นอกจากการลงทุนเพื่อผลตอบแทนแล้วปัจจุบันนักลงทุนเริ่มให้ความสนใจการลงทุนเพื่อความยั่งยืนมากขึ้นในต่างประเทศ ทั้งจากปริมาณเงินลงทุนในกองทุนยั่งยืนในสหรัฐฯที่ยังสูงขึ้นต่อเนื่อง หรือนักลงทุนในยุโรปก็มีแนวโน้มที่จะหันมาสนใจเทรนด์การลงทุนนี้มากขึ้นเช่นกัน โดยกองทุนในยุโรปมีเม็ดเงินลงทุนกองทุนยั่งยืนสูงถึง 1.2 แสนล้านยูโรในปี 2019 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจจากการวิจัยในสหราชอาณาจักรว่ากว่า 80% ของนักลงทุนมีแนวโน้มที่จะลงทุนหากสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อส่วนรวม หรือมีการหลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่ขาดธรรมาภิบาล ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ธุรกิจการลงทุนแบบยั่งยืนเป็นที่สนใจของนักลงทุนมากขึ้น เพราะนอกจากจะสร้างผลกำไรแล้วยังส่งเสริมความยั่งยืนต่อสังคมส่วนรวมได้อีกทางหนึ่ง
จากข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา กองทุนรวมในประเทศไทยได้ Morningstar Sustainability Rating ทั้งหมด 815 กองทุน ในจำนวนนี้มีกองทุนที่ได้ globe rating ระดับ ‘Average’ ขึ้นไป 531 กองทุน โดยบลจ. ไทยพาณิชย์ มีกองทุนที่ได้ globe rating ระดับ Average ขึ้นไปมากที่สุด จำนวน 84 กองทุน แบ่งเป็นระดับ ‘Average’ 58 กองทุนและ ‘Above Average’ 26 กองทุน ด้านบลจ.ทิสโก้ มีจำนวน 68 กองทุน แบ่งเป็นระดับ ‘Average’ 21 กองทุน ระดับ ‘Above Average’ 22 กองทุนและ ‘High’ 11 กองทุน ซึ่งเป็น บลจ. ที่มีจำนวนกองทุนที่ได้ระดับ ‘High’ มากที่สุด ขณะที่ บลจ.กสิกรไทยมีกองทุนใน globe rating ทั้ง 3 ระดับรวม 39 กองทุน เป็นกองทุน globe rating ระดับ ‘High’ ที่ 10 กองทุน
หากไปดูที่สัดส่วนกองทุนที่ได้ globe rating ระดับ ‘Average’ ขึ้นไป เทียบกับจำนวนกองทุนที่มี globe rating ทั้งหมดของแต่ละ บลจ. จะพบว่ามีหลายบลจ.ที่มีกองทุนที่ได้ globe rating ระดับ ‘Average’ ขึ้นไปในสัดส่วนที่ไม่สูงนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะการลงทุนอย่างยั่งยืนยังไม่เป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลายมากนักในประเทศไทย รวมทั้งการลงทุนอย่างยั่งยืนยังมีความแตกต่างของเกณฑ์การคัดเลือก หรือการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ของแต่ละบริษัทยังไม่มีมาตรฐานที่ทำให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ง่ายว่าบริษัทใดมีมาตรการหรือนโยบายด้าน ESG ที่ต่างกันอย่างไร ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต
หากนักลงทุนต้องการค้นหาข้อมูลกองทุนรวมยั่งยืน สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่