ประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมทั่วโลก

อุตสาหกรรมกองทุนรวมทั่วโลกมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร นักลงทุนในแต่ละประเทศได้รับการดูแลมากน้อยแค่ไหน มาตราฐานการเปิดเผยข้อมูล

Facebook Twitter LinkedIn

          Morningstar เปิดเผยผลการศึกษาประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมทั่วโลกประจำปี 2560 (Global Fund Investor Experience Study 2017) ซึ่งจัดทำขึ้นในทุกๆ 2ปี และครั้งนี้นับเป็นครั้ง 5 ของการศึกษาในหัวข้อดังกล่าวนี้ โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่ได้รับคะแนนสูงที่สุดขณะที่หลายประเทศในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ได้เร่งพัฒนาเป็นอย่างมากในเรื่องของระเบียบกฎเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ลงทุน

Global Fund Investor Experience Study 2017 ในครั้งนี้นั้นได้ทำการศึกษาประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวมที่ผู้ลงทุนในทั้ง 25 ประเทศทั่วโลกต้องเผชิญผ่าน 4 หัวข้อหลักๆโดยที่แต่ละหัวข้อจะได้รับน้ำหนักในการพิจารณาไม่เท่ากันดังต่อไปนี้

1. กฎเกณฑ์และภาษี (Regulation and Taxation) – 20%

2. การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) – 30%

3. ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ (Fees and Expenses) – 30%

4. กระบวนการซื้อ/ขายหน่วยลงทุน (Sales) – 20%

และการศึกษาในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้คะแนนจากเมื่อครั้งที่แล้วที่ได้ให้คะแนนโดยใช้ 12-point letter grades มาเป็น 5 ลำดับขั้น ดังต่อไปนี้ Top, Above Average, Average, Below Average, และ Bottom ซึ่งได้ผลดังต่อไปนี้

GFIE

เนื้อหาโดยสรุปจากผลการศึกษา Global Fund Investor Experience Study 2017 มีดังต่อไปนี้

  • United States ยังคงเป็นประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มทำการศึกษาในปี 2009 เป็นต้นมา โดยมีจุดเด่นอยู่ที่เรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆที่เรียกเก็บในระดับที่ต่ำ ประกอบกับการมีระเบียบและกฎเกณฑ์ที่ดีในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามยังคงพัฒนาและปรับปรุงในเรื่องของกฎเกณฑ์และภาษีที่ถือเป็นข้อด้อย
  • India และ United States ถือเป็น 2 ประเทศที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูลเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นเพียง 2 ประเทศที่มีการเปิดเผยข้อมูลในส่วนของวิธีการคิดคำนวณ รายได้และค่าจ้างของผู้จัดการกองทุน
  • หลังจากใช้เวลาพัฒนาเรื่องกฎเกณฑ์ต่างๆอยู่หลายปี แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย และประเทศไทย นับเป็น 3 ประเทศที่มีการพัฒนามากที่สุดนับจากการศึกษาครั้งที่แล้วโดยทั้ง 3 ประเทศได้คะแนนในระดับ Above Average
  • France, Italy, Finland, Spain, และ Belgium ได้รับคะแนนในระดับ Below Average เป็นผลมาจากข้อด้อยต่อเรื่อง ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ (Fees and Expenses) และ กระบวนการซื้อ/ขายหน่วยลงทุน (Sales) ทั้งนี้ในยุโรปได้มีการออกกฎเกณฑ์ใหม่หลายอย่างในกรอบของ MiFID II เพื่อปกป้องผู้ลงทุน
  • ผลกระทบในเชิงลบในเรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ (Fees and Expenses) ที่ส่งต่อผลการดำเนินงานของกองทุนรวมนั้นผู้วิจัยได้ให้น้ำหนักต่อเรื่องดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นในผลให้การศึกษาในครั้งนี้
  • หลายประเทศ อาทิเช่น U.K., Australia, and Netherlands มีการห้ามที่ปรึกษาทางการลงทุนรับค่า commissions ในการขายหน่วยลงทุน แต่จากผลการศึกษายังคงชี้ให้เห็นว่าหลายประเทศส่วนใหญ่ยังคงมีการรับค่า commissions ตรงส่วนนี้อยู่
  • จากผลการศึกษาพบว่า 24 จาก 25 ประเทศมีการขายหน่วยลงทุนส่วนใหญ่ผ่านธนาคารและบริษัทประกันเป็นช่องทางหลัก และมีเพียง Australia, Canada, New Zealand, and the U.K. เท่านั้นที่มีที่ปรึกษาการลงทุนอิสระเป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการซื้อ/ขายหน่วยลงทุน

ทั้งนี้ในส่วนของประเทศไทยนั้นถือว่ามีการพัฒนาเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับผลการศึกษาในครั้งที่แล้วโดยในครั้งนี้ประเทศไทยได้รับคะแนนในระดับ Above Average เป็นผลมาจากจุดเด่นในเรื่องดังต่อไปนี้

  • การพัฒนาในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนโดยเฉพาะในส่วนของข้อมูลพอร์ตการลงทุนที่ได้มีการปรับจากรายครึ่งปีมาเป็นแบบรายไตรมาส
  • การปรับปรุงในส่วนของหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปที่ได้มีการปรับให้มีความกระชับโดยใช้ภาษาที่สื่อสารได้เข้าใจง่ายรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟและตารางเข้ามาเป็นส่วนประกอบรวมไปถึงการมีมาตราฐานเดียวในการเปิดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆของกองทุนรวม
  • ในส่วนของค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งประเทศที่ได้คะแนนดีตรงจุดดังกล่าวโดยเฉพาะในกองทุนประเภทตราสารหนี้

แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีเรื่องที่สามารถพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มได้อีก อาทิเช่น การมีช่องทางการซื้อ/ขายหน่วยลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น การเปิดเผยค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้กับตัวแทนขายหน่วยลงทุน (Trailing commission) เป็นต้น

ทั้งนี้สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ GFIE2017 หรือติดต่อ กิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ 02-126-8137

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst