Sustainalytics ได้เปิดเผยรายงานสำหรับผู้ที่สนใจโอกาสและความเสี่ยงเกี่ยวกับ ESG เสี่ยงใน value chain ของอุตสาหกรรมอาหารของโลก โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำหรือเกษตรกรรมไปจนถึงกระบวนการจัดการของเสีย ว่ามีประเด็นเกี่ยวกับ ESG อย่างไร รวมทั้งการแก้ไขอย่างยั่งยืนนั้นจะเป็นอย่างไร ซึ่งมีไฮไลท์ที่น่าสนใจ 10 ด้านดังนี้
1 Biological pesticides
บริษัทเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตรอาจทำให้ผู้ลงทุนต้องมีความเสี่ยงด้าน ESG จากการผลิตและการใช้ยากำจัดแมลงและปุ๋ย ที่จะส่งผลต่อเนื่องไปที่การปล่อยสารพิษและของเสีย ซึ่งยากำจัดแมลงบางชนิดมีผลเชื่อมโยงกับสุขภาพของมนุษย์จากคุณสมบัติบางอย่างหรือการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ทำให้ biological pesticide (การนำจุลินทรีย์ หรือสารสกัดจากธรรมชาติมาผลิตสารกำจัดแมลง) จะเป็นทางออกของสารพิษเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืน ตลาดของ biological pesticides อาจเติบโตได้ถึง 7 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2025 จากราว 2.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2018
2 Precision farming
การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเกษตรจะช่วยให้การใช้สารเคมีในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการการผลิตเป็นไปในปริมาณที่เหมาะสม และจะช่วยป้องกันการใช้สารกำจัดแมลง ปุ๋ย หรือทรัพยากรธรรมชาติเช่น น้ำ ในปริมาณที่มากเกินไป
การทำ precision agriculture เป็นการจัดการการเพาะปลูกที่ใช้ประโยชน์ของ digital ในการควบคุมดูแล และวิเคราะห์ความต้องการของพืชแต่ละชนิดในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก วิธีการนี้จะช่วยให้เกษตรกรจัดการกับความเปลี่ยนแปลงของดินเพื่อปรับการใช้ปุ๋ยและสารกำจัดแมลง ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างบริษัทที่โดดเด่นในเรื่องนี้ได้แก่ Yara และ Nutrien โดยทั้ง 2 บริษัทมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางเลือกจากชีวภาพและการทำ precision farming
3 Natural food preservatives
เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรนั้นมีอย่างจำกัด ยากำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยจึงมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการผลิตของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้มีปริมาณอาหารเพียงพอกับความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามการจำกัดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ยังเป็นประเด็นสำคัญ การถนอมอาหารด้วยวิธีธรรมชาติหรือจุลินทรีย์จะมีบทบาทมากขึ้น โดยมีการคาดว่าตลาดจะเติบโตจาก 796 ล้านดอลลาร์ ในปี 2018 ไปที่ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2028
4 Organic feed
ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารยังมีอัตราการเติบโตที่สูง การทำการเกษตรอย่างยั่งยืนจึงเป็นเรื่องสำคัญ การทำ Organic farm จะช่วยรักษาคุณภาพของดิน ลดผลกระทบจากความหลากหลายทางชีวภาพ และช่วยสร้างแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งอาจช่วยสร้างผลกำไรได้มากกว่าเกษตรกรรมแบบเดิม ปัจจุบันบางบริษัทผู้ผลิตอาหารเริ่มมีการสนับสนุนการเกษตรลักษณะนี้ เช่นการ พัฒนาคุณภาพดินผ่านการลดการใช้สารเคมี ปลูกพืชหมุนเวียน หรือนำส่วนที่เหลือจากการเพาะปลุกมาเป็นปุ๋ย ขณะเดียวกันบริษัทด้านเการเกษตรกรรมบางแห่งเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองการเป็นเกษตรอินทรีย์
5 Certified sustainable products
1 ใน 3 ของพื้นที่กว่า 16 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ใช้ในการเพาะปลูกนั้นกำลังเสื่อมคุณภาพลงจากการกร่อน สูญเสียแร่ธาตุในดิน มลพิษ และจากการขาดวิธีจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน ทำให้พื้นที่เหล่านั้นจะสร้างผลผลิตได้น้อยลง ปลูกพืชบางชนิดไม่ได้ ไปจนถึงดูดซับความชื่นได้น้อยลง การเสื่อมคุณภาพลักษณะนี้จะยิ่งทำให้ปัญหา climate change ยิ่งแย่ลง และเป็นตัวเร่งให้คุณภาพดินเสื่อมเร็วขึ้น ส่งผลโดยตรงกับความสามารถการผลิตอาหารของโลก การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนจึงเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้น และช่วยส่งเสริมให้เกิดการตระหนักถึงการเกษตร การผลิตอาหารที่อย่างยั่งยืน
6 Using fish waste
การเติบโตของอุตสาหกรรมประมงทั่วโลกส่งผลเสียกับสัตว์ทะเลอย่างมีนัยสำคัญจากอัตราการบริโภคที่สูงกว่าอัตราการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ข้อมูลจาก Planet Tracker รายงานว่าประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีการทำประมงมากที่สุดในโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการผลิตอาหารทะเลที่ลดลงถึง 66% ในช่วงปี 1985 ถึง 2017 ทำให้บริษัทธุรกิจประมงเลี้ยงกำลังหาทางออกเพื่อลดการพึ่งพาปริมาณสัตว์น้ำในธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตอาหาร หันไปใช้ผลพลอยได้จากสัตว์น้ำแทนการใช้สัตว์น้ำในธรรมชาติเพื่อการผลิตอาหารสัตว์
7 Integrated multi-trophic aquaculture
Aquaculture เป็นการเพาะเลี้ยงพืชและสัตวน้ำชนิดต่าง ๆ ภายในสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุมและช่วยลดความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อม บางบริษัทเริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ aquaculture ที่มีการหมุนเวียนซึ่งช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของสาหร่ายทะเลที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล ไปจนถึงโรคต่างๆ อุตสาหกรรม aquaculture มีมูลค่าราว 2.3 แสนล้านบาทและมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึง 6% ต่อปีมาตั้งแต่ปี 2000
8 Using recycled plastic
กฎหมายในหลายประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยเน้นการใช้วัสดุที่ผ่านการรีไซเคิลมากขึ้น และลดการใช้พลาสติกแบบ single-use เช่นในปี 2021 นี้ที่ทางสหภาพยุโรปได้มีการห้ามใช้ single-use plastic อย่างเป็นทางการ ขณะที่สหราชอาณาจักรจะมีการจัดเก็บภาษีหากบรรจุภัณฑ์มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิลน้อยกว่า 30% โดยจะเริ่มบังคับใช้ในปีหน้า
9 Reducing food waste
การจัดการห่วงโซ่คุณค่าทางอาหารที่ไม่มีประสิทธิภาพจะสามารถส่งผลต่อโครงสร้างต้นทุนขององค์กรได้ ซึ่งอาจนำไปสู่รายได้ที่ลดลง อัตรากำไรที่ลดลง และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่ลดลง ขยะจากเศษอาหารและบรรจุภัณฑ์กำลังส่งผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ยังมีประชากรโลกอีกจำนวนมากยังต้องเผชิญความอดอยาก ในขณะที่ยังมีประชากรอีกจำนวนหนึ่งสามารถใช้ทรัพยากรได้มากเกินความจำเป็นที่มีผลกับ climate change ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงของนักลงทุนที่จะส่งผลไปถึงต้นทุน รายได้ ไปจนถึงชื่อเสียงขององค์กร
10 Recovering waste
มีการคาดการณ์ว่า หากไม่มีการร่วมมือแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณขยะจากเศษอาหารมากถึง 2.1 พันตันในปี 2030 หรือมูลค่ารวม 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดยการแก้ปัญหานี้ทำได้โดยการนำขยะหรือของเหลือมาแปรรูปเพื่อให้เกิดประโยชน์และเพิ่มมูลค่าได้ เช่นการนำน้ำมันจากการทำอาหารมาเข้าสู่กระบวนการเป็น biodiesel