ต้องยอมรับว่า กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ คือหนึ่งในกองทุนตราสารหนี้ที่ดีที่สุดในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากผลงานในการสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 5ปีที่ผ่านมา (3.45% ต่อปี) อีกทั้งการผสมผสานพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมระหว่างตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน และสไตล์การลงทุนแบบเชิงรุกปรับพอร์ตการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์อยุ่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้คือเหตุผลที่ทำให้ กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพได้รางวัล Morningstar Awards กองทุนยอดเยี่ยมประเภทกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นและกองทุนยอดเยี่ยมประเภทกองทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ประเภทตราสารแห่งหนี้ในปีนี้ไปครอง
และนึคือบทสัมภาษณ์พิเศษจากทีมผู้บริหารกองทุน บลจ ธนชาต
คำถาม: กองทุน Thanachart General Fixed Income RMF เป็นกองทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มตราสารหนี้ RMF โดยได้ 4 รางวัลจาก 5 ปีหลังสุดนี้ อะไรคือองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้กองทุนประสบความเร็จอย่างต่อเนื่องและยาวนานจนถึงปัจจุบัน
คำตอบ: การลงทุนในตราสารหนี้ มีปัจจัยสำคัญอยู่ 3 เรื่อง คือ duration , credit rating และ timing แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำทั้ง 3 เรื่องนี้ให้ถูกต้องพร้อมๆ กัน ทำได้ยากมาก เพราะจะต้องใช้ทั้งความชำนาญและประสบการณ์ที่สั่งสมมา ผ่านช่วงเวลาต่างๆเพื่อพิสูจน์ตัวเอง
ความสำเร็จที่ได้มาโดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของ Thanachart General Fixed Income RMF (T-NFRMF) มาจากการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างเหมาะสมตามสภาวะตลาด และยึดมั่นในหัวใจหลักของการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ คือ “เชื่อมั่นในข้อเท็จจริง” ด้วยความเข้าใจทั้งภาวะตลาด ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจปรับ duration ของพอร์ต รวมทั้งความเข้าใจและความสามารถในการประเมินสถานะทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสาร และการจับจังหวะในการซื้อขายด้วย
การลงทุนตราสารหนี้จะแตกต่างจากการลงทุนในหุ้น เพราะเราเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นจริง แต่หุ้นจะมีเรื่องของความคาดหวังต่ออนาคต เพราะฉะนั้นแล้ว บริษัทที่น่าสนใจในฝั่งหุ้น ก็อาจไม่ได้น่าสนใจในฝั่งตราสารหนี้ก็ได้
ผู้จัดการกองทุนจึงต้องไม่ใช้อารมณ์ในการบริหารการลงทุน ต้องเชื่อมั่นในหลักการและปัจจัยพื้นฐาน ไม่ตัดสินใจซื้อหรือขายตราสารหนี้นั้นๆ เพียงเพราะอารมณ์ของตลาดเพียงอย่างเดียว
คำถาม: ผลตอบแทนที่สูงของกองทุน Thanachart General Fixed Income RMF ประกอบกับความเสี่ยงที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม คือจุดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้กองทุนประสบความเร็จ ท่านมีเทคนิคในการเลือกลงทุนอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจเช่นนี้
คำตอบ: เทคนิคในการลงทุนของ บลจ. ธนชาต ในช่วงที่ผ่านมา
- เนื่องจากเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ทำให้มองภาพการลงทุนในมิติที่เป็นระยะยาวมากกว่ากองทุนอื่นๆ แต่เป็นระยะยาวในความหมายของมุมมองและทิศทางการลงทุน ไม่ใช่เรื่องอายุของตราสารแต่เพียงอย่างเดียว
- เน้นลงทุนตราสารภาคเอกชนคุณภาพดี เพื่อให้ได้ผลตอบแทนส่วนเพิ่มจาก Credit spread โดยให้ความสำคัญกับ credit risk ผ่านการประชุมและถกเถียงกันหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายตราสารหนี้เอง ฝ่ายตราสารทุน รวมทั้งฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและความคุ้มค่าในการลงทุน สำหรับ บลจ.ธนชาตนั้น คำว่าตราสารหนี้คุณภาพดี เราจะไม่ดูแต่เฉพาะเครดิตเรตติ้งเท่านั้น เราดูความสามารถชำระหนี้ กระแสเงินสด ความสามารถของผู้บริหาร และความโปร่งใสในการบริหารองค์กรประกอบด้วย เพราะสำหรับผู้จัดการกองทุนแล้ว จะต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ลงทุนในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการเลือกตราสารแต่ละตัว เพื่อให้เห็นภาพชัดลองคิดดูว่าถ้าบริษัท A กับ B มีเครดิตเร้ทติ้งเท่ากัน แต่บริษัท A มีข่าวว่าธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว credit spread ของบริษัท A จึงสูงขึ้น เสมือนบริษัท A ถูกลดเครดิตไปเป็น BBB ทีมงานวิเคราะห์ฐานะทางการเงินบริษัท A แล้ว เห็นว่าไม่ได้ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ พวกเราก็จะเข้าซื้อหุ้นกู้ดังกล่าว
- ปีที่ผ่านมา ในช่วงปลายปีตราสารหนี้ค่อนข้างมีความผันผวน เราจึงแบ่งสัดส่วนการลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทนที่ไม่ผันผวนมาก เพื่อลดความผันผวนของผลตอบแทนในบางช่วงเวลา และมักใช้พันธบัตรภาครัฐซึ่งเป็นตราสารที่มีสภาพคล่องสูงในตลาดรองเป็นสัดส่วนหลักในการสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนที่มาจากการซื้อขายทำกำไร (Trading)
- สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าการลงทุนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะนอกจากระบวนการคัดเลือกตราสารที่ลงทุนแล้ว การเจรจาต่อรองก็ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการบริหารกองทุนที่เราให้ความสำคัญเช่นกัน
คำถาม: กองทุน Thanachart General Fixed Income RMF มีเทคนิคในการคัดเลือกตราสารเพื่อลงทุนอย่างไร และท่านให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อเรื่องของ อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Credit) และอายุของตราสารหนี้ (Duration) รวมถึงเรื่องของการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
คำตอบ: เทคนิคในการคัดเลือกตราสารหนี้ ในการลงทุนของ บลจ.ธนชาต มีดังนี้
- แน่นอนว่าทั้งอัตราดอกเบี้ย อันดับความน่าเชื่อถือ และอายุตราสารหนี้ ถือเป็นกุญแจที่สำคัญสำหรับการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ เราจึงให้ความสำคัญมาก แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและ Yield ที่ได้จากตราสารหนี้ในแต่ละช่วงอายุ มีความสำคัญกันในการกำหนดกลยุทธ์ Duration ของพอร์ต ขณะที่อันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร Credit Rating ก็มีความสำคัญต่อคุณภาพของพอร์ต เราจึงจำเป็นต้องดูทั้งอัตราผลตอบแทนที่ได้และอันดับความน่าเชื่อไปพร้อมๆ กัน
- เพราะการคัดเลือกลงทุนตราสารภาคเอกชนคุณภาพดีและคุ้มค่าที่จะลงทุน จะต้องให้ความสำคัญความสามารถชำระหนี้และความเต็มใจชำระหนี้เป็นหลัก ซึ่งจำเป็นต้องวิเคราะห์และพิจารณาในทุกแง่ทุกมุม ทั้งด้านผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น งบการเงินของบริษัท และให้ความสำคัญด้านกระแสเงินสดของบริษัท และทิศทางธุรกิจในอนาคต เป็นหลัก และต้องมีการทบทวนปัจจัยเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจในสุขภาพบริษัทที่ลงทุนอยู่
- ส่วนการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน เราพิจารณาถึงสภาพคล่องตราสาร การจำกัดสัดส่วนในการลงทุนในตราสารใดตราสารหนึ่งเพื่อไม่ให้เป็นผู้ถือหลัก เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ไม่ให้กระจุกตัว
- การทบทวนอายุตราสารที่เหมาะสมจากแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ แม้จะลงทุนไปแล้ว
- นอกจากนั้น ยังมีฝ่ายบริหารความเสี่ยงของบริษัท ที่จะคอยควบคุมและตรวจสอบตราสารที่เราลงทุนว่า อันดับความน่าเชื่อถือมีการปรับลดปรับเพิ่มหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งยังพิจารณาค่าทางสถิติอื่นๆ เพื่อไม่ให้พอร์ตลงทุนมีความเสี่ยงมากเกินไป
คำถาม: ต่อสถานการณ์เรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ประเภท High Yield ในปัจจุบันที่ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บลจ. ธนชาต มีมุมมองในการลงทุนต่อเรื่องดังกล่าวนี้อย่างไรและท่านมีคำแนะนำต่อผู้ลงทุนที่สนใจในสินทรัพย์ประเภทนี้อย่างไร
คำตอบ: สินทรัพย์ประเภท High Yield มี 2 ประเภท คือ 1. ตราสารหนี้ที่เครดิตเร้ทติ้งต่ำกว่า BBB- ลงมา และ 2. ตราสารหนี้ที่ไม่ได้จัดอันดับความเชื่อถือ ซึ่งในการพิจารณาลงทุนค่อนข้างมีความซับซ้อน เนื่องจาก ข้อมูลที่ได้รับมีน้อย แม้จะให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ แต่ต้องพิจารณาในข้อมูลในเชิงลึกและอาศัยประสบการณ์อยู่พอสมควร
เพราะฉะนั้นผู้ที่สนใจสินทรัพย์ประเภท High Yield จึงต้องทำการบ้านมากกว่าลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป ในหลายเรื่องก็ต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญ ไม่ว่าจะเป็น การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ (Ability to pay) ความเต็มใจในการชำระหนี้ (Willingness to pay) โดยการวิเคราะห์งบการเงิน ทั้งสภาพคล่องทางการเงินบริษัท หนี้สินต่อทุน รวมทั้งความสามารถของผู้บริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทจะสามารถชำระหนี้ได้เมื่อครบกำหนด
ซึ่งเป็นเรื่องยากที่ผู้ลงทุนรายย่อยจะวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ได้ครบถ้วน ดังนั้นถ้านักลงทุนอยากลงทุนในตราสารประเภทนี้จริงๆ ควรซื้อหุ้นกู้เคดิตเร้ทติ้ง BBB+ -ขึ้นไป เนื่องจากมีบริษัทจัดอันเครดิตให้แล้ว หรือเริ่มลงทุนจากกองทุนรวมก่อน เพราะผู้จัดการกองทุนจะมีข้อมูลในเชิงลึก มีโอกาสเข้าพบผู้บริหารบริษัท และมีการติดตามทบทวนคุณภาพของกิจการต่อเนื่อง
คำถาม: หากพูดถึงการลงทุนเพื่อการเกษียณ ท่านมองว่ากองทุน Thanachart General Fixed Income RMF นั้นเหมาะกับผู้ลงทุนแบบไหน และกองทุน Thanachart General Fixed Income RMF ควรมีบทบาทอย่างไรในพอร์ตโฟลิโอของผู้ลงทุน
คำตอบ: กองทุนT-NFRMF เป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เหมาะกับลูกค้าที่หวังผลตอบแทนชนะเงินเฟ้อ และยอมรับความผันผวนของมูลค่าเงินลงทุนได้บ้าง เพราะแน่นอนว่าในบางครั้งตลาดอาจมีความผันผวนเกิดขึ้นได้
บทบาทในพอร์ตของกองทุนนี้ ในแง่หนึ่งก็ทำหน้าที่ลดความผันผวนของพอร์ตลง เพราะไม่ได้ผันผวนเหมือนกองทุนหุ้นเนื่องจากลงทุนในตราสารหนี้ แต่พบว่าสามารถผลตอบแทนได้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ จะเห็นได้ว่าใน 3 ปีที่ผ่านมา กองทุน T-NFRMF สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ประมาณ 3% กว่าๆ เทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่เฉลี่ยอยู่ที่ 0.39% ทำให้ที่กองทุนนี้ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนมาก
แต่เนื่องจากกองทุนนี้มุ่งหาผลตอบแทนที่ดีเหมาะกับความเสี่ยง จึงไม่เหมาะกับการพักเงินในระยะสั้นๆ แบบรอจังหวะสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF ประเภทหุ้น หากผู้ลงทุนสนใจหรือมีวัตถุประสงค์แบบนั้น บลจ.ธนชาต มีอีกกองทุนไว้รองรับอยู่แล้ว คือ T-NMRMF
อย่างที่บอกข้างต้นว่ากองทุนนี้เน้นให้ผลตอบแทนระยะยาว จึงเน้นลงทุนในตราสารพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชน อายุเฉลี่ยของกองทุนประมาณ (Duration) 1-3 ปี เพื่อให้กองทุนมีผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่ง เพราะเชื่อว่าผู้ลงทุนที่ลงทุนในกองทุนนี้ไม่ได้หวังผลตอบแทนในระยะสั้นๆ
ที่ผ่านมากองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (T-NFRMF) เป็นกองทุนตราสารหนี้ที่โดดเด่นมาโดยตลอด ได้รับ Morningstar Awards ประเภทตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพในปี 2556 2558 2559 และ 2560 นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลจากสถาบันอื่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 และยิ่งไปกว่ารางวัลที่การันตีมาแล้วมากมาย ในด้านผลการดำเนินงานก็โดดเด่นไม่แพ้กันเพราะสามารถทำผลงานอยู่ลำดับต้นๆของอุตสาหกรรมมาโดยตลอด
Morningstar Rating 5 ดาว ทุก Period ได้แก่ Overall, 3 / 5 /10 Years (ณ .วันที่ 30 ธ.ค. 2559)
เพราะฉะนั้นนักลงทุนสามารถคาดหวังได้ว่ากองทุนนี้จะสร้างผลตอบแทนที่พอใจอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทำให้เป็นกองทุนหนึ่งที่เหมาะกับกับการลงทุนเพื่อการเกษียณอย่างมาก