทบต้นทบดอกนั้นอาจเป็นเรื่องยากเกินไป แต่ถ้าสอนกฎของตัวเลข 72 (The Rule of 72) ก็จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายกว่า ซึ่ง กฎของตัวเลข 72 เป็นสูตรคำนวณอย่างง่ายเพื่อประมาณการคร่าว ๆ ว่าจะต้องใช้เวลานานกี่ปีในการลงทุน เพื่อให้ลงทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะได้รับแล้วจะทำให้เงินต้นเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และในทางกลับกันว่าเงินต้นจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งภายในกี่ปี หากถูกกระทบด้วยอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

72

เทคนิคที่ 2 : ทำให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ซับซ้อน และทำบ่อย ๆ

อย่างเช่น หากจะสอนลูกเรื่องกฎของตัวเลข 72 ก็คงไม่ใช่ว่าสอนแค่ครั้งเดียวแล้วจะเข้าใจได้ อาจเริ่มจากสอนตอนลูกอายุ 8 ปี และสอนอีกทีตอนอายุ 10 และ 15 ปี และอีกครั้งในช่วงที่ลูกจะเริ่มใช้บัตรเครดิต เป็นต้น หรืออาจเริ่มสอนถึงประโยชน์ของการเริ่มลงทุนยิ่งเร็วยิ่งดีแม้ว่าจะเริ่มลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากก็ตาม เนื่องจากได้อัตราผลตอบแทนแบบทบต้นทบดอก ทำให้ได้มูลค่าเงินลงทุนสะสมเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้ที่เริ่มลงทุนช้าหรือมีเวลาลงทุนน้อยกว่า แม้ว่าจะลงทุนเริ่มต้นในจำนวนที่สูงกว่าก็ตาม เช่น เงิน 1 ดอลลาร์ หากลงทุนแบบอัตราดอกเบี้ยทบต้นทบดอก 6% ต่อปี มูลค่าเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น 10.3 เหรียญ ใน 40 ปี เปรียบเทียบกับเงิน 1 ดอลลาร์เท่ากัน แต่หากมีเวลาลงทุนแค่ 20 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยทบต้นทบดอก 6% ต่อปี มูลค่าเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นเป็นเพียง 3.2 เหรียญเท่านั้น

kids

เทคนิคที่ 3 : ให้ลูกได้เรียนรู้จากของจริง

การให้เด็กได้เรียนรู้จากของจริงหรือได้ลงมือทำเองนั้นเป็นการเรียนรู้ที่ดีสุด เช่น หากเรามีเงินกู้สำหรับซื้อบ้าน ก็สอนให้เค้าได้เรียนรู้เรื่องดังกล่าวว่าทำไมต้องกู้ การกู้ต้องทำอย่างไร การผ่อนชำระรายงวด เป็นต้น หรือให้เงินซักก้อนเพื่อให้ลูกนำไปใช้ตกแต่งห้องนอนใหม่ด้วยตัวเองภายใต้วงเงินที่กำหนดให้

เทคนิคที่ 4 : เรียนรู้ข้อดีและข้อเสีย

อีกเทคนิคหนึ่งของการสอนลูกเรื่องการจัดการเงิน คือการพูดคุยกันถึงสิ่งของที่ลูกต้องการจะซื้อ โดยเฉพาะให้เค้าได้เรียนรู้ว่าของบางอย่างอาจไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องจะซื้อ เราอาจถามคำถาม เช่น ของสิ่งนั้นต้องจ่ายเงินซื้อในราคาเท่าไหร่ สามารถซื้อได้ในราคาที่ถูกกว่านี้ที่ร้านอื่น ๆ หรือไม่ มีเงินเพียงพอที่จะซื้อหรือไม่ หรืออาจเก็บไว้ซื้อในช่วงที่เป็นโอกาสสำคัญแทนก็ได้

เทคนิคที่ 5 : แบ่งเงินออมเป็นส่วน ๆ

โดยทั่วไปการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณนั้นสามารถแบ่งเงินลงทุนออกเป็นเงินลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะกลาง และเงินลงทุนระยะยาว ซึ่งเราอาจประยุกต์ใช้แนวคิดนี้มาสอนลูก ๆ ได้ อย่างเช่นแยกกระปุกออมเงินให้ลูกไว้หลาย ๆ กระปุก โดยแต่ละกระปุกจะมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์การออมเงินที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ตัดสินใจเลือกออมเงินได้เอง เช่น อันหนึ่งสำหรับออมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในอนาคต อีกอันสำหรับเพื่อการลงทุน และอีกอันสำหรับออมเงินไว้เพื่อบริจาคและแบ่งปันให้ผู้อื่น เป็นต้น

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar