Awards Winner - Short Term Bond

Morningstar Awards 2015 ประเภทกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (Short Term Bond) ได้แก่ กองทุนเปิด เอกตราสารหนี้คืนกำไร

Facebook Twitter LinkedIn

Awards Logo

ความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนที่ดีและสามารถเอาชนะค่าเฉลี่ยของกลุ่มในทุกๆปี ตลอดจนการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม คืจุดเด่นที่ทำให้กองทุนเปิด เอกตราสารหนี้คืนกำไร (ONE-FAR) สามารถคว้ารางวัล Morningstar Awards 2015 ประเภทกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น (Short Term Bond) ในปีนี้ไปครอง

กองทุนเปิด ONE-FAR มีนโยบายการลงทุนเน้นตราสารแห่งหนี้ในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีความมั่นคงเป็นหลัก ทั้งนี้ กองทุนฯ จะบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active Management) โดยมีการดำเนินกลยุทธ์ 2 แบบ ควบคู่กัน คือ

1. กลยุทธ์การคัดเลือกตราสารหนี้ (Security selection) ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้อื่นๆและมีความมั่นคง โดยพิจารณาลงทุนในตราสารที่ผู้ออกตราสารมี Credit Rating ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade ขึ้นไปเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกตราสาร เพื่อสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสมกับผลตอบแทนอย่างมีประสิทธิภาพ

2. กลยุทธ์การทำ Market timing ตามสถานการณ์และทิศทางการลงทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอเพื่อพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ที่สอดคล้องกับช่วงเวลานั้นๆ (Market Timing) อาทิเช่น ผู้จัดการกองทุนอาจทำการขายตราสารหนี้อายุคงเหลือระยะยาวออกเพื่อ Short Duration หากคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนตราสารหนี้มีทิศทางที่ปรับตัวลดลง และทำการ Long Duration หากคาดว่าอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรตราสารหนี้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เพื่อลดความผันผวนของกองทุน เป็นต้น

ขณะที่ ด้านการบริหารความเสี่ยงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ทาง บลจ.วรรณ ให้ความสำคัญควบคู่ไปการบริหารกองทุนตามกลยุทธ์ที่กล่าวในเบื้องต้นเพื่อให้ชนะผลตอบแทนที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานฯ แล้วนั้น โดยฝ่ายบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เพื่อนำเอาเครื่องมือต่างๆที่มีการพัฒนาทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการกองทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และ อยู่ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่กำหนดโดยครอบคุลมทั้งด้านความเสี่ยงตลาด (Market Risk) ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) และความเสี่ยงเชิงปฏิบัติการ (Operation Risk) ของตราสารแต่ละตัวที่กองทุนลงทุนเพื่อให้จำกัดระดับความเสี่ยงของกองทุนอยู่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้แก่กองทุน

ปัจจัยที่ทำให้กองทุนประสบความสำเร็จ คือ การคาดการณ์ที่แม่นยำต่อปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนฯมองว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้น่าจะปรับตัวลดลงจากการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า กนง. อาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 1 ครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี ซึ่งทำให้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวขึ้นจะได้รับประโยชน์จากราคาตราสารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งกองทุนยังมีการลงทุนในตั๋วแลกเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ Investment Grade เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มและเพื่อสภาพคล่องให้กับกองทุนฯ อีกด้วย

ในระยะถัดไป กองทุนฯ ยังคงจับตาดูต่อท่าทีของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐอย่างใกล้ชิด เนื่องจากอาจกระทบต่ออัตราผลตอบแทนและราคาของตราสารหนี้ไทยได้ ซึ่งหากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐแล้วนั้น อาจทำให้มีกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาในตลาดตราสารหนี้ไทยลดลงและอาจเกิดความเสี่ยงต่อการไหลออกของกระแสเงินทุนในตลาดตราสารหนี้และทำให้ตราสารหนี้น่าจะเผชิญต่อความเสี่ยงของความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk) มากขึ้น จากความต้องการซื้อพันธบัตรฯ ของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลงตามที่กล่าวข้างต้น

ขณะที่ กนง. ที่มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 1 ครั้งในช่วงไตรมาสแรกของปี หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อยังคงผ่อนคลาย ซึ่งอาจกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ทำให้มองว่าตราสารหนี้ระยะสั้นจะมีความน่าสนใจมากกว่าระยะยาว เนื่องจากจะช่วยลดความผันผวนของราคาตราสารได้ ดังนั้น กองทุนฯ จึงมีแนวโน้มการปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับกับสถานการณ์การลงทุนดังกล่าว โดยการ Short Duration ของตราสารหนี้ที่จะลงทุนเพื่อลดความผันผวนของราคาตราสารหนี้ (Market Risk) ซึ่งจะช่วยลดทอนความผันผวนของราคามูลค่าต่อหน่วย (NAV) ของกองทุนฯ ลงได้

 

Facebook Twitter LinkedIn

About Author

Kittikun Tanaratpattanakit

Kittikun Tanaratpattanakit  Senior Research Analyst