ขณะนี้หน้า “จัดการพอร์ตโฟลิโอ” อยู่ในระหว่างปรับปรุงและดำเนินการเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติอย่างเร่งด่วน ทางมอร์นิ่งสตาร์ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้

เรื่องวุ่นๆของ ตั๋วBE กับกองทุนรวม

วันนี้ผมมีข้อคิดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับเรื่องของตั๋วB/E ที่กำลังฮ็อตอยู่ในตอนนี้มาฝากกันครับ

Facebook Twitter LinkedIn

          ช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมานี้นักลงทุนคงได้ยินข่าว (ไม่ค่อยดี) เรื่องของการลงทุนใน ตั๋วแลกเงิน หรือ Bill of Exchange (B/E) หรือหากใครยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ผมขอสรุปสั้นๆให้ฟังดังนี้ เรื่องของเรื่องก็คือ ตั่วแลกเงินของบริษัทที่กองทุนไปลงทุนนั้นได้เกิดมีการผิดชำระหนี้ขึ้นซึ่งก็ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวมกองนั้นลดลงเป็นเหตุให้ผลตอบแทนติดลบนั้นเอง

แล้วประเด็นนี้น่าสนใจอย่างไร? ความน่าสนใจก็คือ เหตุการณ์แบบนี้มันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับการลงทุนผ่านกองทุนรวม แต่ก็ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นไม่ได้เลยเพราะอย่างที่เราๆทราบกันก็คือ “การลงทุนมีความเสี่ยง” และถ้าหากเราไม่เสี่ยงเลยโอกาสที่เราจะได้รับผลตอบแทนนั้นก็คงไม่มีหรือได้กลับมาน้อยมาก

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในกองทุนรวมอย่างมากเพราะในสายตาของนักลงทุนทั่วๆไปบางส่วนนั้นยังคงมีความคิดแบบเดิมๆว่า กองทุนเป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความปลอดภัยสูง เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะกองทุนในบ้านเรานั้นมากกว่า 80% นั้นมีการซื้อขายผ่านธนาคาร ซึ่งก็มีความน่าเชื่ออยู่ในตัวเองอยู่แล้ว หรือในบางครั้งก็ถือเป็นเครื่องมือบริหารเงินที่เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์เงินฝาก ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนประเภท Term Fund ที่มีการกำหนดอายุโครงการและคาดการณ์ผลตอบแทนไว้อย่างชัดเจน

ถึงตรงนี้ผมต้องบอกเลยว่า กองทุนรวมในประเทศไทยเราทุกวันนี้นั้นได้มีการพัฒนาการไปมากจนเรียกได้ว่าทัดเทียมกับต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายให้เลือกลงทุนและรวมไปถึงกฎเกณฑ์การลทุนต่างๆ ดังนั้นนักลงทุนต้องลืมภาพเก่าๆของกองทุนรวมเมื่อ 10ปี ที่แล้วออกไปได้แล้ว

และหากจะพูดไปถึงกรณีที่เกิดปัญหาของกองทุนรวมที่ไปลงทุนในตั๋วแลกเงินแล้วเกิดการผิดนัดชำระหนี้นี้ก็ต้องถือว่าเป็นผลพวงมาจากพัฒนาการของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอย่างหนึ่งเนื่องมาจากการเปิดเกณฑ์การลงทุนใหม่เมื่อ 2 ปีที่แล้วที่มีการอนุญาตให้ผู้ลงทุนที่เป็นกลุ่ม Accredited Investor (ผู้ลงทุนที่มีความรู้ความสามารถเข้าใจการลงทุนเป็นอย่างดี กลุ่มผู้ลงทันสถาบัน หรือผู้ลงทุนที่มีความมั่งคั่งสูง เป็นต้น) สามารถลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ประเภท High Yield ได้ 100% ซึ่งก็รวมไปถึง ตั๋วแลกเงิน ที่ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ (non-investment grade) หรือกลุ่มที่ไม่ได้จัดอันดับ (unrated) ซึ่งนั้นก็หมายความว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงนั้นเอง

แต่ทั้งนี้จากที่ผมสังเกตก็ต้องยอมรับว่าการเปิดเผยข้อมูลของกองทุนประเภท High Yield นี้นั้นมีการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะในส่วนของรายละเอียดการลงทุนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว โดยกองทุนนั้นจะบอกถึงตราสารที่กองทุนจะทำการลงทุนพร้อมอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารนั้นๆ รวมไปถึงสัดส่วนที่คาดว่าจะลงทุนพร้อมกับการคาดการณ์ผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างการแจ้งรายละเอียดการลงทุนในกองทุน ประเภท High Yield

sample

ซึ่งจากจุดนี้ผมบอกได้เลยว่ากองทุนประเภทดังกล่าวนี้มีการให้ข้อมูลที่ละเอียดชัดเจนมากกว่ากองทุนประเภทอื่นๆด้วยๆซ้ำไปที่เรามักจะได้เพียงแต่อ่านนโยบายการลงทุนเท่านั้นหรืออย่างมากก็รู้เพียง 5 อันดับแรกของตราสารที่กองทุนนั้นๆลงทุน

ดังนั้นตัวผู้ลงทุนเองต่างหากที่จะต้องอ่านและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังจะลงทุนให้ละเอียดพร้อมทั้งทำการประเมิณว่าตัวเรานั้นสามารถรับความเสี่ยงดังกล่าวได้หรือไม่ ก่อนที่เราจะตัดสินใจทำการลงทุน ไม่ใช่เพียงแต่ว่าเห็นผลตอบแทนกองทุนนั้นสูงก็จะเข้าไปลงทุนโดยไม่ได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมให้ดีเสียก่อน เพราะความเสี่ยงที่ส่วนตัวผมคิดว่าน่ากลัวที่สุดนั้นก็คือ “การที่เราไม่รู้ว่าเรากำลังลงทุนอะไรอยู่นั้นเอง”

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst