Morningstar จัดอันดับกองทุน ESG

กองทุนไทยกองไหนมีการลงทุนตามแนวทางแบบ ESG หรือ Sustainability ตามไปดูกันครับ

Facebook Twitter LinkedIn

           หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกระแสความร้อนแรงของการลงทุนแบบยั่งยืน (ESG หรือ Sustainability) ให้นักลงทุนได้ฟังกันแล้วนั้น ก็มีนักลงทุนหลายท่านสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกันมากมาย วันนี้ผมก็เลยถือโอกาสมาเล่าเพิ่มเติมให้ฟังกันถึงประเด็นที่ผมได้ทิ้งท้ายไว้ว่าทาง Morningstar เราได้มีการจัดอันดับ Sustainability Rating กองทุนต่างๆทั้งของไทยและต่างประเทศทั่วโลก

ก่อนจะไปถึงการเปิดรายชื่อกองทุนไทยที่ได้รับการจัดอันดับ Morningstar Sustainability Rating นั้น ผมอยากจะเล่ารายละเอียดถึงที่มาที่ไป วัตถุประสงค์ วิธีการคำนวณ และจัดอันดับ เพื่อที่จะให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานกันก่อน โดยที่การจัดอันดับให้ Sustainability Rating นั้นยังคงเน้นเรื่องความเป็นกลางเหมือนเช่นการจัดอันดับ Morningstar Rating ซึ่งนั้นก็คือ ทาง Morningstar จะทำการจัดอันดับให้กับทุกกองทุนที่เข้าเกณฑ์โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

Morningstar’s Portfolio Sustainability Score and Sustainability Rating

            มาเริ่มต้นกันที่วิธีการให้คะแนนและประเมินการลงทุนของกองทุนกันก่อน ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะเรียกว่า Portfolio Sustainability Score โดยในส่วนของการประเมิณคุณภาพของบริษัทต่างๆนั้นว่าเค้าสามารถบริหารจัดการเรื่องเกี่ยวกับ E (Environmental) = สิ่งแวดล้อม S (Social) = สังคม  G (Governance) = ธรรมาภิบาล ได้ดีแค่ไหนนั้น ทาง Morningstar เราได้ใช้ข้อมูลอ้างอิงส่วนนี้จากบริษัท Sustainalytics ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่เน้นการวิเคราะห์ในเรื่องของ ESG เป็นหลัก โดยทาง Sustainalytics นั้นได้ทำบทวิเคราะห์บริษัทชั้นนำทั่วโลกมากกว่า 4,500 บริษัทและในจำนวนดังกล่าวนี้เป็นบริษัทสัญชาติไทยกว่า 40 บริษัท มากไปกว่านั้นทาง บริษัท Sustainalytics นี้ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ Controversies score (เรื่องที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ) เพื่อใช้ประกอบการจัดอันดับอีกด้วย

จากนั้นทาง Morningstar เราก็จะนำข้อมูลดังกล่าวนี้มาทำการหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักเข้าไปกับพอร์ตโฟลิโอการลงทุนจริงของกองทุนแต่ละกองทุนที่มีอยู่ในระบบของ Morningstar เพื่อเป็นการวัดคะแนนของการลงทุนจริงของกองทุนแต่ละกองเพื่อนำคะแนนดังกล่าวไปเปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไป

โดยการคำนวน Portfolio Sustainability Score มีวิธีการดังต่อไปนี้

Portfolio Sustainability Score = Portfolio ESG Score – Portfolio Controversy Deduction

หลังจากที่ Morningstar ได้ให้คะแนนแต่ละกองทุนเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น คะแนนของแต่ละกองทุนจะถูกนำไปเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยโดยจะทำการเปรียบเทียบกันในกลุ่มเท่านั้นในรูปแบบของ Bell Curve ตัวอย่างเช่น กลุ่มกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) กองทุนหนุ้นขนาดเล็ก (Equity Large Cap) เป็นต้น โดยที่กองทุนที่ได้คะแนนสูงสุด 10% แรก จะได้ 5 globes, 22.5% ต่อมาจะได้ 4 globes, 35% ต่อมาจะได้ 3 globes, 22.5% ต่อมาจะได้ 2 globes และ 10% สุดท้ายได้ 1 globe

Scale

ทั้งนี้กองทุนที่จะถูกจัดอันดับนั้นจะต้องมี 1. การเปิดเผยข้อมูลพอร์ตโฟลิโอกองทุน 2. จะต้องมีการลงทุนบริษัทที่มีคะแนน ESG และ Controversy จากทาง Sustainalytics ไม่น้อยกว่า 50% ของเงินลงทุนทั้งหมด 3. กองทุนจะได้รับการจัดอันดับ Sustainability Rating

ส่วนในเรื่องของวิธีการนำไปใช้หรือข้อควรระวังเกี่ยวกับ Morningstar Sustainability Rating ดังต่อไปนี้

  • การจัดอันดับดังกล่าวนี้เป็นเพียงการวิเคราะห์เพื่อที่จะบอกว่ากองทุนมีการลงทุนในบริษัทที่มีการบริหารจัดการเรื่อง ESG มาน้อยเพียงใด
  • Sustainability Rating นี้สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหากองทุนที่เน้นลงทุนตามแนวทางแบบ ESG
  • วิธีการจัดอันดับดังกล่าวนี้เป็นการจัดอันดับโดยวิเคราะห์จากพอร์โฟลิโอการลงทุนของกองทุนเพียงเท่านั้น โดยไม่ได้มีการดูผลการดำเนินงานของกองทุนหรือการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ (Qualitative)

ถึงตรงนี้นักลงทุนทั้งหลายคงอยากจะทราบกันแล้วว่าจะมีกองทุนไทยกี่กองทุนที่ได้รับการจัดอันดับ Morningstar Sustainability Rating และจะมีกี่กองทุนที่ได้รับ 5 globes จากทาง Morningstar

และนี้คือรายชื่อกองทุนในกลุ่มกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่ได้รับการจัดอันดับ Morningstar Sustainability Rating ในระดับ 5 globes

Sustainabilty

ซึ่งในส่วนของรายละเอียดที่มาที่ไป จุดเด่น จุดด้อย ของแต่ละกองทุนนั้น ผมจะมาลงรายละเอียดให้ฟังกันในโอกาสต่อไปครับ 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst