บริษัทในตลาดและ Private Equity
Morningstar - 31/10/2567
ในโลกแห่งการลงทุนมีแนวคิดที่จะผสมการลงทุนระหว่างหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และหุ้นของบริษัทที่อยู่นอกตลาดหรือ Private assets เข้าด้วยกันเพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้าลงทุนได้
ทั้งนี้กองทุนรวมได้มีการลงทุนผ่านสินทรัพย์ทั้ง 2 อย่างนี้มาได้หลายปีแล้วภายใต้กฏของ กลต ที่กำหนดให้ลงทุนได้ในสัดส่วนที่ไม่เกิน 15% ของกองทุนสำหรับสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ ซึ่งที่ผ่านมา Private assets เหมือนเป็นสินทรัพย์สำหรับกองทุนปิดเท่านั้นแต่โครงสร้างการลงทุนใหม่ของกองทุนรวมนี้ทำให้สามารถลงทุนใน Private assets ได้
อย่างไรก็ดีการลงทุนใน Private assets ของกองทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากผลการวิจัยพบว่าไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก การลงทุนในบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และการถือครอง Private assets ยังมีสภาพคล่องที่ต่ำอีกด้วย
สภาพคล่องคือหัวใจหลักของ Private Equity
ข้อเสียที่สุดของการลงทุนในหุ้นของ Private company ก็คือการซื้อขายได้ยาก โดยเฉลี่ยในแต่ละไตรมาสพบว่ากองทุนจะมีการซื้อหรือขายหุ้นของ Private company น้อยกว่า 1% ของหุ้นที่ลงทุน
การเข้าลงทุนใน Private company ส่วนใหญ่ของกองทุนเกิดขึ้นจากการเพิ่มเงินทุนของกิจการ ส่วนการซื้อขายในตลาดรองนั้นแทบจะไม่มีเกิดขึ้นเรย หรือมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยเพียงไตรมาสละ 0.3% ของสินทรัพย์ ดังนั้นกองทุนก็จะถือสถานะการลงทุนใน Private company ไปจนกว่าบริษัทนั้นๆจะทำการขายหุ้นให้แก่นักลงทุนเป็นการทั่วไปหรือจดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ผ่านการ IPO นั่นเอง
Quarterly Dollar Volume Traded of Private Company Equites
ทั้งนี้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องต่ำไม่ได้เกิดจากการไม่มีตลาดรองรับการซื้อขาย แต่เกิดจากกฏเกณฑ์ข้อจำกัดของหน่วยงานรัฐและจาก Private company นี้เองที่ทำให้หุ้นไม่มีสภาพคล่องพอ หลายๆบริษัทยังคงสภาพเป็นหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่นๆตามกฏของ กลต (กรณีที่จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์) นอกจากนี้ในฐานะผู้ถือหุ้นยังมีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการหรือการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและกลยุทธ์องกรค์ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Private company อยากจำกัดจำนวนผู้ถือหุ้นของกิจการ นอกจากนี้ Private company มักจะสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการขายของผู้ถือหุ้นรายใดๆและสามารถจํากัดการขายหุ้นในตลาดรองได้อีกด้วย ซึ่งยิ่งทำให้การบริหารจัดการกองทุนที่ลงทุนใน Private company มีความซับซ้อนมากขึ้น
จะลงทุนใน Private Equity ที่ไม่มีสภาพคล่องได้อย่างไร
ด้วยสภาพคล่องในการซื้อขายของ Private company ที่ต่ำ นักลงทุนควรจะได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุน แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งจากตัวอย่างจะพบว่าการลงทุนของกองทุนใน Private company มักจะขาดทุนและให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าดัชนี Russell 2000 Growth ในช่วงเวลาลงทุนที่เท่ากัน
Annualized Return Distributions 2014-24: Mutual Funds' Private Company Positions Vs. Russell 2000 Growth
โดยปกติกองทุนรวมมักต้องการลงทุนในบริษัทเอกชนที่สร้างรายได้มีกำไรและมีเป้าหมายที่จะขายหุ้น IPO ต่อไปเนื่องจากกองทุนรวมไม่ต้องการลงทุนอยู่ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำนานๆ กองทุนจึงมักจะไม่ลงทุนในช่วงที่กิจการยังมีความเสี่ยงสูงเช่นช่วงเริ่มก่อตั้งกิจการ (Startup) ซึ่งเป็นช่วงที่มักจะให้ผลตอบแทนที่สูงมาก การลงทุนของกองทุนจึงมักจะเข้าไปลงทุนหลังจากช่วงที่กิจการมีกำไรแล้วซึ่งเป็นช่วงที่ผลตอบแทนที่ได้รับจาก Private company นั้นน้อยมาก
กองทุนรวมได้ประโยชน์จากการลงทุนใน Private Equity หรือไม่
ความจริงแล้วผลตอบแทนจากการลงทุนใน Private company จนถึงช่วงหลังจาก IPO ก็ไม่ได้แย่มาก โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแก่กองทุนประมาณ 41% (แต่ยังน้อยกว่าผลตอบแทนของกองทุนที่ลงทุนใน S&P 500 ซึ่งให้ผลตอบแทน 45%ในช่วงเวลาเดียวกัน) ซึ่งราคาหุ้นของ Private company จะอยู่ในระดับสูงไประยะหนึ่งหลังจากการ IPO ไปจนกว่าถึงเวลาที่ผู้ถือหุ้นบางกลุ่มมีสิทธิขายหุ้นในตลาดหรือหมดช่วง Lockup period ซึ่งราคาหุ้นก็มักจะปรับลงหลังจากนั้น (Lockup period คือช่วงเวลาที่ห้ามไม่ให้ผู้ถือหุ้นบางกลุ่มที่มักจะมีข้อมูลภายในบริษัท ไม่ให้ทำการขายหุ้นออกมาเป็นระยะเวลา 6 เดือนหลังจาก IPO)
Returns on Private Company Equity Positions in Mutual Funds
ตัวอย่างการลงทุนที่ขาดทุนของกองทุน เช่น หุ้น SpaceX ซึ่งแทบจะไม่สร้างผลกำไรได้จริงเรย แต่ราคาหุ้นปรับขึ้นจากความคาดหวังของกิจการที่จะส่งยานขึ้นไปยังดาวอังคาร
Returns Comparison
การบริหารพอร์ตการลงทุนของกองทุนเปิดในหุ้นของ Private company จึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากจากสภาพคล่องที่ต่ำและปริมาณการระดมทุนที่น้อย แม้กระทั่งในกองทุนที่จำกัดความถี่ของเงินที่ไหลเข้าออกก็ตาม โดยในช่วงที่กองทุนให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีก็มักจะมีเงินไหลออกมากเช่นกัน การจำกัดสัดส่วนการถอนหน่วยของนักลงทุนจึงช่วยกองทุนได้บ้างเพื่อไม่ให้เจอกับเงินที่ไหลออกจำนวนมาก แต่การที่เงินไหลออกและกองทุนต้องขายสินทรัพย์เพื่อมารองรับเงินที่ไหลออกจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักโดยเฉพาะสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำอย่าง Private company แม้ราคาจะปรับลงมามากแล้วก็ตามแต่แรงขายของกองทุนก็จะทำให้มูลค่าของ Private company ลดต่ำลงได้ต่อเนื่อง