ขณะนี้หน้า “จัดการพอร์ตโฟลิโอ” อยู่ในระหว่างปรับปรุงและดำเนินการเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติอย่างเร่งด่วน ทางมอร์นิ่งสตาร์ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

กองทุนรวมในเอเชียโตมากที่สุดในโลก

อุสาหกรรมกองทุนทั่วโลกโตอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนให้ความสำคัญเรื่องของค่าใช้จ่ายที่กองทุนเรียกเก็บ กระแสการลงทุนในกองทุน Passive Fund ทั้งหมดนี้คือเทรนด์การลงทุนล่าสุด

Facebook Twitter LinkedIn

          สัปดาห์ที่แล้วมอร์นิ่งสตาร์มีการจัดงานมอบรางวัลให้กับกองทุนยอดเยี่ยมประจำปีซึ่งนักลงทุนหลายท่านก็คงทราบข่าวกันไปแล้ว แต่อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของงานก็คือ การบรรยายเรื่อง “เงินลงทุนของทั้งโลกผ่านกองทุนรวมประจำปี 2016 (2016 Global Asset Flows Report)” ที่ผ่านมา ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าให้ท่านฟังกันอีกครั้งสำหรับท่านที่พลาดโอกาสฟังกันในงาน

ผลงานวิจัยฉบับดังกล่าวนี้ทาง บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ จะทำออกมาเป็นประจำในทุกๆปีโดยมีจุดประสงค์เพื่อที่รวบรวมข้อมูลเม็ดเงินลงทุนในกองทุนรวมทั่วโลกรวมไปถึงวิเคาระห์ถึงเทรนด์ในการลงทุนที่เกิดขึ้นทั่วโลกอีกด้วย และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาผมขอเริ่มกันที่ภาพรวมของเม็ดเงินลงทุนในกองทุนรวมทั่วโลกกันก่อน โดยที่ในปี 2016 ที่ผ่านมานี้มีเงินไหลเข้ากองทุนรวมทั่วโลกสุทธิทั้งหมด 728,000 ล้านเหรียญ ซึ่งลดลงจากเมื่อปี 2015 ที่มีเงินไหลเข้าทั้งหมด 1 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต่อตลาดลดลงในช่วงปีที่ผ่านมานี้ แต่ทั้งนี้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยรวมนั้นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.65 ล้านล้านเหรียญเนื่องมาจากผลตอบแทนที่ดีในหลายสิ้นทรัพย์ทั่วโลกโดยเฉพาะ ตลาดหุ้นที่โดยรวมเป็นบวกเกือบทั่วโลกในปี 2016 ที่ผ่านมา

และกองทุนรวมในทวีปเอเชียมีอัตราการเติมโต (Organic growth, เม็ดเงินลงทุนใหม่ต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเมื่อปีก่อน) สูงสุดของโลกที่ 11.4% ขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป มีอัตราการโตอยู่ที่ 1.8% และ 2.9% ตามลำดับ

สำหรับกลุ่มสินทรัพย์ที่นักลงทุนทั่วโลกนิยมลงทุนมากที่สุดในปี 2016 ก็คือ กองทุนตราสารหนี้ (Fixed Income) และกองทุนตลาดเงิน (Money Market) โดยทั้ง 2 ประเภทมีเงินไหลเข้าสุทธิอยู่ที่ 412,000 ล้านเหรียญและ 196,000 ล้านเหรียญ ขณะที่กองทุนหุ้นมีเงินไหลออกสุทธิอยู่ที่ -33,000 ล้านเหรียญ ซึ่งตรงนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลที่นักลงทุนมีต่อตลาดหุ้น รวมทั้งข่าวเรื่องของ Brexit และการเลือกตั้งในสหรัฐ เป็นผลให้นักลงทุนหันไปหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่ารวมทั้งขายกองทุนหุ้นเพื่อทำกำไรหลังจากที่ตลาดหุ้นทั่วโลกดีดตัวสูงขึ้นติดต่อกันมาหลายปี

แต่อย่างไรก็ตามเรายังเห็นเม็ดเงินไหลเข้าในกองทุนหุ้นจากนักลงทุนในเอเชียกว่า 47,800 ล้านเหรียญ ในปี 2016 ที่ผ่านมา

และอีกหนึ่งเทรนด์การลงทุนที่สำคัญของโลกในปี 2016 ที่ผ่านมานี้คงหนีไม่พ้นการเติบโตและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องของกองทุน Passive Fund โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกองทุนหุ้นซึ่งจะเห็นความแต่กต่างได้อย่างชัดเจนที่สุดในรอบปีที่ผ่านมาโดยทั้งนักลงทุนทั้งในอเมริกาและยุโรปต่างขายเงินลงทุนออกในกองทุน Active Fund และนำเงินไปลงทุนในกองทุน Passive Fund แทน เหลือเพียงแต่นักลงทุนในเอเชียเท่านั้นที่ยังลงทุนในกองทุนหุ้นแบบ Active Fund ทั้งนี้เป็นเพราะความกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่ายกองทุน (Total Expense Ratio:TER)ที่สูงของกองทุน Active Fund เมื่อเปรียบเทียบกับ Passive Fund บวกกับความผิดหวังในผลการดำเนินงานที่มีต่อกองทุน Active Fund ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และซึ่งตรงจุดนี้เชื่อว่าไม่นานเทรนด์ดังกล่าวนี้ก็คงจะเข้ามาสู่นักลงทุนเอเชียเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามเทรนด์ในเรื่องของค่าใช้จ่ายกองทุนนั้น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ถือว่าเป็นเทรนด์ที่นักลงทุนให้ความสนใจเป็นอย่างมากโดยค่าใช้จ่ายกองทุนดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะลดลงไปอีกทั้งในส่วนของกองทุนหุ้นและกองทุนตราสารหนี้เพราะนักลงทุนเริ่มเห็นถึงผลกระทบที่ค่าใช้จ่ายกองทุนมีต่อผลตอบแทนที่จะได้รับในระยะยาว โดยปัจจุบันนี้ค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวมหุ้นแบบ Active Fund ในอเมริกานั้นอยู่ที่ไม่ถึง 0.8% ขณะที่ กองทุนตราสารหนี้แบบ Active Fund อยู่ที่ประมาณ 0.55% และในขณะที่กองทุนหุ้นและตราสารหนี้แบบ Passive Fund นั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 0.15% เท่านั้น

ExoenseRatio

ท้ายนี้ถ้าจะให้ผมสรุปแบบสั้นๆถึงเทรนด์ในการลงทุนที่เรามองว่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลกนั้นคงหนีไม่พ้นการเติบโตของกองทุนในเอเชียซึ่งน่าจะยังคงโตอย่างเนื่องในอนาคตและอีกหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญคงหนีไม่พ้นเรื่องที่นักลงทุนทั่วโลกหันมาสนใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายกองทุนกันมากขึ้นโดยให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าวเมื่อตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม แล้วนักลงทุนไทยอย่างเราเคยดูกันบ้างรึยัง?

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst