ขณะนี้หน้า “จัดการพอร์ตโฟลิโอ” อยู่ในระหว่างปรับปรุงและดำเนินการเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติอย่างเร่งด่วน ทางมอร์นิ่งสตาร์ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

Awards Winner - Equity Large Cap

Morningstar Awards 2017 ประเภทกองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน

Facebook Twitter LinkedIn

Awards

          

         นับเป็นครั้งแรกของ กองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุน ที่สามารถคว้ารางวัล  Morningstar Awards กองทุนยอดเยี่ยมในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ไปได้ ด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มถึงเฉลี่ย 5%ต่อปี ตลอด 5ปีที่ผ่าน อีกทั้งกองทุนยังสามารถคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำเป็นอันดับต้นๆของกลุ่มอีกด้วย และกองทุนยังมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ นี่คือความความโดดเด่นของกองทุนบัวหลวงร่วมทุนครับ

และในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกองทุนเปิดบัวหลวงร่วมทุนกันให้มากยิ่งขึ้นผ่านบทสัมภาษณ์จากทีมผู้จัดการกองทุน บลจ. บัวหลวง

คำถาม: ตลอดปี 2559 ที่ผ่านมานี้กองทุน Bualuang Capital ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการลงทุนหรือไม่ อย่างไร? กรุณาช่วยยกตัวอย่างการลงทุน (หุ้นและหมวดอุตสาหกรรม) ที่โดดเด่นจนทำให้กองทุนประสบความสำเร็จในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา และในปัจจุบันนี้ ท่านมีมุมมองต่อการลงทุนดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร?

คำตอบ: การลงทุนของเรายังคงยึดตาม Investment Theme หลักๆที่ผ่านมา เพราะเป็นการลงทุนระยะยาว จึงไม่ได้เปลี่ยนหุ้นที่เป็น Core Portfolio กันบ่อย ซึ่งที่ผ่านมาเราให้น้ำหนักในกลุ่มค้าปลีก เนื่องจากเราเชื่อว่าเป็น Sector ที่เติบโตไปพร้อมๆกับภาพ Macro ของ ASEAN (การขยายตัวของชนชั้นกลาง กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของ Urbanization) ซึ่งในปี 2559 ที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มนี้ Outperform SET อย่างมาก (ปี 2559  SET +19.8%, Commerce +41%)  นอกจากนี้ เรายังให้น้ำหนักลงทุนใน Energy sector (ปี 2559 Energy +38.4%)  เนื่องจากได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา

สำหรับมุมมองกลุ่มค้าปลีก บลจ.บัวหลวง เชื่อว่า ยังเติบโตไปได้ดี ด้วยปัจจัยตามที่กล่าวไปข้างต้นยังคงมีผลต่อเนื่อง ทั้งยังมีเรื่องของ E-commerce หรือ Online business ที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดให้ภาคค้าปลีกใน ASEAN ให้ขยายตัวได้  สำหรับกลุ่ม Utilities และ Energy ปีนี้เราเน้นไปที่เรื่องของ Renewable Energy เนื่องจากเป็น Global Trend ในอนาคต

แม้ในระยะสั้นจะมีประเด็นที่ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าบางประเภทไปบ้าง แต่จากความพยายามของทุกฝ่ายในการร่วมมือหาทางออก และความที่รัฐบาลยังสนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพราะ เป็น 1 ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงคาดว่า ทุกอย่างน่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีในที่สุด

คำถาม: จากการเปลี่ยนแปลงล่าสุดที่ได้เกิดและกำลังจะเกิดขึ้นอันจะเป็นความเสี่ยงในระดับโลก อาทิเช่น ผู้นำสหรัฐคนใหม่ Brexit ที่จะมีผลในปี 2560 นี้ รวมไปถึงการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่หลายประเทศสำคัญในยุโรป ท่านคิดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศไทยรวมถึงเศรษฐกิจไทยอย่างไร

คำตอบ: ความเสี่ยงในช่วงสั้น คงเป็นเรื่องความผันผวนของ Fund flow ที่เข้า-ออกระหว่างภูมิภาค DM และ EM ซึ่งกระทบต่อ Sentiment การลงทุนในตลาดเงิน-ตลาดทุนชั่วคราว แต่คงไม่ได้กระทบต่อการลงทุนหรือเศรษฐกิจในประเทศไทย เพราะช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐและการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลัก

ระยะยาวความเสี่ยงที่กระทบต่อประเทศไทย มาจาก นโยบายการค้าใหม่ของ US ที่มีต่อจีนและเอเชีย ซึ่งนโยบายต่างๆยังไม่มีความชัดเจนในช่วงนี้ การคาดเดาต่อผลกระทบยังทำได้จำกัด ซึ่งอาจทำให้ภูมิภาคเอเชียต้องค้าขายกันเองมากขึ้น

คำถามในปี 2560 นี้ท่านมีมุมมองต่อการลงทุนในกลุ่มหุ้นไทยขนาดใหญ่อย่างไร ท่านมีมุมมองต่อโอกาสในการลงทุนและความเสี่ยงต่อกลุ่มอุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษหรือไม่ อย่างไร?

คำตอบ: ภาพรวมการลงทุนของ SET ตอนนี้ มี Upside ที่จำกัด ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังต้องใช้เวลา ทำให้การเลือกหุ้นรายตัวมีความสำคัญอยู่มาก เนื่องจากบริษัทไทยขนาดใหญ่มี Growth story ที่ดี มีการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ และหุ้นที่มี Market cap. ขนาดใหญ่ มี Volume การซื้อขายรายวันค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับหุ้นในประเทศ ASEAN หรือมีสภาพคล่องในการซื้อขายที่สูงกว่า จึงนับว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเป็นที่น่าสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ

โดยกลุ่มที่ยังมีความน่าสนใจตอนนี้ ได้สะท้อนผ่าน Theme การลงทุนของ บลจ.บัวหลวง นั่นคือ “ชีวิตสบายด้วยเทคโนโลยี ชีวิตดีด้วยพลังงานสะอาด” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีโดยตรง  ธุรกิจที่มีการปรับใช้เทคโนโลยี หรือได้ประโยชน์ของการพัฒนาทางเทคโนโลยี ซึ่งช่วยเพิ่มขอบเขตในการทำธุรกิจและการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ รวมทั้งกลุ่มที่เทคโนโลยีใหม่ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจที่แตกต่างออกไปจากในอดีต เช่น Renewable  Energy เป็นต้น

คำถาม: สิ่งแรกสำหรับผู้ลงทุนที่สนใจจะลงทุนในกองทุน Bualuang Capital ควรจะทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนรวมไปถึงจุดเด่นที่สำคัญของกองทุนคืออะไร

คำตอบ: สิ่งสำคัญอันดับแรกนั้น นักลงทุนต้องเข้าใจลักษณะการลงทุนของตนเองว่า  รับความเสี่ยงในหุ้นได้มากน้อยแค่ไหน ต้องการลงทุนเพื่อประหยัดภาษีหรือไม่ หรือต้องการลงทุนเพื่อรับเงินปันผล

ถ้าลูกค้าที่ต้องการลงทุนในหุ้น เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว  แต่ก็อยากได้เงินปันผลเป็นระยะๆ ในช่วงที่ลงทุน กองทุน BCAP จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะกองทุน BCAP มีนโยบายจ่ายเงินปันผลสูงสุดไม่เกินปีละ 4 ครั้ง

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนควรเข้าใจ Style การลงทุนของ บลจ.บัวหลวง และ Theme การลงทุน ว่าเป็นอย่างไร เพื่อดูว่าชอบ Style การลงทุนแบบเราหรือไม่ เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง หากนักลงทุนไม่เข้าใจรูปแบบการลงทุนก็อาจจะทนรับผลขาดทุนในช่วงสั้นๆไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเน้นย้ำต่อผู้ถือหน่วยเสมอมา

คำถามทีม/ผู้จัดการกองทุนที่บริหารกองทุน Bualuang Capital นี้มีลักษณะและสไตล์การบริหารกองทุนที่โดดเด่นอย่างไร

คำตอบ: ทุกกองทุนภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.บัวหลวง เรายึดหลักการเดียวกัน นั่นคือ ทีมจัดการลงทุนสามารถ มองหาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อธุรกิจหรือสังคม มากำหนดเป็น Investment Theme ได้ชัดเจน และสามารถหาหุ้นลงทุนที่ได้รับประโยชน์จาก Theme นั้นๆ ได้ ส่วนการเลือกหุ้นรายตัว ได้ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อให้มั่นใจว่า หุ้นที่ลงทุนนั้นมีศักยภาพการเติบโต ความสามารถในการทำกำไรที่สม่ำเสมอ และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบกับมีส่วนต่างของราคาหุ้นปัจจุบันกับมูลค่าที่แท้จริง (Margin of safety)ที่สูง (ทำให้เราสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคา อันเนื่องมาจากความผันผวนของตลาด ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาด)

เมื่อเราพบหุ้นที่มั่นใจที่จะลงทุนแล้ว เราจะให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด หรือ Overweight ในการลงทุน ส่งผลให้ได้ผลตอบแทนแบบเป็นน้ำเป็นเนื้อ นอกจากนี้ การที่เราถืออย่างอดทน ผ่านความผันผวนของตลาด ถือเป็นความได้เปรียบของการลงทุนระยะยาว  

นอกจากนี้ การที่เรามี Teamwork ที่ดี ช่วยให้เราสามารถหา Ideas ใหม่ๆ และ Share idea ร่วมกัน ระหว่างผู้จัดการกองทุนและทีมนักวิเคราะห์

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst