ดัชนีความยั่งยืน Sustainability Indexes

การลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability) เป็นอีกหนึ่งกระแสหลักของโลกการลงทุนที่นักลงทุนก็จะมีโอกาสได้ลงทุนกันมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วอุตสาหกรรมจะใช่ดัชนีอะไรเป็นมาตราฐาน 

Facebook Twitter LinkedIn

           ต่อเนื่องจากกระแสความแรงเรื่องของการลงทุนแบบยั่งยืน (Sustainability Investment) หรือการลงทุนแบบ ESG ที่นักลงทุนหบายคนคุ้นเคยกันอยู่ ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทาง สถาบันไทยพัฒน์ ก็ได้ประกาศรายชื่อ 100 บริษัทไทยที่ได้รับการจัดอันดับให้มีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกสั้นๆว่า ESG100 นั้นเองซึ่งรายชื่อทั้งหมดนั้นสามารถดูได้จาก http://www.thaipat.org/2014/09/esg-rating.html

และเช่นกันเมื่อปลายปีที่แล้ว 2559 ที่ผ่านมาทาง Morningstar ของเรานี้ก็ได้มีการจัดทำและเผยแพร่ดัชนีการลงทุนแบบยั่งยืน (Morningstar Sustainability Index Family) ซึ่งที่มาที่ไปและเหตุผลของการจัดทำ Morningstar Sustainability Index Family นี้ขึ้นมาก็เป็นเพราะว่าทางเราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการลงทุนแบบยั่งยืน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่และผู้หญิงกำลังให้ความสำคัญเป็นอย่างมากและถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการตัดสินใจลงทุน และมากไปกว่านั้นเรายังมองเห็นถึงสถานการณ์ในโลกการลงทุนยุคปัจจุบันที่ข่าวสารข้อมูลต่างๆนั้นมีให้เลือกใช่อย่างมากมาย แต่สิ่งที่คนในอุตสาหกรรม นักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องการมากที่สุดนั้นก็คาวมน่าเชื่อและความเป็นกลางของผู้จัดทำข้อมูล Morningstar เราเลยคิดว่าเราน่าจะช่วยตอบโจทย์ตรงส่วนนี้ได้

ซึ่งหลักการจัดทำ Morningstar Sustainability Index Family แบบคราวๆมีดังต่อไปนี้

  1. Defining the eligible universe - กำหนดบริษัทที่เข้าเกณฑ์ในการพิจารณาโดยใช้ market cap เฉพาะหุ้นขนาดใหญ่และขนาดกลาง ซึ่งอ้างอิงจาก Morningstar Global Equity Indexes โดยที่ในส่วนนี้มีขนาด market cap ประมาณ 90% ของหุ้นในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) และกำลังพัฒนา (Emerging Market) โดยในจำนวนนี้จะได้บริษัทที่เข้าเกณฑ์ประมาณ 4,000 บริษัท
  2. Product Screening - ทำการ Screen โดยตัดสิทธิบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าอาวุธสงคราม อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี และรวมไปถึงบริษัทที่มีรายได้มากกว่า 50% จากการขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
  3. Assigning Company Score - ให้คะแนน Sustainability Score แก่บริษัทที่เข้าเกณฑ์พิจารณา ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Sustainalyticsโดยจะแบ่งการให้คะแนนเป็น 3 ส่วนคือ
    1. Company-level ESG Score
    2. Controversy Score
    3. Company Sustainability Score = ESG Score - Controversy Score
  4. Selecting best-in-class companies – เลือกบริษัทที่ได้คะแนน Sustainability Score สูงที่สุดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีพร้อมทั้งทำการตัดบริษัทที่มี Controversy Score สูงๆออกจากดัชนี
  5. Controlling for Deviation – ควมคุมค่าเบี่ยงเบนทั้งในสัดส่วนการกระจายตัวของภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมไม่เกิน 2% เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีมาตราฐานของกลุ่มนั้นๆ

Construction Process

ในส่วนของวิธีการคำนวณดัชนี Morningstar จะใช้การคำนวณโดยใช้ free float adjusted market cap เป็นหลักในการคำนวณเพื่อที่จะได้สะท้อนถึงจำนวนหุ้นที่สามารถทำการซื้อขายได้จริงๆ และจะมีการพิจารณาคัดเลือกหุ้นเข้าออกดัชนีปีละ 2 ครั้ง (Reconstituted semiannually) และทำการปรับน้ำหนักทุกๆไตรมาส (Rebalanced quarterly)

ซึ่งปัจจุบันนี้ Morningstar Global Sustainability Index Family มีให้เลือกใช้กว่า 20 ดัชนี ดังต่อไปนี้

Index Family

และในโอกาสต่อไปผมจะเปิดเผยรายชื่อบริษัทจดทะเบียนไทยที่ได้รับคัดเลือกเข้าไปในดัชนี  Morningstar Sustainability Index กันครับ  

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst