นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันและครั้งที่ 3 สำหรับกองทุน K Fixed Income ของ บลจ. กสิกรไทยที่สามารถคว้ารางวัล Morningstar Awards กองทุนยอดเยี่ยมในกลุ่มกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางและยาว ดังนั้นคงจะไม่เป็นการเกินไปที่จะบอกว่า กองทุน K Fixed Income เป็นกองทุนที่ดีที่สุดในกลุ่มนี้ตลอดช่วง 5ปีที่ผ่านมา พิสูจน์จากผลตอบแทนที่โดดเด่นระดับ 3.71%ต่อปี ที่มาพร้อมกับความกดดันด้วยความที่เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางและยาวที่ใหญ่ที่สุดในอตุสาหกรรมโดยมีมูลค่าทรพย์สินสุทธิสูงกว่า 80,000 ล้านบาท แต่ทีมผู้จัดการกองทุนที่มากประสบการณ์ก็ยังสามารถเอาอยู่
เทคนิคในการบริหารจะเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้จากบทสัมภาษณ์พิเศษจากทีมผู้บริหารกองทุน บลจ กสิกรไทย
คำถาม: สไตล์และปรัชญาการลงทุนที่สาคัญของกองทุน K Fixed Income ที่นักลงทุนควรทราบและทาความเข้าใจก่อนลงทุนมีอะไรบ้าง
คำตอบ: K Fixed Income (K-Fixed) เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคงสูง เหมาะสาหรับนักลงทุน ที่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในเงินฝากประจา กองทุนตลาดเงิน และตราสารหนี้ระยะสั้น ภายใต้กรอบระยะเวลาการลงทุนตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป กองทุนลงทุนในตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงยาว มีอายุเฉลี่ยของตราสารเคลื่อนไหวระหว่าง 2-4 ปี ตามแต่ความเหมาะสมต่อสภาวะตลาดขณะนั้น พยายามลดความผันผวนของราคาในช่วงเวลาที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม (Alpha) หากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับตัวลดลง
กลยุทธ์การลงทุนเป็นไปแบบ Core & Satellite Approach ซึ่งจัดพอร์ตการลงทุนทีมีสินทรัพย์หลัก (Core Asset) ประมาณ 70% - 80% เพื่อให้กองทุนได้รับผลตอบแทนขั้นต่าตามเป้าหมายวัตถุประสงค์หลักและมีการบริหารสินทรัพย์ส่วนเสริม (Satellite Asset) ประมาณ 20%-30% ในลักษณะการลงทุนแบบเชิงรุก (Active Management) เพื่อหาจังหวะในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติมสาหรับกองทุน (Alpha) ทาให้ผลตอบแทนกองทุนสูงกว่าคู่แข่งและ Benchmark อย่างต่อเนื่อง
คำถาม: เทคนิคที่สาคัญในการเลือกตราสารหนี้เข้าพอร์ตลงทุนของกองทุน K Fixed Incomeมีอะไรบ้างและกองทุนมีการเน้นลงทุนในตราสารหนี้ชนิดใดเป็นพิเศษหรือไม่
คำตอบ: การคัดเลือกสินทรัพย์เข้ากองทุน K-Fixed นั้นใช้เทคนิคและหลายอย่าง เพื่อให้พอร์ตสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง พร้อมการจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุม เริ่มจากการคัดเลือกเฉพาะตราสารหนี้คุณภาพดี (High Credit quality) อาศัยทีมนักวิเคราะห์ที่มีความชานาญในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม มีการทาระบบประเมินความเสี่ยงภายใน (Internal Credit Assessment/ Credit Scoring) ซึ่งผ่านการกลั่นกรองจากทั้งคณะกรรมการลงทุนและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง นอกจากนี้กองทุนยังมีการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนโดยรวม (Total return) ซึ่งพิจารณาจากระดับอัตราผลตอบแทน (Current & Expected Yield Level) ความชันของเส้นอัตราผลตอบแทน (Slope of Curve) และส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (Credit Spreads) ประกอบกับการกาหนดจังหวะตลาดที่เหมาะสม (Market Timing) ในการเข้าลงทุน กองทุนยังมีบริหารจัดการความเสี่ยงทั้งในด้าน ความผันผวนจากราคาตลาด (Market Risk) , การกระจุกตัวของตราสาร (Concentration), Value at Risk (VaR) และ ระดับสภาพคล่อง (Liquidity Level) ทุกวันเพื่อให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าระดับความเสี่ยงของตราสารและกองทุนในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมควบคู่กันไป
ในช่วงปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนค่อนข้างมาก ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ กองทุนจึงเน้นการลงทุนแบบผสมผสาน ไม่ได้เน้นลงทุนในตราสารหนี้ชนิดใดเป็นพิเศษ แต่ให้ความสนใจในเรื่องการปรับเปลี่ยนประเภทสินทรัพย์(Dynamic Asset Allocation) ตามสภาวการณ์ในขณะนั้น ทั้งในส่วนตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชนที่มีความมั่นคงสูง และเงินฝากในสถาบันการเงินเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับกองทุนอย่างสม่าเสมอ อาทิเช่น K-Fixed จะเน้นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่มีสภาพคล่องสูงมากขึ้นสาหรับช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูง เพื่อใช้ช่วยในการปรับเพิ่มและลดดูเรชั่น แต่สาหรับช่วงเวลาที่ความผันผวนของตลาดตราสารหนี้มีไม่มาก K-Fixed จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนเพื่อหาอัตราผลตอบแทนเพิ่มเติมจาก Credit Spread
คำถาม: ปัจจัยในการลงทุนและจุดเด่นที่สาคัญที่ทาให้กองทุน K Fixed Incomeประสบความสาเร็จมาโดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมาคือ
คำตอบ: ความสาเร็จมาโดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของ K-Fixed มาจากการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้เหมาะสมตามสภาวะตลาด โดยอาศัยปัจจัยต่างๆได้แก่
- การมีบริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active Management) ภายใต้กระบวนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจน และยืดหยุ่น กลยุทธ์มีการปรับเปลี่ยนสอดคล้องกับตลาด จากมติคณะกรรมการลงทุนตราสารหนี้ซึ่งมีการจัดประชุมทุก 2 สัปดาห์ อีกทั้งคณะกรรมการยังลงลึกไปถึงระดับกลยุทธ์ของพอร์ตการลงทุนแต่ละประเภท
- การมีข้อมูลและเครื่องมือการตัดสินใจที่พร้อม เน้นการทาวิจัยด้วยตนเองเชิงลึก ประกอบกับข้อมูลตลาด (In-house Research) พัฒนาโมเดลภายใน (Internal Model) ต่างๆมาช่วยในการตัดสินใจให้รวดเร็วและแม่นยามากยิ่งขึ้น อาทิเช่น Model การคำนวณเปรียบเทียบของตราสารในช่วงอายุต่างๆ (Term structure) ว่าในแต่ละขณะตราสารในกลุ่มอายุใดมีอัตราผลตอบแทนรวม (Total Return Analysis) และความเสี่ยงที่น่าสนใจที่สุดเพื่อปรับเน้นเพิ่มน้าหนักการลงทุน
- การมีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทุกประเด็น ให้ความสาคัญต่อทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Qualitative & Quantitative Factors) KAsset นั้นไม่สนใจเพียงแต่ความสามารถในการทากาไรของบริษัทเพียงอย่างเดียว ยังพิจารณาปัจจัยเชิงคุณภาพหลายอย่างที่ส่งผลต่อการดาเนินธุรกิจในระยะยาวอาทิเช่น Corporate Governance และประสบการณ์ของผู้บริหาร อีกทั้งการวิเคราะห์เน้นทั้งในส่วนการมองภาพรวมขอเศรษฐกิจไปยังผลกระทบต่อตราสารหนี้(Top-Down) และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของตราสารแต่ละตัว (Bottom Up) ควบคู่กันทาให้เห็นภาพที่เชื่อมโยงกันรอบด้าน
จากปี 2558 กองทุนมีการเพิ่มดูเรชั่นในช่วงต้นปี ก่อนมีการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนรวมทั้งการลงทุนในตราสารหนี้เอกชน ในช่วงก่อนที่ Credit Spread ของตราสารจะปรับตัวลดลงโดยทาการเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการชำระหนี้สูง และลดสัดส่วนหุ้นกู้ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
โดยปัจจัยข้างต้นดังกล่าวทาให้กลุ่มกองทุนตราหนี้ของKAsset มีผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นได้ในปี 2558 ที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว(Morning Star Categories) ของ KAsset มีอัตราผลตอบแทนติด 3 ใน 5 อันดับแรก โดย K-FIXED อันดับ 1 - 3.79% , KFIRMF - อันดับ 4 - 3.53%, KACB - อันดับ 5 - 3.51%
คำถาม: ในปี 2559 นี้ บลจ. กสิกรไทยมีมุมมองต่อโอกาสในการลงทุนตราสารหนี้ และอนาคตแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศอย่างไร รวมถึงมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง
คำตอบ: KAsset มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่1.50% ตลอดทั้งปี เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะการส่งออกของประเทศ ความแตกต่างกันของนโยบายดอกเบี้ยโลก ภัยแล้ง รายได้ภาคเกษตร ความไม่แน่นอนทางการเมือง และประสิทธิภาพการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตามแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ประสิทธิผลของการลดดอกเบี้ยอีกครั้งยังไม่น่าชัดเจนนัก ธปท. อาจชะลอการลดดอกเบี้ยไว้ในกรณีจาเป็น
KAsset คาดว่าพันธบัตรระยะกลางถึงยาว (อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป) ทยอยปรับตัวขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามตราสารหนี้ของกลุ่มประเทศหลักอย่างไรก็ตาม แต่การปรับขึ้นน่าจะอยู่ในกรอบแคบ เนื่องจากแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในระดับต่า ทั้งนี้มีความเสี่ยงที่อัตราผลตอบแทนจะกลับมาปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว การเพิ่มดอกเบี้ยของ Fed และราคาน้ามันที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นมีโอกาสทาให้ Fund flow ไหลกลับไปยังสินทรัพย์ความเสี่ยงสูง ในขณะที่ดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่าเป็นเวลานาน ทาให้นักลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทั้งในด้าน Market risk และ Credit risk
ดังนั้น การลงทุนในตราสารหนี้ในขณะนี้ต้องดาเนินกลยุทธ์แบบระมัดระวังเพราะอัตราดอกเบี้ย และ credit risk มีโอกาสเปลี่ยนแปลงสูงโดย KAsset มีการเตรียมความพร้อมสาหรับ K-Fixed ด้วยการรักษาสภาพคล่องของกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอสาหรับการปรับทิศทางการลงทุน เช่น ลดดูเรชั่น ในช่วงจังหวะที่เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น และติดตามตราสารที่ลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านValuation สภาพคล่อง และประเมินความเสี่ยงด้าน Credit risk ซึ่งมีการวิเคราะห์ความสามารถในการชาระหนี้ในแต่ละผู้ออกตราสารโดยละเอียดพร้อมมีการทา Internal Credit scoring ที่ยึดหลักระมัดระวังเป็นระยะ
คำถาม: Fund Flow เป็นจานวนมากที่ไหลเข้ากองทุน K Fixed Income ในช่วงปีที่ผ่านมาถือเป็นอุปสรรคในการบริหารกองทุนหรือไม่ อย่างไร และผู้จัดการกองทุนมีวิธีบริหารจัดการอย่างไร
คำตอบ: ด้วยขนาดสินทรัพย์ของ K-Fixed ในปัจจุบันยังไม่เป็นปัญหาในการบริหารจัดการเนื่องจาก KAsset มีระบบรองรับการบริหารสินทรัพย์และการตรวจสอบการลงทุนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ มีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนตราสารหนี้ขนาดใหญ่ มีแผนก Dealing ที่มีความชานาญในตลาดและมีแบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนทาให้สามารถทาการซื้อขายสินทรัพย์ได้อย่างคล่องตัว
ในส่วนแนวทางการบริหาร KAsset มีทาการจาลองสถานการณ์ Fund flowในกรณีต่างๆ เพื่อ กาหนดแผนการลงทุนไว้ล่วงหน้า ซึ่งสถานการณ์ในปีที่แล้วอยู่ในหนึ่งแผนที่รองรับไว้ทาให้สามารถบริหารกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นส่วนงานบริหารความเสี่ยงมีการจัดทา Stress test และ Liquidity Management report อย่างสม่าเสมอ โดยใช้ปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของผู้ลงทุน ในการกาหนดระดับสภาพคล่องที่เหมาะสม ทั้งนี้ การกองทุนขนาดใหญ่จาเป็นต้องมีวินัยและปฏิบัติตามกระบวนการลงทุนอย่างเคร่งครัด (Disciplined and Thorough in Investment Process) โดยผู้จัดการกองทุนจะต้องยึดมั่นปฏิบัติตามกระบวนการตัดสินใจลงทุนที่ได้กาหนดไว้อย่างเคร่งครัด มีวินัยที่จะปฏิบัติตามมติคณะกรรมการพิจารณาการลงทุน และติดตามการลงทุนอย่างใกล้ชิด เพื่อพิจารณานาเสนอและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ลงทุนใหม่ได้ทันต่อภาวะตลาดในขณะนั้น
คำถาม: สำหรับนักลงทุนที่กาลังสนใจลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ อะไรคือปัจจัยที่สาคัญที่ควรดูก่อนเลือกลงทุน
คำตอบ: นักลงทุนควรตั้งเป้าหมายการลงทุน และพิจารณาระดับความเสี่ยงที่รับได้ และข้อจากัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความต้องการด้านสภาพคล่อง ระยะเวลาการลงทุน รวมถึงประเด็นด้านภาษี และกฎหมายก่อนการลงทุนใดๆ
นอกจากนั้น นักลงทุนควรเข้าใจถึงความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งในเรื่องความผันผวนของราคา โดยมูลค่าตราสารหนี้มีความผันผวนเช่นเดียวกับหลักทรัพย์อื่น โดยตราสารหนี้ระยะยาวจะมีความผันผวนมากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งเหมาะสมกับการลงทุนระยะยาวมากกว่า
ความเสี่ยงอีกส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการชาระหนี้ของผู้ออกตราสาร ทั้งนี้ KAsset พิจารณาเลือกตราสารที่มี่คุณภาพดี มีกระบวนการประเมิน และทบทวนบริษัทผู้ออกตราสารอย่างละเอียด วิเคราะห์สถานภาพทางการเงินของบริษัทผู้ออกตราสาร เพื่อจัดทาสมมติฐานในด้านธุรกิจที่เหมาะสม จัดทาประมาณการ และพิจารณาความสามารถในการชาระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือชี้ชวน, รายงานประจาปี และ Morningstar
คำถาม: สิ่งที่นักลงทุนสามารถคาดหวังได้จากการลงทุนในกองทุนของท่านคืออะไร
คำตอบ: จุดเด่นหลักของ K-Fixed คือให้อัตราผลตอบแทนคาดหวังที่สูงกว่ากองทุนตลาดเงินและตราสารหนี้ระยะสั้นสาหรับผู้ลงทุนที่สามารถจะนาเงินลงทุนในกองทุนในระยะปานกลางถึงยาว รวมทั้งสามารถรับความผันผวนที่เกิดขึ้นในระยะสั้นได้ ซึ่งเหมาะสาหรับการกระจายเงินลงทุนส่วนหนึ่งที่ไม่มีความจาเป็นต้องใช้ในช่วงสั้นๆออกจากกองทุนรวมตลาดเงินมาอยู่ที่กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น