ขณะนี้หน้า “จัดการพอร์ตโฟลิโอ” อยู่ในระหว่างปรับปรุงและดำเนินการเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติอย่างเร่งด่วน ทางมอร์นิ่งสตาร์ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund)

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงขึ้นไปทะลุระดับ 1 ล้านล้านบาทได้ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าสุทธิ 4.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาสล่าสุด หรือสะสม 1.9 แสนล้านบาทในรอบครึ่งแรกของปี 2021 

Morningstar 12/07/2564
Facebook Twitter LinkedIn

กองทุนรวมต่างประเทศ (ไม่รวม Term Fund) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงขึ้นไปทะลุระดับ 1 ล้านล้านบาทได้ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าสุทธิ 4.2 หมื่นล้านบาทในไตรมาสล่าสุด หรือสะสม 1.9 แสนล้านบาทในรอบครึ่งแรกของปี 2021 ในจำนวนนี้เป็นเงินไหลเข้ากองทุนตราสารทุนถึง 1.88 แสนล้านบาท (ไตรมาสล่าสุด 3.6 หมื่นล้านบาท) ทำให้มูลค่ากองทุนรวมตราสารทุนอยู่ที่ 8.1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.6% จากสิ้นปี 2020 และ 11.6% จากไตรมาสก่อนหน้า จึงทำให้มูลค่ากองทุนตราสารทุนมีสัดส่วนราว 75% ของกองทุนรวมต่างประเทศที่ไม่รวม Term fund จากระดับ 40%-60% ในช่วงปี 2017-2019

ในขณะที่การลงทุนกองทุนตราสารหนี้มีสัดส่วนที่ลดลงจาก 10%-20% (ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ย U.S. 10Y Treasury อยู่ที่ระดับสูงกว่า 2%) มาอยู่ที่ระดับ 9% ด้วยมูลค่าเกือบ 1 แสนล้านบาท โดยมีเงินไหลเข้าเพียงเล็กน้อยในไตรมาสล่าสุดและมีเงินไหลออกสุทธิรอบครึ่งปีราว 1.2 หมื่นล้านบาท กองทุน TMB Global Income ยังคงเป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศขนาดใหญ่ที่สุดด้วยมูลค่าเกือบ 2 หมื่นล้านบาท และเป็นเพียงกองทุนตราสารหนี้กองเดียวที่มูลค่าสูงระดับหมื่นล้านบาท

ขณะเดียวกันกองทุนรวมผสมถือว่าได้รับความนิยมน้อยลงจากส่วนแบ่งตลาดที่ค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากในช่วงปี 2017 เคยมีสัดส่วนราว 1 ใน 4 มาอยู่ที่เพียง 7% ณ สิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาด้วยมูลค่าทรัพย์สินรวม 7.5 หมื่นล้าบาท โดยในรอบครึ่งปีมีเงินไหลออกสุทธิ 9.9 พันล้านบาท เป็นเงินไหลออกไตรมาสล่าสุด 2.4 พันล้านบาท

09

กลุ่มกองทุนหุ้นจีน (China Equity) มีมูลค่าทรัพย์สินสูงสุด 1.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.2% จากไตรมาสแรกและ 61.3% จากสิ้นปี 2020 โดยในไตรมาสล่าสุดมีเงินไหลเข้า 1.6 หมื่นล้านบาท สูงสุดในกลุ่มกองทุนต่างประเทศ ซึ่งถือว่าชะลอจากไตรมาสแรกที่มีเงินไหลเข้า 5.5 หมื่นล้านบาท กองทุน KTAM China A Shares Equity A มีเงินไหลเข้าสูงสุดของกลุ่มรวม 1.3 หมื่นล้านบาทในรอบครึ่งปีแรก มูลค่าทรัพย์สินสุทธิล่าสุดอยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่ากองทุนขนาดใหญ่สุดของกลุ่มคือ K China Equity-A(D) เล็กน้อยซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินที่ 2.3 หมื่นล้านบาท

10

กองทุนกลุ่ม Global Equity ยังมีการเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.4% จากไตรมาสแรกและ 55.5% จากสิ้นปี 2020 มีเงินไหลเข้าสุทธิรวม 5.1 หมื่นล้านบาทสำหรับครึ่งปีแรก และ 7.6 พันล้านบาทในไตรมาสล่าสุด กองทุน TMB Global Quality Growth ยังเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มที่มูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท และมีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดในไตรมาสที่สองของปี 2.9 พันล้านบาท อย่างไรก็ดีกองทุน ONE Ultimate Global Growth RA มีเงินไหลเข้าสุทธิสูงสุดรอบครึ่งปีแรกรวม 6.4 พันล้านบาท และเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสอง

กลุ่ม Property Indirect - Flexible, Global Bond และ Global Allocation ที่เคยเป็น 3 กลุ่มที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงสุดกลับมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลงต่อเนื่องในปีนี้ โดยทั้ง 3 กลุ่มมีเงินไหลออกสุทธิมากที่สุดรอบครึ่งปี กลุ่ม Global Bond มีเงินไหลออกรวม 1.8 หมื่นล้านบาท (จากไตรมาสล่าสุด 6.3 พันล้านบาท) ซึ่งมีแรงกดดันจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่อาจมีการปรับขึ้นได้จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ ขณะที่กลุ่ม Property Indirect - Flexible ที่ยังเป็นเงินไหลออกต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาดโควิด-19 โดยในไตรมาสล่าสุดมีเงินไหลออกที่ 1.8 พันล้านบาท รวมเป็นเงินไหลออก รอบครี่งปี 1.8 หมื่นล้านบาท

11

กองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund)

มูลค่ากองทุน Feeder fund ล่าสุดอยู่ที่ 7.7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.5% จากสิ้นปี 2020 โดยเป็นการเติบโตของกองทุนตราสารทุนถึง 47.1% ทำให้มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 5.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 77.3% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2020 ที่ 69% ในขณะที่กองทุนตราสารหนี้มีส่วนแบ่งตลาดลดลงมาอยู่ที่ 12%

บลจ. JPMorgan เป็นผู้นำในตลาดกองทุนฟีดเดอร์ของไทยในปีนี้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินที่กองทุนไทยไปลงทุนรวมราว 7 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 52.7% จากสิ้นปี 2020 ซึ่งเกือบ 2 ใน 3 ของมูลค่าดังกล่าวเป็นเงินลงทุนจาก บลจ.กสิกรไทย โดยเป็นการลงทุนหุ้นจีนเป็นหลัก

12

ด้าน BlackRock มีมูลค่าทรัพย์สินจากกองทุนฟีดเดอร์ไทยรวมอยู่ที่ 6.2 หมื่นล้านบาท ทำให้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสองแทน บลจ. PIMCO โดย BlackRock มีเงินลงทุนจาก 11 บลจ. รวมกันเช่น บลจ.กรุงไทย  บลจ.กสิกรไทย และบลจ.เอ็มเอฟซี มีเงินลงทุนระดับ 1 หมื่นล้านบาท และบลจ.อื่น ๆ อีกในระดับพันล้านบาท กองทุน BGF Global Allocation A2 เป็นกองทุนขายดีของบลจ. BlackRock ในปีนี้จากปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิรวม 5 พันกว่าล้านบาท โดยเกือบทั้งหมดมาจากกองทุน K Global Allocation ในขณะที่กองทุนจาก บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) มีการลงทุนไปที่กองทุนเดียวกันแต่มีเงินไหลเข้าสุทธิเพียงเล็กน้อย

บลจ. PIMCO เป็นเพียงบลจ. เดียวใน 10 อันดับบลจ. Master fund ที่มีทิศทางเงินไหลออกสุทธิซึ่งมีสาเหตุจากกองทุนส่วนใหญ่จาก PIMCO เป็นกองทุนตราสารหนี้ ในขณะที่ผู้ลงทุนไทยกำลังให้ความสนใจกับกองทุนตราสารทุนเป็นอย่างมาก จึงทำให้มีเม็ดเงินไหลออกสุทธิเกือบ 1 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินไหลออกกองทุนกลุ่ม Global Bond กว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเงินจากกองทุนของ บลจ.ทหารไทยและ บลจ.ธนชาต รวมกันกว่า 7 พันล้านบาท

ด้านบลจ. UBS และ Allianz มีมูลค่าทรัพย์สินเติบโตมาจากการลงทุนกองทุนหุ้นจีนเป็นหลัก ซึ่งทางบลจ. UBS เป็นบลจ. ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในตลาดนี้ โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีเงินลงทุนกับ บลจ. UBS เพิ่มขึ้นเกือบ 7 พันล้านบาท และทั้งหมดเป็นการลงทุนในกองทุนหุ้นจีน ขณะที่บลจ. Allianz มีเงินไหลเข้ามากกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้มีมูลค่า 1.5 หมื่นล้านบาทเป็นการลงทุนหุ้นจีนที่เกือบทั้งหมดเป็นเงินลงทุนจากบลจ. กรุงไทย

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Morningstar