ขณะนี้หน้า “จัดการพอร์ตโฟลิโอ” อยู่ในระหว่างปรับปรุงและดำเนินการเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติอย่างเร่งด่วน ทางมอร์นิ่งสตาร์ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

Best Fund House: Domestic Fixed Income

Morningstar Awards 2017 บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมประเภทการลงทุนตราสารหนี้ภายในประเทศ (Domestic Fixed Income) ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด

Facebook Twitter LinkedIn

Awards

Kasikorn Asset Management Co., Ltd.

Awards Winner in Best Fund House: Domestic Fixed Income

          

          ครั้งแรกกับรางวัล บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมประเภทการลงทุนตราสารหนี้ในภายประเทศ (Domestic Fixed Income) โดย บลจ. กสิกรไทย ถือเป็นอีกหนึ่ง บลจ. ที่มีความโดดเด่นในการบริหารกองทุนตราสารหนี้ทั้งกลุ่มระยะสั้นและระยะยาวโดยสามารถทำผลตอบแทนรวมได้ดีอย่างเสมอมา จุดเด่นคือ team work ในการทำงานรวมกันของทีมผู้จัดการกองทุน การมีวินัยในการลงทุน กล้าตัดสินใจโดยไม่ใช่ความรู้สึกชี้นำ รวมทั้งการประเมิณสภาวะการลงทุนอย่างแม่นยำ และการมีเครื่องมือและบุคคากรที่พร้อมต่องานเนื่องจากต้องบริหารทรัพย์สินและกองทุนเป็นจำนวนมาก เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ บลจ. กสิกรไทยประสบความสำเร็จในครั้งนี้

และนี้คือ บทสัมภาษณ์สุดพิเศษถึงที่มาในความสำเร็จ รวมทั้งมุมมองต่อการลงทุนในปี นี้ด้วย

คำถาม: ครั้งแรกกับการได้รับรางวัล House Awards ของ บลจ. กสิกรไทย ท่านคิดว่าอะไรคือองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ บลจ. กสิกรไทยประสบความสำเร็จในครั้งนี้

คำตอบ: ความสำเร็จในครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกลยุทธ์ในการบริหารจัดการของทีมผู้จัดการกองทุน ที่มีความเป็นมืออาชีพ กล้าตัดสินใจในการลงทุน บวกกับการดำเนินงานแบบ teamwork จึงทำให้การบริหารจัดการ ตลอดจนการประเมินสภาวะตลาดออกมาดี มีความแม่นยำ และสามารถคัดสรรตราสารหนี้ได้ที่มีคุณภาพ มีราคาเหมาะสมเข้ามามากเพียงพอต่อการลงทุน

คำถาม:  บลจ. กสิกรไทย เป็นบลจ. ที่มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหากมากทีสุดในกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ รวมทั้งมีกองทุนภายใต้การบริหารอยู่หลากหลายนโยบาย เม็ดเงินที่ไหลเข้าออกแต่ละกองทุนก็ไม่เท่ากันตามแต่ละช่วงเวลา ท่านมีวิธีการบริหารจัดการต่อเรื่องดังกล่าวอย่างไร

คำตอบ: สำหรับรูปแบบของการบริหารจัดการ บลจ.กสิกรไทย จะมีการบริหารจัดการตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้นำเสนอให้แก่ลูกค้า  ซึ่งแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์การลงทุนมีความชัดเจนในการตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนี้

-       กองทุนแบบกำหนดระยะเวลา ผู้ถือหน่วยไม่สามารถไถ่ถอนก่อนครบกำหนด:
เหมาะกับผู้ถือหน่วยที่ต้องการลงทุนแบบกำหนดระยะเวลาที่จะได้รับเงินคืนในอัตราผลตอบแทนที่แน่นอนและรับทราบล่วงหน้า

-       กองทุนตลาดเงิน/ใกล้เคียงกับตลาดเงิน (K-Treasury, K-Cash, K-Money, K-SF, K-SFPLUS)  ผู้ถือหน่วยสามารถรับเงินได้หลังจากวันที่แสดงความประสงค์จะไถ่ถอนหน่วย 1 วันทำการ:เหมาะกับผู้ถือหน่วยที่ต้องการพักเงินในช่วงเวลาสั้นๆ หรือเพื่อเป็นสภาพคล่องทางการเงิน

-       กองทุนตราสารหนี้ทั่วไป (KPlan1, KCB , K-Fixed) เหมาะกับผู้ถือหน่วยที่ต้องการลงทุนในระยะปานกลางถึงระยะยาวเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่ต้องการกระจายการลงทุน

คำถาม: บลจ. กสิกรไทยมีเทคนิคและสไตล์ในการบริหารกองทุนตราสารหนี้อย่างไร และท่านให้ความสำคัญต่อเรื่องของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) อันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร (Credit) และอายุของตราสารหนี้ (Duration) มากน้อยแค่ไหนในการคัดเลือกตราสารหนี้ที่จะเข้าลงทุน

คำตอบ: บลจ.กสิกรไทย มีเทคนิคและสไตล์ในการบริหารกองทุนตราสารหนี้โดยให้ความสำคัญในเรื่องของความเสี่ยง และสภาพคล่องของกองทุน 

โดยกองทุนประเภทตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้นจะ active ในการหาตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีลงในกองทุนตาม asset allocation model ที่กำหนดไว้   ส่วนกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป ให้ความสำคัญกับ credit risk โดย บลจ.กสิกรไทย จะให้ความสำคัญทั้งในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้และกระจายการลงทุน สำหรับการจัดการ interest rate risk นั้นจะทำ sensitivity เพื่อประเมินความเหมาะสมของอายุตราสารหนี้ (duration) 

คำถาม: อะไรคือจุดเด่นและองค์ประกอบที่สำคัญของทีมผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. กสิกรไทย

คำตอบ:  บลจ.กสิกรไทย มีทีมบุคลากรที่มีคุณภาพ และปริมาณเพียงพอต่อการทำงาน ที่สำคัญคือมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่ดี ให้ความร่วมมือในการหาข้อมูล ศึกษาข้อมูล การระดมสมอง การสอนงาน และสามารถทำงานแทนกันได้ บริษัทมี economy of scale ที่จะลงทุนด้าน software , research และ training

คำถาม: จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐอเมริกาและเม็ดเงินลงทุนที่อาจไหลกลับเข้าสหรัฐอเมริกามากขึ้น ท่านคิดว่าเรื่องดังกล่าวจะส่งผลต่อแนวทางการลงทุนของท่านในปีนี้หรือไม่ อย่างไร และรวมทั้งท่านมีมุมมองต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยอย่างไร

คำตอบ: แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้มากที่เงินทุนจาก emerging countries จะไหลกลับไปยังสหรัฐอเมริกาหากธนาคารกลางสรัฐฯ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องจริง แต่ด้วยเสถียรภาพที่ค่อนข้างดีทั้งทางการเมืองและการเติบโตทางเศรษฐกิจในไทย อีกทั้งสัดส่วนที่นักลงทุนต่างประเทศลงทุนในพันธบัตรของไทยก็ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในย่านเดียวกัน  ผลกระทบจากเงินทุนไหลกลับจึงไม่น่าจะรุนแรงมากนัก  แต่การลงทุนจะมีความระมัดระวังมากขึ้น  แต่ในด้านแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศ  ยังเชื่อว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจอยู่ในภาวะเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวและอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ(แม้จะสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา)   

คำถาม: ต่อสถานการณ์เรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ประเภท High Yield ในปัจจุบันที่ดูเหมือนจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บลจ. กสิกรไทย มีมุมมองในการลงทุนต่อเรื่องดังกล่าวนี้อย่างไรและท่านมีคำแนะนำต่อผู้ลงทุนที่สนใจในสินทรัพย์ประเภทนี้อย่างไร

คำตอบ: High yield instrument มีความเสี่ยงตามประเภทของตัวเองอยู่แล้ว  ดังนั้นผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นรายย่อยหรือรายใหญ่ ไม่ว่าจะลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือลงทุนเองโดยตรง  ความรู้ความเข้าใจถึงความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญ  เช่น การที่ตราสารหนี้ถูกลดอันดับเครดิตลงมาต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้(investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับเครดิต(unrated/non-rated) มิได้หมายถึงตราสารหนี้นั้นจะผิดนัดชำระหนี้แน่นอน  เพียงแต่โดยสถิติจะมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระสูงกว่าตราสารหนี้ที่มีอันดับเครดิตที่ลงทุนได้ 

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนสถาบันหรือบุคคลทั่วไปก็ตาม ที่สนใจลงทุนใน high yield instrument ควรจะต้องมีการศึกษาและหาข้อมูล  ตลอดจนวิเคราะห์ความเสี่ยงตราสารประเภทนี้มากกว่าปกติ มิใช่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าเป็นเครื่องชี้นำความรู้สึกไปก่อน

คำแนะนำ : กองทุนตราสารหนี้เป็นได้ทั้งแหล่งพักเงินและทรัพย์สินหนึ่งที่มีไว้เพื่อกระจายการลงทุน ไม่ยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจ ขอเพียงให้เราใส่ใจและหาความรู้ก่อนที่จะลงทุน เท่านั้นเอง

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst