เทคนิคเลือกกองทุนหุ้นไทย

กองทุนหุ้นไทย (ไม่นับรวมกองทุน LTF และ RMF) กว่า 160 กองทุนนั้นจะมีหลักการและเทคนิคในการเลือกลงทุนอย่างไร มาติดตามกันครับ

Facebook Twitter LinkedIn

           ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปีต่อกี่ปี คำถามยอดฮิตตลอดกาลสำหรับการลงทุนก็ยังคงเหมือนเดิมนั้นก็คือ ลงทุนอะไรดี ถ้าเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นก็มักจะถามกันว่า ซื้อหุ้นอะไรดี ถ้าเป็นกองทุนรวมก็ กองทุนไหนดี คำถามเหล่านี้ล้วนแต่เป็นคำถามสุดคลาสสิคที่ทุกคนต้องถามกัน แต่ก็มักจะไม่ค่อยได้คำตอบกันสักเท่าไหร่

แต่จะพูดไปแล้วก็เหมือนเป็นการแก้ตัวแทน แต่ในโลกของความเป็นจริงและโดยเฉพาะโลกของการลงทุนแล้วนั้น มันไม่ได้มีอะไรง่ายขนาดนั้นที่จะสามารถตอบได้เลยทันทีเนื่องจากการเลือกลงทุนนั้นมีปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เป้าหมายทางการลงทุนซึ่งรวมทั้งเรื่องของผลตอบแทนและความเสี่ยง และระยะเวลาในการลงทุน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนทั้งสิ้น

แต่อย่างไรก็ตาม วันนี้เราเทคนิคในการเลือกกองทุนโดยเฉพาะกองทุนหุ้นไทยที่ปัจจุบันนั้นมีให้เลือกมากกว่า 160 กองทุน (ไม่นับรวมกองทุน LTF และ RMF) นักลงทุนส่วนใหญ่คงตาลายกันหมดไม่รู้จะเลือกกองไหนดี อีกทั้งบางท่านอาจจะยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่าแต่ละกองทุนที่มีอยุ่นั้นมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ดังนั้นเวลาเราจะเริ่มลงทุนในกองทุนรวมหุ้นไทยนั้นสามารถทำได้โดย

1. ทำความรู้จักกองทุนรวม ซึ่งถ้าจะให้เริ่มต้นแบ่งประเภทของกองทุนหุ้นไทยที่มีอยู่ในตลาดทุกวันนี้นั้นอาจจะแบ่งได้หลักดังนี้

  • กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ – เน้นลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ (Market Cap) สูงซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่อยู่ในดัชนี SET50 ซึ่งต้องยอมรับว่าหุ้นในกลุ่มนี้นั้นส่วนใหญ่จะมีความผัวผวนต่ำและส่วนมากเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงาน สื่อสาร และธนาคาร
  • กองทุนหุ้นขนาดกลางและเล็ – เน้นลงทุนในมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ (Market Cap) ในระดับกลางและต่ำหรือพวกที่อยู่นอก SET50 นั้นเอง โดยหุ้นกลุ่มนี้จะมีความผัวผวนสูงขึ้นมาหน่อยแต่จะมีความหลากหลายในการลงทุนมากกว่า
  • กองทุนหุ้นตามแต่ละหมวดอุตสาหกรรม หรือที่เค้าเรียกกันว่า Sector Fund นั้นเอง ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เลือกทั้งที่เน้นลงทุนในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยที่กลุ่มนี้ก็จะมีความผัวผวนสุงขึ้นมาอีกเนื่องจากมีการลงทุนเพียงกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวเท่านั้น
  • กองทุนหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ – กองทุนจะเน้นลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนตัวอย่างเช่น กลุ่มหุ้นที่ธุรกิจไม่ได้ผันผวนหรือผันผวนน้อยต่อสภาวะเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มโรงพยาบาล เป็นต้น
  • กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นปันผล – กองทุนจะเน้นลงทุนในบริษัทที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงและมีความสม่ำเสมอ ซึ่งส่วนมากกองทุนก็จะมีการจ่ายเงินปันผลออกมาด้วยเช่นกัน
  • กองทุนรวมดัชนี – กลุ่มนี้จะเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนตามตามดัชนีต่างๆ เช่น SET50 SET100 เป็นต้นซึ่งก็เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ต้องการเสี่ยงว่าจะเลือกผู้จัดการกองทุนที่เก่งหรือไม่เก่ง เพราะผลตอบแทนที่เราจะได้นั้นจะใกล้เคียงกับดัชนีชี้วัดนั้นๆ อีกทั้งค่าธรรมเนียมก็จะถูกกว่ากองทุนอื่นๆที่กล่าวมาทั้งหมด

 

2. ทำความรู้จัก บลจ.และผู้จัดการกองทุน ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเค้าคือผู้ที่นำเงินของเล่าไปลงทุนนั้นเอง ดังนั้นสไตล์การลงทุน ปรัชญาและแนวคิดการลงทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับเป็นอย่างมาก เพราะแต่ละที่ก็มีสไตล์ที่แตกต่างกันไป บางที่อาจจะเน้นซื้อหุ้นและลงทุนยาว หรือบางที่ก็อาจจะเน้นการซื้อขายทำกำไรแบบระยะสั้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นเรื่องน่าแปลกอยู่เหมือนที่เรามักจะไม่ค่อยผู้จัดการกองทุนหรือ บลจ. ในบ้านเรานั้นออกมาทำการโปรโมตตัวเองกันสักเท่าไหร่ว่าตัวเองนั้นมีความเชี่ยวชาญหรือมีสไตล์การลงทุนแบบไหน ดังนั้นวิธีที่จะทำให้เราเข้าใจได้ดีที่สุดนั้นก็คือ การสอบถามพูดคุยกับ บลจ.และผู้จัดการกองทุน และนั้นจะทำให้เราเข้าใจการลงทุนได้ดีมากขึ้นและไม่ตื่นตระหนกจนเกิดเหตุต่อเหตุการณ์ต่างๆ

3. อย่าลงทุนแบบกระจุกตัว ตัวอย่างเช่น ซื้อกองทุน 5 กองทุนโดยที่ทุกกองทุนมีสไตล์แบบหุ้นขนาดใหญ่แบบเดียวกัน เป็นต้น การเลือกลงทุนที่ดีควรเน้นการกระจายการลงทุนเพราะหุ้นในแต่ละประเภทก็จะให้ความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกันเป็น ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนของเรานั้นมีความผันผวนลดลงและมีโอกาสในการรับผลตอบแทนจากตลาดในทุกสถานะการณ์

และท้ายนี้ถึงแม้ว่าการเลือกกองทุนจากผลตอบแทนสูงๆนั้นจะเป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆก็ตาม แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า

กองทุนที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดเสมอไป เพราะการเลือกกองทุนให้เหมาะกับตัวเรานั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่างหาก

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst