การลงทุนอย่างยั่งยืนมีการเติบโตอย่างชัดเจนในปีนี้ โดยมูลค่าทรัพย์สินรวม 5.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 81% จากสิ้นปี 2020 โดยในปีนี้มีกองทุนเปิดใหม่ 15 กองทุน รวมมูลค่าเกือบ 8 พันล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นการลงทุนต่างประเทศ ซึ่งรูปแบบการลงทุนนั้นมีส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบกองทุนฟีดเดอร์ ที่อาจเน้นธุรกิจพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน หรืออาจเป็นกองทุนที่ให้ความสำคัญทั้ง 3 ด้านของ ESG โดยรายชื่อกองทุนพร้อมกับชื่อกองทุนที่กองทุนไทยไปลงทุนมีดังนี้
รายชื่อกองทุนยั่งยืน (FIF) และข้อมูลกองทุนที่ไปลงทุน
ในภาพรวมกองทุน master fund หลายกองทุนมีผลตอบแทนที่สูงมาก เช่น BNP Paribas Energy Transition, iShares Global Clean Energy ETF, BGF Sustainable Energy ซึ่งมีผลตอบแทน 1 ปีมากกว่า 90% หรือผลตอบแทนมากกว่า 20% ต่อปีในรอบ 3 ปี โดยทั้ง 3 กองทุนที่ได้กล่าวถึงมีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานเพื่อความยั่งยืนเช่น การพัฒนา/วางระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง ธุรกิจไฟฟ้าพลังงานน้ำ/พลังงานลม เป็นต้น ทั้งนี้หากไปดูที่กองทุนจากทั่วโลกที่เน้นลงทุนด้าน Renewable Energy จะพบว่ามีผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงถึง 107% หรือ 17.6% ต่อปีในรอบ 5 ปี ทำให้การลงทุนประเภท Environmental Sector Fund มีผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปี และ 5 ปีที่ 80.1% และ 14.4% (ต่อปี) ตามลำดับ
อย่างไรก็ดีนอกจากกองทุน ESG แล้วยังมีการลงทุนอย่างยั่งยืนอีกประเภทหนึ่งที่อาจยังไม่เป็นที่แพร่หลายนักในประเทศไทย คือการลงทุนที่สร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านต่างๆ หรือ Impact fund ซึ่งมีกองทุนลักษณะนี้ทั่วโลกกว่า 1,700 กองทุน โดยการลงทุนจะคำนึงถึงประเด็นตัวอย่างเช่น ความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศ, Low Carbon/ fossil-fuel free, การพัฒนาชุมชน/สังคม หรือด้านอื่นๆ ที่อาจอ้างอิงมาจาก U.N. Sustainable Development Goals (UNSDG) 17 ข้อ มูลค่าทรัพย์สิน 5.3 ล้านล้านบาท หรือมากกว่ามูลค่าทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวมไทยเสียอีก โดยในช่วงที่ปีที่ผ่านมา กองทุนประเภท Impact fund นี้มีผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปีที่ 35.1% และ 5 ปีที่ 7.6% ต่อปี
(หมายเหตุ: มอร์นิ่งสตาร์กำหนดคุณลักษณะการลงทุนอย่างยั่งยืนที่สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ ESG fund, Impact Fund และ Environmental Sector Fund โดยรายละเอียดมีดังนี้)
กองทุนยั่งยืนที่ลงทุนในหุ้นไทย
จากมูลค่ากองทุนยั่งยืนในประเทศไทยทั้งหมด 5.4 หมื่นล้านบาท มีมูลค่ากองทุนยั่งยืนที่ลงทุนในหุ้นไทยรวม 1.5 พันล้าน บาท (เพิ่มขึ้น 6.3% จากสิ้นปี 2020) หรือเป็นสัดส่วนไม่ถึง 3% ของมูลค่ากองทุนยั่งยืนทั้งหมดของไทย โดยส่วนใหญ่เป็นกองทุนที่มีขนาดเล็ก มีผลตอบแทนเฉลี่ย 3 เดือนที่ 13.4% สูงกว่า SET TR ที่ 10.5% จากข้อมูลด้านล่างมีกองทุน TISCO ESG Investment Fund for Society ที่มีผลตอบแทนสูงสุดรอบ 3 เดือนที่ 17.2% และมี Morningstar Sustainability Rating™ ที่ระดับ 5-globe และได้ Morningstar Rating ที่ระดับ 4 ดาว
(หมายเหตุ กองทุน Innotech Sustainable Thai Equity Systematic ถือเป็นกองทุนยั่งยืนแต่มีการลงทุนในหุ้นที่มีการจัด ESG Risk Rating ในสัดส่วนต่ำว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในการคำนวณ Morningstar Sustainability Rating™ ที่ 67% จึงทำให้ไม่มีเรตติ้ง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2021)
โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นผลจากการใช้ข้อมูลความเสี่ยง ESG ของหุ้นรายตัวโดย Sustainalytics ซึ่งปัจจุบันมีการให้เรตติ้งหุ้นไทยจำนวน 147 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2021) เพิ่มจากปลายปีที่แล้วที่ 139 ตัว โดยแบ่งเป็น 5 ระดับคือ Negligible ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงต่ำสุด ไล่ระดับขึ้นไปที่ Low, Medium, High และ Severe ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงสุด ปัจจุบันหุ้นไทยส่วนใหญ่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Medium จำนวน 67 ตัว